Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22838
Title: ความสามารถในการใช้เครื่องผูกพันรูปเรื่อง ในการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ห้า
Other Titles: Mathayom suksa five students' ability in cohesive usages in English composition / Unchalee Sermsongswad
Authors: อัญชลี เสริมส่งสวัสดิ์
Advisors: วาสนา โกวิทยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการใช้เครื่องผูกพันรูปเรื่องในการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ห้า และศึกษาลักษณะของข้อผิดในการใช้เครื่องผูกพันรูปเรื่องเหล่านั้น ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบทดสอบการเขียนขึ้นกำหนดให้นักเรียนเขียนเรียงความแบบอิสระ 3 เรื่อง มีความยาวเรื่องละประมาณ 120 – 150 คำ ภายในเวลา 90 นาที โดยใช้การเขียน 3 ลักษณะ คือ การเขียนเพื่อแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนเอง การเขียนเชิงชักชวน และการเขียนเชิงอธิบาย แบบทดสอบฉบับนี้ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และได้ผ่านการทดลองใช้เพื่อหาความเหมาะสมทางด้านเวลา ความยาว และภาษาที่ใช้ กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ห้า ในโรงเรียนรัฐบาลส่วนกลาง เขตกรุงเทพมหานคร 10 โรงเรียน จำนวน 400 คน นำผลที่ได้มาจัดประเภทของเครื่องผูกพันรูปเรื่องเป็น 5 ประเภท ตามแนวการแบ่งของฮัลลิเดย์และฮาซาน ซึ่งได้แก่ หน่วยอ้างอิง คำแทน การละคำไว้ในฐานที่เข้าใจ คำสันธาน และเครื่องผูกพันทางศัพท์ แล้ววิเคราะห์หาค่าร้อยละ จากนั้นศึกษาวิเคราะห์ข้อผิดในการใช้เครื่องผูกพันรูปเรื่องโดยดูทั้งลักษณะไวยากรณ์และความหมาย แล้วจัดกลุ่มลักษณะรูปแบบของการใช้เครื่องผูกพันรูปเรื่องผิด ผลของการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เครื่องผูกพันรูปเรื่องที่นักเรียนใช้มากที่สุด คือ เครื่องผูกพันทางศัพท์ คิดเป็นร้อยละ 49.52 รองลงมาได้แก่หน่วยอ้างอิงคิดเป็นร้อยละ 37.37 และคำสันธาน คิดเป็นร้อยละ 11.10 ส่วนการละคำไว้ในฐานที่เข้าใจและคำแทนมีพบใช้เป็นส่วนน้อย คิดเป็นร้อยละ 1.07 และร้อยละ 0.94 ตามลำดับ 2. ข้อผิดในการใช้เครื่องผูกพันรูปเรื่องพบมากที่สุดในหน่วยอ้างอิง คิดเป็นร้อยละ 84.32 รองลงมาได้แก่ คำสันธาน คิดเป็นร้อยละ 12.78 คำแทนคิดเป็นร้อยละ 1.67 และการละคำไว้ในฐานที่เข้าใจ คิดเป็นร้อยละ 1.23 ส่วนเครื่องผูกพันทางศัพท์นั้นไม่พบข้อผิด 3. ลักษณะของการใช้เครื่องผูกพันรูปเรื่องผิดที่พบมากที่สุด คือ การใช้เครื่องผูกพันรูปเรื่อง ไม่สอดคล้องกับพจน์ของตัวถูกอ้างอิง คิดเป็นร้อยละ 41.58 รองลงมาได้แก่ การใช้เครื่องผูกพันรูปเรื่องผิดประเภท คิดเป็นร้อยละ 28.90 การใช้เครื่องผูกพันรูปเรื่องโดยไม่มีตัวถูกอ้างอิง คิดเป็นร้อยละ 15.33 การใช้เครื่องผูกพันรูปเรื่องในที่ที่ไม่จำเป็น คิดเป็นร้อยละ 6.64 และการไม่ใช้เครื่องผูกพันรูปเรื่องในที่ที่ต้องการคิดเป็นร้อยละ 5.02
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the cohesive usages in the English composition of Mathayom Suksa Five students, and to specify the types of errors they have in the use of these devices. One writing test was constructed in a attempt to measure the ability to writer three free compositions in three writing froms : writing for self-expression, for persuasion, and for explanation. Each composition was about 120 -150 words in length, and all of them were written within ninety minutes. The test was investigated on its content validity by five experts, and it was also tried out for its appropriateness in the time, length and language used. The subjects of this study were 400 Mathayom Suksa Five students who were studying in government secondary schools in Bangkok Metropolis. The cohesive devices in the three compositions were identified into five major categories, each with several subcategories, as presented by Halliday and Hasan, and then the data was analyzed by percentage. Finally, the grammatical and semantic errors in cohesive usage were identified and grouped according to error types. The results of the study were 1. The cohesive deveice the students relied most heavily on was lexical cohesion (49.52%). The less used cohesive device was reference (37.37%), and the lesser one was conjuction (11.10%). Ellipsis and substitution served only a minor role in cohesion. The percentages of these two devices used in the students’ writing were 1.07 and 0.95 respectively. 2. Errors were most common in reference (84.32%) and in conjunction (12.78%). There were also errors in substitution (1.67%) and ellipsis (1.23%). However, the errors in lexical cohesion were not found in this study. 3. The most frequent type of error was the problem in number agreement between the cohesive devices and the presupposed items (41.58%). Other error types included the substitution of an inappropriate item for a required cohesive device (28.90%), the use of a cohesive device with no identifiable referent in the text (15.33%), the unnecessary use of the cohesive devices (6.61%), and the lack of cohesive devices where needed (5.02%).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22838
ISBN: 9745637033
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
unchalee_se_front.pdf382.72 kBAdobe PDFView/Open
unchalee_se_ch1.pdf424.14 kBAdobe PDFView/Open
unchalee_se_ch2.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
unchalee_se_ch3.pdf390.77 kBAdobe PDFView/Open
unchalee_se_ch4.pdf585.74 kBAdobe PDFView/Open
unchalee_se_ch5.pdf448.89 kBAdobe PDFView/Open
unchalee_se_back.pdf642.34 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.