Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22849
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการตั้งคำถามตามแนวคิดแบบสืบสอบ กับพฤติกรรมด้านจิตพิสัยทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | The relationship between inquiry questioning ability and science affective domain behaviors of mathayom suksa three students in Bangkok Metropolis |
Authors: | อำไพ ชูเฉลิมพร |
Advisors: | ธีระชัย ปูรณโชติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการตั้งคำถามตามแนวคิดแบบสืบสอบกับพฤติกรรมด้านจิตพิสัยทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2528 จากโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 369 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบความสามารถในการตั้งคำถามตามแนวคิดแบบสืบสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัยทางวิทยาศาสตร์ของ อรพรรณ เม่นแย้ม จากนั้นผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน หาจำนวน และค่าร้อยละของคำถามแต่ละประเภท ข้อค้นพบ 1. ความสามารถในการตั้งคำถามตามแนวคิดแบบสืบสอบและพฤติกรรมด้านจิตพิสัยทางวิทยาศาสตร์ มีความสัมพันธ์กันสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ( r ) เท่ากับ .79 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ประเภทของคำถามที่นักเรียนถามมากที่สุด คือ คำถามประเภท E (คำถามเพื่อการอธิบาย) ส่วนประเภทของคำถามที่นักเรียนถามน้อยที่สุด คือ คำถามประเภท D (คำถามเพื่อการออกแบบการทดลองและควบคุมตัวแปร) 3. นักเรียนใช้คำถามตามแนวคิดแบบสืบสอบขั้นต่ำ มากกว่าใช้คำถามตามแนวคิดแบบสืบสอบขั้นสูง |
Other Abstract: | The purpose of this study was to investigate the relationship between inquiry questioning ability and science affective domain behaviors of mathayom suksa three students. The samples of this study were 369 mathayom suksa three students in 1985 academic year of secondary schools in Bangkok Metropolis. The instruments used in this study consisted of Inquiry Questioning Ability Test which was constructed by the researcher and Science Affective Domain Behaviors Test constructed by Orapan Menya.. The data were analyzed by means of Prarson’s Product Moment Correlation Coefficient, and percentage. Findings 1. There was high correlation of .79 between inquiry questioning ability and science affective domain behaviors at the significant level of .05 2. Type of question that students used the most was type E questions (questions for explanation) and type of question that students used the least was type D questions (questions for experimental design and controlling variable) 3. Students used the low level inquiry questions more than the high level inquiry questions. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Level: | ปริญญาโท |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22849 |
ISBN: | 9745662526 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ampai_Ch_front.pdf | 395.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ampai_Ch_ch1.pdf | 466.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ampai_Ch_ch2.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ampai_Ch_ch3.pdf | 501.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ampai_Ch_ch4.pdf | 256.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ampai_Ch_ch5.pdf | 387.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ampai_Ch_back.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.