Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22643
Title: การอนุมานของพยาบาลเกี่ยวกับความเจ็บปวดของผู้ป่วย
Other Titles: Nurses' inferences of the patient's pain
Authors: อัจฉรา หล่อวิจิตร
Advisors: ประนอม โอทกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการอนุมานของพยาบาลเกี่ยวกับความเจ็บปวดของผู้ป่วย โดยเปรียบเทียบการอนุมานของพยาบาลในโรงพยาบาลสังกัดส่วนกลาง กับโรงพยาบาลสังกัดส่วนภูมิภาค การอนุมานของพยาบาลที่มีประสบการณ์แตกต่างกัน การอนุมานของพยาบาลที่ให้แก่ผู้ป่วยที่มี เพศ วัย การศึกษา และฐานะทางเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างกัน ตัวอย่างประชากรเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอายุรกรรม ศัลยกรรม สูติ-นรีเวชกรรม กุมารเวชกรรม ของโรงพยาบาลรัฐบาลที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลศูนย์ส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงสาธารณสุข การเลือกตัวอย่างประชากรใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและแบบมีเกณฑ์ได้จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามประเมินค่าจากสถานการณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง และได้นำไปหาความตรงตามเนื้อหาและทดลองใช้ก่อนนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พยาบาลในโรงพยาบาลสังกัดส่วนกลางและพยาบาลในสังกัดส่วนภูมิภาค อนุมานความเจ็บปวดของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่เพศหญิง ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่เพศชาย ผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาต่ำ ผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาสูง ผู้ป่วยที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ ผู้ป่วยที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีเพียงการอนุมานความเจ็บปวดที่ให้แก่ผู้ป่วยวัยเด็กเพศหญิง และการอนุมานที่ให้แก่ผู้ป่วยวัยเด็กเพศชาย ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พยาบาลที่มีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 3 ปี และ 3 ปีขึ้นไป อนุมานความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่มีเพศ ระดับอายุ การศึกษาและฐานะทางเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไม่สนองสมมติฐานของการวิจัยว่าพยาบาลที่มีประสบการณ์ทำงานพยาบาลมานาน และพยาบาลที่มีประสบการณ์การทำงานพยาบาลน้อย อนุมานระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยแตกต่างกัน 3. พยายามอนุมานความเจ็บปวดของผู้ป่วยวัยเด็กเพศหญิง และผู้ป่วยวัยเด็กเพศชาย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่อนุมานความเจ็บปวดของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่เพศหญิงสูงกว่าผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่เพศชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. พยาบาลอนุมานความเจ็บปวดผู้ป่วยวันเด็กเพศหญิง และผู้ป่วยวัยเด็กเพศชายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่อนุมานความเจ็บปวดของผู้ใหญ่เพศหญิงสูงกว่าผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่เพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงสนองสมมติฐานของการวิจัยว่า พยาบาลอนุมานระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยวัยเด็กและผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่แตกต่างกัน 5. พยาบาลอนุมานความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาสูง สูงกว่าความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 จึงสนองสมมติฐานของการวิจัยที่ว่าพยาบาลอนุมานระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่มีการศึกษาสูงและผู้ป่วยที่มีการศึกษาต่ำแตกต่างกัน 6. พยาบาลอนุมานความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่มีระดับฐานะทางเศรษฐกิจสังคมสูงกว่าผู้ป่วยที่มีระดับฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 จึงสอนสมมติฐานของการวิจัยที่ว่า พยาบาลอนุมานระดับ 2 ความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมอยู่ในระดับสูงและผู้ป่วยที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำแตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this research was to study the professional nurses’ inferences concerning patient’s pain; the study was to compare nurse’ inferences concerning patient’s pain according to nurses experiences, gender of the patient, age of the patient, education of the patient, and socioeconomic status of the patient. The samples of this study were 160 professional nurses from Medical, Surgical, Obstetrical-gynaecological, and Pediatrical Departments in Bangkok Metropolis Hospitals and Rural Centre Hospitals selected by Simple Random Sampling and Criterion Sampling Methods. The instrument of this study was a brief vignette along with rating scale questionnaire. The instrument was constructed by researcher and was tested for content validity and has been tryout with 16 professional nurses from Srinakarintra and Khon Kaen Hospital. The findings were as the following: 1. There was no statistically significant difference at the .05 level on the inferences patient's pain between professional nurses in Bangkok Metropolis and in Province for all aspects of the patients except in female child and male child patients that the nurses in Bangkok Metropolis infered patient‘s pain greater than nurse in Province. 2. There was no statistically significant difference at the .05 level on the inferences patient’s pain between professional nurses with under 3 years and over 3 years of nursing experience for all aspects of patients. Therefore the hypothesis “There is differences on the inferences of patient’s pain between professional nurse with greater and lower of years of nursing experience.” was not retained. 3. There was no statistically significant difference at the .05 level on the nurse’ inferences for the pain of female child patient and male child patient, but there was statistical significant difference at the .01 level on the nurses’ inferences for the pain of female adult patient and male adult patient. 4. There were statistically significant difference at the .01 level on the nurse’ inferences for the pain of female child and female adult patient. And also there was statistically significant difference for the .01 level for pain of male child and male adult patients. The hypothesis which sate "There is difference on the nurses' inferences for the pain of child patient and adult patient.” was retained. 5. There was statistically significant difference at the .01 level on the nurses’ inferences for the pain of high educational patient and the pain of low educational patient. The hypothesis which state “There is difference on the nurses’ inferences for the pain of high educational patient and the pain of low educational patient.” was retained. 6. There was statistically significant difference at the .01 level on the nurse’ inferences for the pain of high socioeconomic patient and the pain of low socioeconomic patient. The hypothesis which state “There is difference on the nurses’ inferences for the pain of high socioeconomic patient and the pain of low socioeconomic patient.” was retained.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22643
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
archara_lo_front.pdf418.85 kBAdobe PDFView/Open
archara_lo_ch1.pdf594.54 kBAdobe PDFView/Open
archara_lo_ch2.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
archara_lo_ch3.pdf349.04 kBAdobe PDFView/Open
archara_lo_ch4.pdf399.97 kBAdobe PDFView/Open
archara_lo_ch5.pdf588.59 kBAdobe PDFView/Open
archara_lo_back.pdf885.28 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.