Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22626
Title: การสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมสไลด์เทป เรื่อง เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน พลายแก้ววแต่งงานกับนางพิม ในวิชาวรรณคดีไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: A construction of slide-tape program on "Khun Chang-Khun Pan : The Marriage of Plai Kaew and Nang Pim" in Thai literature for mathayom suksa 3
Authors: อัจจิมา เทวกุล
Advisors: สุนันท์ ปัทมาคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมสไลด์เทป เรื่อง เสภาขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วแต่งงานกับนางพิมพ ในวิชาวรรณคดีไทยสำหรับระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมสไลด์เทป เป็นลำดับชั้นดังนี้ คือ 1. ศึกษา และวิเคราะห์เนื้อหาบทเรียน เรื่อง เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน พลายแก้วแต่งงานกับนางพิม 2. เลือกชนิด และ เทคนิคของบทเรียนแบบโปรแกรม เพื่อนำมาสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมสไลด์เทป 3. ผลิตบทเรียนแบบโปรแกรมสไลด์เทป 4. สร้างแบบทดสอบ และแบบฝึกหัดในบทเรียน ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 5. นำบทเรียนที่สร้างขึ้นไปทดลองหาประสิทธิภาพ ตามลำดับขั้น คือ แบบหนึ่งต่อหนึ่ง แบบกลุ่มเด็ก และแบบภาคสนาม กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) 6. นำผลการทดลองมาแก้ไข และวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ผลการวิจัยปรากฏว่า บทเรียนแบบโปรแกรมสไลด์เทปที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน คือ 92.68/90.31 เมื่อวิเคราะห์ผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียน และหลังเรียน บทเรียนแบบโปรแกรมสไลด์เทป เรื่องนี้แล้วปรากฏว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 จึงกล่าวได้ว่า บทเรียนแบบโปรแกรมสไลด์เทป เรื่อง เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน พลายแก้วแต่งงานกับนางพิม ในวิชาวรรณคดีไทยนี้ ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะ บทเรียนแบบโปรแกรมสไลด์เทป เป็นบทเรียนที่มีประสิทธิภาพสูง จึงสมควรสนับสนุนให้ผลิตขึ้นใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ในระดับมัธยมศึกษาต่อไป
Other Abstract: The purposes of this research were to construct a Slide–Tape Program on “KHUN CHANG – KHUN PAN: The marriage of Plai Kaew And Nang Pim” In Thai Literature For Mathayom Suksa 3, and to find out its effectiveness according to the 90/90 standard, Research procedures and activities were carried out in steps as follow : 1. Studying and analyzing the content of “KHUN CHANG – KHUN PAN : The Marriage of Plai Kaew And Nang Pim”. 2. Selecting the types and techniques of programmed learning for constructing the Slide–Tape Program. 3. Producing the Slide–Tape Program. 4. Constructing the post-test. 5. The Slide-Tape Program was experimented with the students in Mathayom Suksa three of Satit Chulalongkorn University School in three step : (1) one-to-one testing (2) small group testing (3) field testing . 6. Trying out and analysing the Slide-Tape Program to find out its effectiveness according to the 90/90 standard. The result of the study showed that the effectiveness of the Slide-Tape Program was the level of 92.68/90.31. The analysing of the arithmetic means of both pre-test and post-test have indicated a statistically significant difference at the level of .01. It could be concluded that the students have positively gained their knowledge. Suggestions : The Slide-Tape Program was an effective material for The Language instruction, therefore it should be recommended in the improvement of Thai Language Teaching at the Upper Secondary School Level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22626
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ajima_de_front.pdf395.27 kBAdobe PDFView/Open
ajima_de_ch1.pdf966.08 kBAdobe PDFView/Open
ajima_de_ch2.pdf772.6 kBAdobe PDFView/Open
ajima_de_ch3.pdf466.77 kBAdobe PDFView/Open
ajima_de_ch4.pdf338.23 kBAdobe PDFView/Open
ajima_de_ch5.pdf322.17 kBAdobe PDFView/Open
ajima_de_back.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.