Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22520
Title: | การสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยเพื่อสื่อสารปรัชญานิเวศวิทยาแนวลึกจากกวีนิพนธ์ของรพินทรนาถ ฐากูร |
Other Titles: | Contemporary performance creation for communication of deep ecology philosophy from Rabindranath Tagore’s prose and poetry |
Authors: | รัชฎาวรรณ รองทอง |
Advisors: | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Thiranan.A@chula.ac.th |
Subjects: | ตากอร์, รพินทรนาถ, เซอร์, ค.ศ. 1861-1941 นิเวศวิทยาแนวลึก กวีนิพนธ์ นิเวศวิทยาในวรรณกรรม การสื่อสารกับศิลปะ Tagore, Rabindranath, 1861-1941 Deep ecology Poetry Ecology in literature Communication and the arts |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อดัดแปลงสื่อจากกวีนิพนธ์ของ รพินทรนาถ ฐากูร สู่การแสดงร่วมสมัยเพื่อสื่อสารปรัชญานิเวศวิทยาแนวลึก เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการแสดงร่วมสมัยจากการดัดแปลงกวีนิพนธ์ของ รพินทรนาถ ฐากูร ของทั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ชมทั่วไป และเพื่อศึกษาการรับรู้และทัศนคติของผู้ชมต่อปรัชญานิเวศวิทยาแนวลึก โดยการเสวนาหลังการแสดงและสำรวจทัศนคติจากแบบสอบถาม จากการแสดงทั้ง 3 รอบมีผู้ร่วมเสวนาจำนวน 27 คนและผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 76 คน การสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยเรื่อง “โอ้โลกที่รัก” เริ่มกระบวนการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 กวีนิพนธ์ที่นำมาใช้ประกอบด้วย (1) เรื่อง “โอ้โลกที่รัก” (“Earth”) ประพันธ์ในปี พ.ศ. 2479 (แปลโดย กิติมา อมรทัต ในผู้สัญจรนิรันดร, 2526) (2) จากหนังสือคีตาญชลี (ถอดความโดย กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย, 2540) (3) จากหนังสือนกเถื่อน จำนวน 7 บท (แปลโดย ปรีชา ช่อปทุมมา, 2547) นำมาร้อยเรียงและปรับเปลี่ยนถ้อยคำเพื่อความเหมาะสม โดยนำเสนอแก่นสารคือการกระทำต่างๆ ของมนุษย์นั้นเป็นส่วนสำคัญในการทำลายสมบูรณภาพของโลก จนท้ายที่สุดมนุษย์เองก็จะเป็นผู้ที่รับผลกระทบนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รูปแบบของการแสดงใช้จินตนาลีลาประกอบการอ่านบทกวี โดยมีนักแสดงทั้งเพศหญิงและชายเพื่อเป็นตัวแทนของมนุษยชาติ ไม่ระบุสถานที่และยุคสมัยเพื่อสื่อว่าสามารถเกิดได้ทุกที่บนโลก การออกแบบลีลามุ่งสื่อสารความหมายและสะท้อนอารมณ์ของกวีนิพนธ์ในแต่ละช่วง ดนตรีประกอบเลือกใช้ขลุ่ย (รีคอร์ดเดอร์) บรรเลงแบบกึ่งด้นสด การออกแบบแสงคำนึงถึงการสื่อสารอารมณ์ในแต่ละเหตุการณ์ เครื่องแต่งกายคำนึงถึงความเรียบง่ายและสื่อความหมายเป็นชาติใดๆ ก็ได้ นอกจากนี้ยังมี สื่อผสมเน้นย้ำความหมายของบทกวี ผลจากการวิจัยพบว่า ผู้ชมมีทัศนคติต่อองค์ประกอบในการแสดงอยู่ในเกณฑ์ดี องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงที่สุด 3 อันดับคือ (1) ดนตรีประกอบ (2) นักแสดง และ (3) การออกแบบแสง (4) ประเด็นเนื้อหา (x-bar = 4.39, 4.25/ S.D. = 0.68, 4.25/ S.D. = 0.71 และ 4.24 ตามลำดับ) และจากการเสวนาทำให้พบว่า การแสดงในครั้งนี้ ทำให้การอ่านบทกวีมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เห็นว่า ภาพรวมของการแสดงช่วยให้สามารถเข้าใจประเด็นเนื้อหาของบทกวีได้ง่ายขึ้น แก่นสารจากการแสดงทำให้ผู้ชมเห็นความความเชื่อมโยงเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดจากมนุษย์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โลกธรรมชาติเสียสมดุลยภาพ ผลจากการวิจัยยังพบว่า การรับรู้ต่อปรัชญานิเวศวิทยาแนวลึกอยู่ในเกณฑ์มาก ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ (1) ชีวิตหนึ่งๆ คือธุลีอันน้อยนิดของโลก (2) ชีวิตมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นพลวัตของโลก และ (3) เมื่อมนุษย์ทำร้ายโลก โลกย่อมทำร้ายมนุษย์ฉันใดก็ฉันนั้น (x-bar = 4.29, 4.28 และ 4.25 ตามลำดับ) ส่วนอีก 3 อันดับที่มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกันคือ เมื่อโลกถูกรบกวนให้เสียสมดุล พิบัติภัยทางธรรมชาติคือการปรับสมดุลของโลก บูรณาภาพนิยมของโลกคือการอยู่ร่วมกันของสรรพสิ่งทั้งบวกและลบ และความละโมบของมนุษย์นำไปสู่การกอบโกยผลประโยชน์จากสรรพสิ่ง (x-bar = 4.22, 4.21 และ 4.20 ตามลำดับ) |
