Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22620
Title: กบฏ ร.ศ. 130 : ศึกษากรณีการปฏิรูปทางการปกครอง และกลุ่ม "ทหารใหม่"
Other Titles: The 1911 incident in Siam : a study of administrative reformation and the new army
Authors: อัจฉราพร กมุทพิสมัย
Advisors: วิไล ณ ป้อมเพชร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มุ่งศึกษาถึงที่มาและพัฒนาการของกลุ่มทหารอาชีพในฐานะที่เป็นตัวกำหนดบทบาทสำคัญต่อวิถีทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยประเด็นที่ใช้ในการศึกษา คือ กรณีกบฏ ร.ศ.130 ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มทหารอาชีพเพื่อการทำการต่อต้านระบบและผู้ปกครองที่กลุ่มทหารไทยถือว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาพบว่า ในบรรดาองค์กรใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยหลังการปฏิรูปประเทศของรัชกาลที่ 5 ทหารอาชีพจะเป็นองค์กรที่ได้รับการพัฒนามากที่สุดทั้งในรูปแบบและความคิด ทั้งยังได้รับการอบรมและปลูกฝังให้ตระหนักถึงภาระสำคัญในการเป็นกลุ่มผู้ปกป้องรักษาและสร้างความเจริญให้กับประเทศชาติ ทหารแบบใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศในยุคของการรวมชาติ ทหารกับชาติเป็นของคู่กันเพราะฉะนั้นผลประโยชน์ของประเทศชาติกับผลประโยชน์ของกองทัพจึงเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทหารสรุปว่า การพัฒนาประเทศมุ่งที่การพัฒนากองทัพเป็นลำดับแรก ดังนั้นหากผู้ปกครองในยุคใดมีนโยบายที่ขัดกับหลักการดังกล่าวทหารจะทำการต่อต้านทันที กบฏ ร.ศ.130 สะท้อนให้เห็นสภาพความขัดแย้งทางความคิด นโยบายและวิถีปฏิบัติ ระหว่างผู้นำที่ยังยึดในค่านิยมและทัศนคติแบบเก่า กับกลุ่มทหารใหม่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันข้าราชการในยุคหลังการปฏิรูปประเทศของรัชกาลที่ 5
Other Abstract: This thesis concentrates its studies on the origin and the development of a group of the professional soldiers who played the important role in politics and the change in Thai society. The case used in this study is the 1911 incident which was the reunion of the professional soldiers to resist the system and the ruler that they considered the obstruction of national development. The studies reveal that among the organizations newly born after the reformation in the reign of King Chulalongkorn, the professional army seems to be the most developed both in the form and ideas. Moreover, they were brought up to realize the important burden in protecting and making progress for the country. Therefore, the new army is essential for the country in the time of national reunion. Also, since the nation and the army were, indeed, inseparable, the benefit of the nation and the army were also inseparable. In addition, the army concluded that to develop the country, the army must be first developed. As a result, they would resist any ruler who had the opposite policy. The 1911 incident reflects the conflicts in concepts, policies, and practical methods between the leaders who maintained the conservative attitude and the new army who were a part of the government official institute in the period after the reformation of King Chulalongkorn.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22620
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
acharaporn_ka_front.pdf551.89 kBAdobe PDFView/Open
acharaporn_ka_ch1.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
acharaporn_ka_ch2.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
acharaporn_ka_ch3.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
acharaporn_ka_ch4.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open
acharaporn_ka_ch5.pdf853.09 kBAdobe PDFView/Open
acharaporn_ka_back.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.