Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22433
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิราพร ณ ถลาง-
dc.contributor.authorนิตยา วรรณกิตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-10-06T02:54:51Z-
dc.date.available2012-10-06T02:54:51Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22433-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เล่มนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตและการผสมผสานความเชื่อและตำนานเกี่ยวกับเจ้าหลวงคำแดงของไทยวนและไทลื้อ รวมทั้งองค์ประกอบและพลวัตของลัทธพิธีการนับถือเจ้าหลวงคำแดงของไทยวนและไทลื้อในภาคเหนือตอนบนในปัจจุบัน ข้อมูลที่ใช้ศึกษาวิเคราะห์ได้แก่ข้อมูลคติชนประเภทตำนาน ความเชื่อ และพิธีกรรมเกี่ยวกับการนับถือเจ้าหลวงคำแดงของกลุ่มไท ยวนและไทลื้อที่ปรากฏในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง และน่าน โดยมีทั้งข้อมูลเอกสารและข้อมูลภาคสนามจากพื้นที่ศึกษาในช่วง พ.ศ. 2551- 2553 ผลการศึกษาพบว่าปรากฏการณ์ความเชื่อเรื่องเจ้าหลวงคำแดงที่แพร่หลายอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของความเชื่อที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมตั้งแต่สมัยก่อนตั้งอาณาจักรล้านนาจนถึงปัจจุบัน เริ่มต้นจากความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผีหลวงแห่งดอยหลวงเชียงดาว ก่อนจะกลายสถานะมาเป็นเทพหรืออารักษเทวดาตามคติพุทธศาสนา ในกลุ่มชาวไทยวน ความเชื่อและตำนานเจ้าหลวงคำแดงน่าจะแพร่หลายและได้รับความนิยมในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อนจะแพร่หลายไปสู่ชาวไทยวนในจังหวัดอื่น ส่วนชาวไทลื้อในสิบสองปันนาเดิมมีความเชื่อเรื่องพญาคำแดง วีรบุรุษผู้กลายเป็นผีเมืองหรือเทวดาเมืองตามคติดั้งเดิม เมื่อไทลื้อบางกลุ่มอพยพเข้ามาในล้านนาได้นำผีอารักษ์ดั้งเดิมของตนมาด้วย ต่อมาชาวไทลื้อในล้านนาจึงรับตำนานเจ้าหลวงคำแดงของชาวไทยวนมาผสมผสานกับความเชื่อเรื่องพญาคำแดงของตน ทำให้โครงเรื่องหลักของตำนานเจ้าหลวงคำแดงทั้งของไทยวนและไทลื้อมีความคล้ายคลึงกัน ด้านการศึกษาพิธีกรรมการบูชาเจ้าหลวงคำแดง พบว่าการประกอบพิธีกรรมของชาวไทยวนและไทลื้อมีข้อแตกต่างกันในด้านจารีตเกี่ยวกับการเข้าร่วมพิธีกรรม ช่วงเวลาการประกอบพิธีกรรม รูปแบบการประกอบพิธีกรรม และความหมายของพิธีกรรม สะท้อนให้เห็นว่าแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ยังคงธำรงอัตลักษณ์ด้านการประกอบพิธีกรรมของตนเอง พิธีกรรมการบูชาเจ้าหลวงคำแดงในปัจจุบันมีบทบาทในการเป็นสื่อให้ผู้เข้าร่วมพิธีกรรมบรรลุถึงการรวมตัวกับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ บทบาทในการสร้างสำนึกร่วม สร้างความสามัคคี และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลุ่มสังคม รวมไปถึงบทบาทในฐานะพื้นที่เพื่อใช้ต่อรองกับอำนาจรัฐและอำนาจทุน นอกจากนี้ยังพบว่าการประกอบพิธีกรรมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่มุ่งไปสู่ความทันสมัย รวมทั้งอำนาจและบทบาทของกลุ่มผู้นำทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this dissertation are to study the dynamism and the integration of the beliefs and legends of the Chao Luang Khamdaeng, a guardian spirit of the Tai Yuan and the Tai Lue people, as well as to study the elements and dynamism of the spirit cult performed by the two ethnic groups in northern Thailand at present. Field data and documents pertaining to the beliefs, legends, and rituals concerning the Chao Luang Khamdaeng spirit from the areas of Chiang Mai, Chiang Rai, Payao, Lampang and Nan provinces were collected during the years 2008-2010. The research reveals that the changes and developments in the belief concerning Chao Luang Khamdaeng prevalent in the upper northern region of Thailand are related to the societal changes that have occurred since before the foundation of the Lanna Kingdom up to the present time. The belief in Chao Luang Khamdaeng was started as the traditional belief in the guardian spirits of Doi Luang Chiang Dao (Chiang Dao, the Great Mountains) and later on the status of Chao Luang Khamdaeng was changed to a Buddhist deva or the protective Buddhist deity. Among the Tai Yuan, the beliefs and the legends about Chao Luang Khamdaeng must have been prevalent and popular in Chiang Mai province before spreading to other provinces. As for the Tai Lue, in Sibsongpanna, they had their own traditional belief about Phaya Khamdaeng, a hero who became the town guardian spirit. So when the Tai Lue migrated to northern Thailand, they brought their own protective spirits with them. Tai Lue’s belief in Phaya Khamdaeng, the guardian spirit with the similar name as Tai Yuan’s, was then integrated with Tai Yaun’s Chao Luang Khamdaeng. Besides, Tai Lue also adopted Tai Yuan legend of Chao Luang Khamdaeng to be integrated with their legend rendering the similarities of the main storyline of the legends of Chao Luang Khamdaeng held by the two peoples. Regarding the rituals of Chao Luang Khamdaeng, the analysis reveals that there are differences in the ritual performance concerning the customs, the time, the patterns including the meaning of the ritual. This reflects the fact that each ethnic group still retains its own identity in performing the rituals. At present, the rituals have the roles of creating the sacred atmosphere bringing the participants to the revered sacred power. The rituals also build the common conscience and unity for the ethnic group. The ritual is used as a means to negotiate with the State and the people who have capital power as well. The analysis also found the dynamism of the rituals from the past. Major factors causing the dynamism include the social and cultural shift towards modernity as well as the changing role and power of the political leaders over time.en
dc.format.extent9493733 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2211-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความเชื่อ-
dc.subjectลัทธิ -- ไทย (ภาคเหนือ)-
dc.subjectจิตวิญญาณ-
dc.subjectไทยวน-
dc.subjectไทลื้อ-
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงทางสังคม -- ไทย (ภาคเหนือ)-
dc.titleพลวัตของลัทธิพิธีการนับถือเจ้าหลวงคำแดงของกลุ่มไทยวนและ ไทลื้อในภาคเหนือen
dc.title.alternativeDynamism of the Chao Luang Khamdaeng spirit cult of Tai Yuan and Tai Lue in Northern Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineภาษาไทยes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSiraporn.N@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2211-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nittaya_wa.pdf9.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.