Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22836
Title: | คัมภีร์พุทธบาทมงคล : การตรวจชำระและการศึกษาเชิงวิเคราะห์ |
Other Titles: | Buddhapadamangal : an edition and a critical study |
Authors: | อัญชลี ปิ่นรอด |
Advisors: | ฐานิสร์ ชาครัตพงศ์ ประพจน์ อัศววิรุฬหการ |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาวิจัยคัมภีร์พุทธบาทมงคลโดยการรวบรวมต้นฉบับตัวเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรขอมและมอญรวม 8 ฉบับ ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร นำมาปริวรรตเป็นตัวอักษรไทย ตรวจชำระ แปลคัมภีร์ พุทธบาทมงคลที่ตรวจสอบชำระแล้วเป็นภาษาไทย รวมทั้งวิเคราะห์ความคิดเรื่องพระพุทธบาทในคัมภีร์พุทธบาทมงคล ผลการศึกษาวิจัยพบว่าคัมภีร์พุทธบาทมงคลเป็นคัมภีร์ที่รจนาขึ้นในประเทศไทย ในสมัยที่ความรู้ภาษาบาลีลานนาเสื่อมลงแล้ว เนื้อหาในคัมภีร์นี้เป็นการตีความหมายของมงคล 108 ที่ปรากฏในพระพุทธบาทซึ่งผู้รจนาได้ตีความเทียบกับพระคุณลักษณะของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเป็นการอธิบายวัตถุธรรมให้เห็นเป็นนามธรรม ลวดลายเหล่านี้มีประมาณ 108 เท่านั้น มิได้มีจำนวนครบ 108 ถ้วนตามชื่อที่เรียก ลวดลายเหล่านี้เป็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในจักรวาล จึงเป็นเหมือนการจำลองจักรวาลมาไว้ที่พระพุทธบาทแสดงถึงพุทธานุภาพเหนือสิ่งทั้งปวงในจักรวาล เนื้อหาในวิทยานิพนธ์นี้มี 6 บท บาทที่ 1 เป็นบทนำ ว่าด้วยความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ต้นฉบับคัมภีร์พุทธบาทมงคล และความเป็นมาของคัมภีร์พุทธบาทมงคล บทที่ 2 เป็นคัมภีร์พุทธบาทมงคลภาษาบาลีและข้อความที่ต่างกัน บทที่ 3 เป็นคำแปลคัมภีร์พุทธบาทมงคล บทที่ 4 เป็นบทที่ว่าด้วยประวัติและลักษณะของรอยพระพุทธบาท บทที่ 5 เป็นบทวิเคราะห์ลวดลายมงคล 108 ในคัมภีร์พุทธบาทมงคล ว่าด้วยวิวัฒนาการของลวดลายที่ปรากฏในรอยพระพุทธบาท เปรียบเทียงมงคล 108 ที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธบาทมงคลกับมงคล 108 ที่ปรากฏในคัมภีร์อื่น ๆ และที่พระพุทธบาทของพระพุทธไสยาสน์ วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร รวมทั้งวิเคราะห์ลักษณะการตีความหมายมงคล 108 ในคัมภีร์พุทธบาทมงคลด้วย บทที่ 6 เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะ |
Other Abstract: | It is the aim of this thesis to edit, translate and research on Buddhapadamangala : a work composed in Pali on the auspicious signs traditionally found in the Buddha’s footprint, of which the manuscripts are preserved in Khmer & Mon characters in the National Library, Bangkok. It is found in the course of research that the work was composed in Lanna Tai when the study of Pali was on the decline. The work attempts to give and analysis and interpretation the signs which may be broadly related to the Triple Gems. The auspicious signs, more or less 108 in number, represent anything in the universe. The arrangement and selection of sign suggest the shape of the whole universe and the hence the omnipotence of the Buddha. The thesis is devided into six chapters. The first is a general introduction, stating the primary objectives of the work and the research method adopted, the manuscripts used and the history of the text. The edited text with variant readings and the translation are in the second and the third chapter respectively. In the fourth chapter the description of the Buddhapada with its history is discussed. The fifth chapter is devoted to the interpretation and analysis of the auspicious signs as propounded by the text and as actually found. The last chapter is the conclusion and suggestion. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาตะวันออก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22836 |
ISBN: | 9745614823 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
unchalee_pi_front.pdf | 453.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
unchalee_pi_ch1.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
unchalee_pi_ch2.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
unchalee_pi_ch3.pdf | 2.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
unchalee_pi_ch4.pdf | 695.31 kB | Adobe PDF | View/Open | |
unchalee_pi_ch5.pdf | 1.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
unchalee_pi_ch6.pdf | 268.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
unchalee_pi_back.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.