Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2235
Title: การวิเคราะห์อย่างง่ายสำหรับอาคารสูงภายใต้แรงกระทำด้านข้าง
Other Titles: A simplified analysis of lateral load for non-uniform frame tube
Authors: ทักษิณ เทพชาตรี
Email: fcettc@eng.chula.ac.th, Thaksin.T@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
Subjects: การวิเคราะห์โครงสร้าง (วิศวกรรมศาสตร์)
อาคาร
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิธีการวิเคราะห์อย่างง่าย เพื่อหาค่าการกระจายแรงกระทำด้านข้างสำหรับโครงข้อแข็งรูปกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่สามารถแปรเปลี่ยนขนาดตามความสูงรวมถึงแรงกระทำด้านข้างที่มีลักษณะสมมาตรและไม่สมมาตร โดยสมมติให้การกระจายของแรงในโครงข้อแข็งรูปกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า แทนด้วยแรงเดี่ยวกระทำเป็นจุดที่ชั้นยอดสุดรวมกับแรงกระจายในรูปโพลิโนเมียลอันดับต่างๆ ตลอดความสูง ทั้งนี้โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างแรงกระทำด้านข้างที่ผ่านตำแหน่งศูนย์กับการเคลื่อนที่ในแนวราบและแรงบิดกับมุมบิด ความสัมพันธ์ดังกล่าวข้างต้นหาได้โดยวิธีการวัตถุต่อเนื่อง วิธีกานนี้ขั้นแรกแทนโครงสร้างดิสครีต ด้วยกล่องเทียบเท่าออร์โธทรอปิค จากนั้นอาศัยการสมมติโหมดหลักของการเคลื่อนที่ที่เกิดขึ้นในโครงสร้าง ทำให้สามารถหาพลังงานความเครียดที่เกิดขึ้นในรูปของการเคลื่อนที่ของกล่องในแนวแกน ในแนวราบ รวมถึงมุมที่บิดไป จากนั้นจึงใช้กฎของพลังงานศักย์รวมน้อยที่สุดและวิธีการของริทซ์ ในการหาชุดของสมการพีชคณิตเพื่อหาค่าคงที่ที่ติดอยู่ในฟังก์ชั่นการเคลื่อนที่และมุมบิดที่สมมติขึ้น ก็จะได้ความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยอาศัยสมการสมดุลย์และสมการต่อเนื่องที่ระดับอ้างอิงใดๆ ที่กำหนดไว้ จะได้สมการในรูปเมตริกซ์ซึ่งใช้หาค่าการกระจายแรงในโครงข้อแข็งรูปกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าได้ วิธีการนี้ให้ค่าที่ถูกต้องพอสมควรเมื่อเทียบกับผลงานวิจัยของผู้อื่น
Other Abstract: This research presents a simplified analysis of lateral load for non-uniform frame tube. The analysis is also applicable to Symmetrical and non-symmetrical lateral load. The load distribution on a frame tube is first assumed to be represented by a concentrated load at the top together with a distributed load, in the form of a polynomial, through out the height of the building. This first approximation is obtained by relating the deflection and rotation at any reference level to any particular lateral load component and torsional load component respectively. The afore mentioned relationship may be obtained by employing a continuum approach. First the discrete structure is replaced by an equivalent orthotropic. By means of simplifying assumptions regarding the principle mode of deformation in the structure, the strain energy is expressed in terms of the warping displacement, lateral displacement and twisting angle. The principle of minimum potential energy and the ritz method are then appliced to yield a setof algebraic equations for determining the undetermined constants in the assumed displacement functions and twisting angle functions. By making use of the equilibrium and compatibility equations at any desired set of reference levels, the desired equations are found in matrix form and the loads on the frame tube together with the responses may be determined. The results obtained from this method agree reasonably well with solutions obtained by other researchers.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2235
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Taksin(load).pdf32.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.