Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22498
Title: งานด้านการเกษตรและการคมนาคมของเจ้าพระยาวงษานุประพันธ์ พ.ศ. 2452-2468
Other Titles: Agriculture and communication work of Chaophraya Wongsanuprapat 1909-1925
Authors: อัจฉรา ชุมดี
Advisors: วรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อุยธยา
ปิ่นนาถ บุนนาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: วงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์), นายพลเอก เจ้าพระยา
การพัฒนาการเกษตร
คมนาคม
การพัฒนาประเทศ
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ถึงผลงานด้านการเกษตรและการคมนาคมของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์) ระหว่าง พ.ศ. 2452 – 2468 นับตั้งแต่ตอนปลายรัชกาลที่ 5 จนถึง พ.ศ. 2468 ซึ่งเป็นปีที่เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ถวายบังคมลาออกจากราชการ สิ่งที่นำมาพิจารณาร่วมด้วยในการศึกษาวิเคราะห์เรื่องนี้คือ ประวัติชีวิตการรับราชการของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ ทั้งนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่าจากภูมิหลังทางด้านชาติกำเนิด การศึกษา ความสามารถส่วนตัว การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ทำให้ท่านมีโอกาสรับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน พร้อมกันนั้นก็ได้พิจารณาว่าแนวความคิด นโยบาย ผลงานด้านการเกษตร และการคมนาคมในช่วงระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่งเสนาบดีมีสิ่งที่น่าสนใจและสำคัญอะไรบ้าง ผลจากการวิจัยพบว่า แม้เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์จะดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตรในระยะสั้น แต่ก็เป็นเสนาบดีที่สำคัญและมีผลงานที่เด่นชัดคนหนึ่งในบรรดาเสนาบดีกระทรวงเกษตรในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ท่านได้เสนอแนวความคิดในการแก้ปัญหาของชาวนา ได้มีการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ เช่น การทดลองปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ การใช้เครื่องจักรผ่อนแรง และการแยกธาตุข้าวเพื่อส่งเสริมการค้าข้าวเป็นต้น ผลงานเหล่านี้แสดงถึงความสามารถส่วนตัวและความเอาใจใส่ต่องานด้านนี้อย่างดียิ่ง ส่วนผลงานด้านการคมนาคมของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ที่สำคัญได้แก่ การเสนอให้รัฐบาลสร้างทางรถไฟขนาดมาตรฐานแทนขนาดแคบซึ่งใช้มาแต่เดิม การนำไปรษณีย์อากาศมาใช้ ผลงานด้านคมนาคมของท่านไม่ค่อยปรากฎมากนัก แม้ว่ารับราชการอยู่เป็นเวลานานถึง 13 ปี ทั้งนี้เนื่องจากได้มีการวางรากฐานงานด้านคมนาคมไว้เป็นอย่างดีแล้วตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเสนาบดีคนก่อนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา กิจการกรมทางซึ่งแต่เดิมเป็นหน่วยงานอยู่ใต้บังคับบัญชาของเสนาบดีได้ย้ายไปสังกัดกรมรถไฟหลวง โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินเป็นผู้บัญชาการ อย่างไรก็ตามงานด้านการคมนาคมของท่านก็นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะว่าเป็นการวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ.
Other Abstract: This thesis is an analysis of the agriculture and communication achievement of Chaophraya Wongsanuprapat (M.R.Stant Snitwong) from 1909 towards the end of the reign of king Rama the Fifth till he resigned in 1925. His biography and work record in the government service contributed greatly to the study. They pointed out how his family background, education, ability and the King’s support enabled him to work both in military and civil service. This research also studies how interesting and important of his ideas and polices in agriculture and in communication to the development in these fields when he was the minister of the Ministry of Agriculture and Communication. This research finding is as Minister of Agriculture for a short time, he achieved great success. He was one of agricultural ministers in the monarchical period who had great achievement in work. In agriculture, he proposed ideas to solve peasants problem and brought new knowledge of science and technology to increase products, for example, the experiment of new paddy, mechanization and an analysis of Siam rice for promoting rice trade, through his personal ability and seriousness. His important work as communication was to introduce the government to build a standard–gauge railway instead of a metre-gauge railway, the beginning of the air mail service. His work as communication minister for 13 years however seemed less fruitful because of the good foundation of communication since the reign of King Rama the Fifth and the former ministers. Especially after 1917, the Department of State Highways, which had been the department came under His Royal Highness Prince Kampangbeth, head of the Department of Royal Railway. However, his achievement in this field laid the foundation of the economic and social development.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22498
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
achara_chu_front.pdf480.87 kBAdobe PDFView/Open
achara_chu_ch1.pdf768.27 kBAdobe PDFView/Open
achara_chu_ch2.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open
achara_chu_ch3.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
achara_chu_ch4.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
achara_chu_ch5.pdf433.88 kBAdobe PDFView/Open
achara_chu_back.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.