Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22347
Title: ทรรศนะเรื่องศูนยตาของนาคารชุน
Other Titles: The concept of Sunyata of Nagarjuna
Authors: สุมาลี ฉิมตระกูล
Advisors: สุนทร ณ รังสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 2 นิกายใหญ่ที่สำคัญ คือ หีนยาน (เถรวาท) และมหายาน มหายานเป็นนิกายที่เกิดขึ้นภายหลัง มหายานมีทรรศนะสำคัญที่แตกต่างจากเถรวาท คือ ทรรศนะในเรื่องการเป็นพระโพธิสัตว์และเป็นพระอรหันต์ เถรวาทมีความเชื่อว่าการบรรลุนิพพานเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่จะต้องลงมือปฏิบัติให้เข้าถึงหรือบรรลุด้วยตนเอง จะอาศัยผู้อื่นช่วยให้บรรลุไม่ได้ แต่มหายานมีความเห็นว่าวัตถุประสงค์ของการบรรลุนิพพานนั้นหาใช่ว่าจะดับทุกข์ให้แก่ตนเองเท่านั้นไม่ แต่จะต้องดำรงตนเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ของสัตว์โลกให้หมดเสียก่อน แล้วตนเองจึงจะเข้าสู่นิพพานได้นาคารชุนเป็นผู้ให้กำเนิดลัทธิศูนยวาทหรือมาธยมิกซึ่งเป็นนิกายย่อยที่สำคัญของมหายาน นาคารชุนเสนอแนะความคิดที่แปลกและใหม่ขึ้นในพุทธศาสนา คือ เรื่องศูนยตา ศูนยตามิได้หมายถึงความว่างเปล่าแบบไม่มีอะไรเลย แต่หมายถึงสิ่งต่างๆ ไม่มีสาระที่เป็นของตนเองในการมีอยู่ ต้องอาศัยสิ่งอื่นเป็นเหตุและปัจจัยในการมีอยู่ ฉะนั้น นาคารชุนจึงสรุปว่า ทุกอย่างเป็นสูญ โดยไม่ได้เสนอทฤษฎีใหม่ให้แก่ความคิดทางด้านปรัชญาในการพิสูจน์ว่าทุกทฤษฎีเป็นสูญเลย แต่นาคารชุนใช้วิภาษวิธี คือ การวิจารณ์ด้วยเหตุผลโดยใช้หลักการของทฤษฎีนั้นๆ แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งที่มีอยู่ในตัวเอง โดยการซักค้านฝ่ายตรงข้ามให้จนด้วยเหตุผล ทุกทฤษฎีจะถูกหมุนกลับให้ขัดแย้งตัวเอง นาคารชุนในตะวันออก กับคานท์และเฮเกลในตะวันตกนั้น แม้ว่าจะมีชีวิตอยู่ต่างยุคต่างสมัยกัน แต่ก็มีวิธีการในทางปรัชญาคล้ายคลึงกัน นั่นก็คือ ทั้งนาคารชุน คานท์ และเฮเกล ต่างก็อาศัยวิภาษวิธีเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงความจริงทางปรัชญา แต่วิภาษวิธีของเฮเกลกับของนาคารชุนต่างกันในแง่ที่ วิภาษวิธีของเฮเกลเป็นการเคลื่อนที่ จากความคิดที่ต่ำกว่าและมีสารัตถะน้อยกว่าไปยังความคิดที่สูงกว่าและมีสารัตถะมากกว่า จนในที่สุดก็ไปถึงความเป็นจริงสูงสุดโดยการใช้อัชณัตติกญาณที่อยู่เหนือประสบการณ์ สำหรับนาคารชุนนั้นวิภาษวิธีเป็นการใช้เหตุผลวิพากย์เพื่อพิสูจน์ความเป็นศูนยตา ซึ่งนำไปสู่การปลดเปลื้องจิตให้หลุดพ้นจากการยึดถือในทุกทฤษฎีและเข้าถึงความหลุดพ้นในที่สุด คานท์กับนาคารชุนได้แบ่งความรู้ออกเป็น 2 ระดับเหมือนกันคือ ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์และความรู้เหนือประสบการณ์ แต่การเข้าถึงความจริงต้องอาศัยอัชณัตติกญาณเพียงอย่างเดียว
Other Abstract: Buddhism is divided into two main schools, namely, Theravada (Hinayana : the Small Vehicle) and Mahayana (The Great Vehicle). The schism of the Buddhist Order (Sangha) which led to the division of these two schools occurred in the Second Buddhist Council (Sangiti) about one hundred year after Buddha’s Parinibbana, but it was not before the sixth century of the Buddhist era that the Mahayana appeared clearly in the history of Buddhism. Among the many differences between Theravada and Mahayana the most important is the ideals of Bodhisattava and Arahat. While the Mahayanists uphold the ideal of Bodhisattava, the Theravadins are content with the attainment of Arahatship. For the Mahayanists salvation is meaningful only when it is a salvation for all, but for the Theravadins salvation is a matter of self- help for individual. Nagarjuna was the founder of Sunya – vada or Madhyamika, one of the important sub –schools of Mahayana. He proposes a new concept to Buddhism, that is the concept of Sunyata (the voidness). Sunyata does not mean the nothingness of everything, but means that all elements are devoid of a real essence of their own. Everything is dependent on each other and has no nature or reality of its own (nissvabhavatva or sunya). He disproves the opponent’s thesis by using the dialectic, but does not prove any thesis of his own. The dialectic is a self-conscious spiritual movement and a series of reductio ad absurdum. It means that the rejection of each view is not based on any positive grounds or the acceptance of another view; it is based solely on the inner contradiction implicit in each view. Every thesis is turned against itself because of its self-contradictory character. Nagarjuna in the East and Kant and Hegel in the West, although they belong to different ages, have a similar method in their philosophies, i.e., they employed dialectic as an instrument in searching for philosophical truth. There is some differences, however, in Hegel’s and Nagarjuna’s dialectic. Hegel’s dialectic is a movement from the lower concept with less essence to the higher one with more essence and at last reach the ultimate reality through Transcendental Intuition. Nagarjuna’s dialectic is a critical analysis to move the nature of Sunyata which leads to freedom from attachment to all theories and at last to salvation. Kant and Nagarjuna divide knowledge into two levels, namely, knowledge through experience and knowledge beyond experience. But only through intuition or knowledge beyond experience, on can Realize the nature of ultimate reality.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22347
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumalee_Chi_front.pdf420.88 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Chi_ch1.pdf265.12 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Chi_ch2.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Chi_ch3.pdf816.77 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Chi_ch4.pdf688.6 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Chi_ch5.pdf486.65 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Chi_ch6.pdf302.7 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Chi_back.pdf323.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.