Other Abstract: | This creative research is to adapt the Rabindranath Tagore's prose and poetry to contemporary performance creation for communication of deep ecology philosophy to find out the attitudes among the experts and audiences and to study the audiences' perception and attitudes toward deep ecology philosophy. The data is collected from the post-performance discussion and questionnaire. There are 27 participants in the discussion session and 76 respondents for the questionnaire. The creation of contemporary performance 'Oh Loge Tee Rak' (Earth) started from October 2011 to May 2012. It consists of several pieces of poetry such as 'Earth' composed in 1936 (translated by Kittima Amorntad and published in Later Poems of Tagore, 1983), 'Gitanjali' book (interpreted by Karuna-Ruang-urai Kusalasai, 1997), and the seven-chapter 'Stray birds' book (translated by Preecha Chorpatumma, 2004), that are incorporated, adapted and presented in perfect harmony. The essence of this performance is to confirm the facts that human actions destroy the earth's absolution in significant degree and that all of the human will unavoidably face its effects in the end. The performance features movement and dance while the poetry is read. The performers include men and women that represent mankind. There is no time nor place mentioned in the show which means it could happen anywhere and anytime on earth. The choreography is aimed at portraying specific meanings and messages that reflect the particular part of that poetry. The recorder is played in semi-improvisation. The lighting also helps reflect the mood and tone of that particular moment in the poetry. The costume is rather simple and minimal so it does not mean any country in particular but all. Besides, a multimedia is also used in order to emphasize the meaning of the poetry. It is indicated that the audiences have good attitudes towards the components of the performance with the first three highest satisfaction being (1) the background music (2) the performers (3) the lighting (4) the theme (x-bar = 4.39, 4.25/ S.D. = 0.68, 4.25/ S.D. = 0.71 and 4.24 in respective order). According to the post-performance discussion, it is found that the poetry reading becomes more interesting. The audiences, especially the new generation views that the performances help them comprehend the essence of the poetry more easily. Besides, the essence of the poetry leads to more understanding of the current situations such as the disasters that are caused by human. According to the research, it is also found that the perception towards deep ecology philosophy is considered high. The first three ideas that have highest averaged score are (1) life on earth is as small as dust (2) all the lives are related in the earth's dynamic and (3) when human harms the earth, the earth also does the same thing to human, with the averaged score of 4.29, 4.28 and 4.25 successively. The other three interesting ideas include the natural disaster is a tool to neutralize the earth, the earth's integrity is the co-existence of the positives and the negatives and the greed in human leads to exploitation of everything with the averaged score of 4.22, 4.21 and 4.20 respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22520 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.888 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.888 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ratchadawan_ro.pdf | 3.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.