Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22442
Title: การสำรวจการใช้บริการสำนักบรรณสารการพัฒนาของนักศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Other Titles: A survey of the use of library and information center services by the National Institute of Development Administration's students
Authors: สุภาภรณ์ สังข์ศรี
Advisors: ศจี จันทวิมล
อุทุมพร ทองอุไทย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่มีต่อบริการของสำนักบรรณสารการพัฒนา และรวบรวมปัญหา ความต้องการความพึงพอใจ รวมทั้งข้อเสนอแนะของนักศึกษา ซึ่งคาดว่าผลของการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานอำนวยบริการทุกด้านของสำนักบรรณสารการพัฒนาให้สนองความต้องการของนักศึกษาได้มากยิ่งขึ้น การวิจัยใช้ข้อมูลจากการแจกแบบสอบถามนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 คณะ จำนวน 285 คน และได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คือ 250 ชุด หรือร้อยละ 87.72 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์และเสนอในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ นักศึกษาส่วนมากมีเวลาว่างในการเข้าใช้สำนักบรรณสารการพัฒนาโดยเฉลี่ยระหว่าง 6-10 ชั่วโมง/สัปดาห์ ในเวลาว่างระหว่างชั่วโมงเรียน และเห็นว่าห้องสมุดมีความสำคัญมากต่อการศึกษา ส่วนจุดประสงค์สำคัญในการเข้าใช้ห้องสมุดคือ เพื่ออ่านวารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ (78%) ในการค้นหาสิ่งที่ต้องการจากห้องสมุดนักศึกษาเกือบทั้งหมด (94%) ใช้บัตรรายการหนังสือของห้องสมุด โดยค้นหาสิ่งที่ต้องการได้เป็นส่วนมาก (83%) ความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของสำนักบรรณสารการพัฒนาพบว่า นักศึกษาต้องการให้ทำการขยายอาคารสถานที่สำนักบรรณสารการพัฒนาให้กว้างขวางขึ้นเพื่อความสมดุลย์กับจำนวนนักศึกษาที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคร ทั้งเพิ่มโต๊ะ-เก้าอี้ทั่วไป และโต๊ะนั่งเฉพาะบุคคลให้เพียงพอกับจำนวนผู้ใช้ด้วย นักศึกษาเห็นว่าจำนวนหนังสือและวารสารที่ใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้าและวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นภาษาไทยมีไม่เพียงพอกับความต้องการ นักศึกษาสนันสนุนให้สำนักบรรณสารการพัฒนามีการแปลหนังสือตำราภาษาอังกฤษที่มีผู้ต้องการใช้มากให้เป็นภาษาไทย จัดหาหนังสือ วารสารให้ทันสมัยและทันต่อความต้องการใช้มากขึ้น ตลอดจนจัดทำวารสารเย็บเล่มให้สมบูรณ์และรวดเร็วขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังพบว่านักศึกษาได้ใช้ประโยขน์น้อยจากหนังสือ ดรรชนีวารสารไทย ดรรนีหนังสือพิมพ์ไทย วารสาร บรรณสาร สพบ. เอกสารการวิจัยและจุลสาร สิ่งพิมพ์รัฐบาลและกฤตภาค นักศึกษาได้ใช้ประโยชน์น้อยที่สุดจากไมโครฟิล์ม เทปบันทึกเสียง แผนที่ฯ ในด้านบุคลากร นักศึกษามีความเห็นว่า ทั้งจำนวน ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคลากรที่คอยช่วยการค้นคว้า มนุษยสัมพันธ์กับผู้ใช้ รวมทั้งความร่วมมือและความพอใจในการให้บริการจากบุคลากรทุกฝ่ายของสำนักบรรณสารการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง และเห็นควรให้เพิ่มจำนวนบุคลากรที่ให้บริการจ่าย-รับหนังสือและวัสดุอื่นๆ และบุคลากรที่ให้บริการเอกสารสนเทศ ในด้านระเบียบข้อบังคับของสำนักบรรณสารการพัฒนา นักศึกษาเห็นว่าควรขยายเวลาเปิดบริการแก่ผู้ใช้มากขึ้น จำนวนสิ่งพิมพ์ที่ให้ยืมและระยะเวลาที่ให้ยืมควรจะเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราค่าปรับควรจะลดลง สำหรับบริการและกิจกรรมของสำนักบรรณสารการพัฒนา พบว่านักศึกษาเคยใช้ปานกลางและพอใจปานกลางในด้านบริการจ่าย-รับหนังสือและวัสดุอื่นๆ บริการจ่าย-รับวารสารและเอกสาร บริการยืมระหว่างห้องสมุด บริการปฐมนิเทศแนะนำการใช้ห้องสมุดแก่นักศึกษาใหม่ บริการหนังสือจอง การจองหนังสือเล่มที่ต้องการต่อจากผู้อื่น รับแจกวารสารบรรณสาร สพบ. การใช้ห้องประชุม ห้องค้นคว้าและสัมมนา และพบว่านักศึกษาเคยใช้น้อย และพอใจน้อยในด้านบริการไมโครฟิล์ม บริการเอกสารสนเทศ บริการจัดหาหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่นๆ ตามความต้องการผู้ใช้ การฝากห้องสมุดซื้อหนังสือที่ต้องการ การใช้ห้องสมุดเสียง การจัดนิทรรศการ การจัดฉายสไลด์ ภาพยนตร์ฯ และการจัดอภิปรายและปาฐกถา นักศึกษาเสนอแนะให้มีการปรับปรุงและประชาสัมพันธ์เผยแพร่บริการและกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุดให้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ สำนักบรรณสารการพัฒนาควรจะนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปประกอบเป็นแนวทางในการพิจารณาปรับปรุงบริการและการดำเนินงานอื่นๆ ของสำนักบรรณสารการพัฒนาให้เหมาะสมเพื่อสนองความต้องการของนักศึกษาได้สมบูรณ์ขึ้น ข้อเสนอของผู้วิจัยต่อผู้บริหารสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คือ ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้การดำเนินงานทุกด้านของสำนักบรรณสารการพัฒนา อันจะยังประโยชน์ให้เป็นศูนย์สนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัยของสถาบันการศึกษาระดับสูงเพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในความสำเร็จด้านการบริการทางวิชาการแก่นักศึกษา ข้าราชการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และผู้ใช้ประเภทอื่นต่อไป
Other Abstract: This research aims at studying the opinions of the National Institute of Development Administration’s (NIDA) students toward the services rendered by the Library and Information Center and at collecting problems, needs, satisfaction as well as recommendations arising from the use of such services. It is expected that the results derived from the research would be used as a guideline for the improvement of the library services. The data for this study were obtained from 250 complete questionnaires or 87.72 percent of the total 285 sent to the sampled groups of students from the four schools of the Institute. The data accumulated were then analyzed and presented in the forms of percentage, arithmetic mean and standard deviation. The research findings can be summarized as follows : On the average, the majority of students surveyed had 6-10 hours/week free time between their study hours to spare for using library services. They realized that the library is very crucial for their graduate studies. Surprisingly, it is discovered from the research that their main purpose in using the library is only to read journals, magazines, and newspapers (78%). Most of the students surveyed (94%) used card catalogs to look for materials they needed in the library and they were satisfied with the service (83%). According to the students’ opinions, the library building should be expanded so that it would be adequate for a great number of students in the future. There should be more tables, chairs and carrels. Moreover, the students suggested that the library should provide more up-to-date books and journals for use as supplement for their graduate studies and research, especially those in the Thai language. The students also suggested that the library translate widely used English textbooks into Thai, as well as quickly provide more completely bounded journals. The research discovers that the students had less benefit form the use of Index to Thai Periodical Literature, Index to Thai Newspaper, NIDA Bulletin, research document and pamphlet, government publication, and clipping. They were also found to gain least benefit from the library’s audio-visual materials : microfilm, tape-recorder, map, etc. The findings about the library staff reveals that the students were moderately satisfied with the number of library staff, their skill and knowledge, their cooperation and the relationships between the students and the library staff. However, there should be more library personnel at the circulation counter and the reference desk. They also suggested that the library hours be extended. There should be more books for lending. The lending duration should be made longer and the fine should be cheaper. The research discovers that the students moderately utilized the services and were satisfied with the following services and activities : circulation service, inter-library loan service, library orientation service, reserved book service, individual reserved book, NIDA Bulletin distribution service, auditorium, research and seminar rooms service. Those that they were less satisfied with are as follows : Microfilm service, reference and information service, acquisition service, buying books through the library, sound library, library exhibition, seminar and discussion programs, etc. Finally, the students recommended that the aforementioned services and activities be publicized more efficiently so as to encourage the library clienteles to make an increasing use of them. Recommendations : The researcher recommends that the Library and Information Center use the results of this research as a guideline to improve the library services and operations in order to satisfied needs of the students. Furthermore, her recommendation to NIDA’s administrator is that they allot more budget to the library and substantially promote all library operations so that it will be a center for information, education and research of higher learning institution and in the hope that it will eventually bring academic excellence to students, NIDA staff, as well as other clienteles.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22442
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_Su_front.pdf583.3 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Su_ch1.pdf383.72 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Su_ch2.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Su_ch3.pdf451.06 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Su_ch4.pdf998.52 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Su_ch5.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Su_back.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.