Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22877
Title: การศึกษาเพื่อวางแผนพัฒนาเมืองชายแดนภาคใต้ : ศึกษากรณี เทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก
Other Titles: A study for developement plan of southern border town : a case study of Sungai-Kolok municipality
Authors: อาแว ผูหาดา
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: รายงานการวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะนโยบายการพัฒนาชุมชนเมืองเทศบาลตำบลสุไหโก-ลก ซึ่งเป็นชุมชนแห่งหนึ่งในภูมิภาคสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในเบื้องต้นได้ทำการศึกษาถึงสภาพพื้นฐานทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมของภูมิภาคสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในแง่สังคม และเศรษฐกิจระหว่างชายแดนไทยและมาเลเซีย ตลอดจนศึกษาเปรียบเทียบทางด้านเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคพื้นฐานของสองพื้นที่ดังกล่าวด้วย ผลจากการศึกษาพบว่า ภูมิภาคนี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวอยู่ 2 ประการ คือ 1. ลักษณะเฉพาะตัวเชิงภูมิศาสตร์ เทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก มีตำแหน่งที่ตั้งในภูมิภาคที่มีพรหมแดนติดต่อกับประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย 2. ลักษณะพิเศษทางสังคมวัฒนธรรม กล่าวคือ ภูมิภาคนี้เป็นที่อาศัยอยู่ของประชากรที่มีลักษณะสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นชนกลุ่มใหญ่ของสังคม จากการศึกษา ยังพบว่าสองพื้นที่นี้มีความผูกพันธ์ทางด้านสังคมและเศรษฐกิจอย่างเหนียวแน่น แต่สภาพทางด้านเศรษฐกิจและการบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานโดยทั่วไปนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วชายแดนมาเลเซียมีความมั่นคงและมีความพร้อมมากกว่าไทย ซึ่งจากสภาพ ดังกล่าว เป็นผลทำให้ภูมิภาคนี้มีปัญหาเฉพาะหลายปัญหา โดยเฉพาะปัญหาทางด้านสังคม จิตวิทยาระหว่างประเทศ และปัญหาทางการเมือง อาทิเช่น ปัญหาขบวนการแบ่งแยกดินแดน ปัญหาโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา และปัญหาการแข่งขันเชิงพื้นที่กับประเทศมาเลเซีย เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติทั้งสิ้น จากสภาพปัญหาของภูมิภาคดังกล่าวจึงทำให้การวางแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ นอกจากจะต้องคำนึงถึงสภาพทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงเอกลักษณ์พิเศษของภูมิภาคนี้ด้วย นั่นคือ การวางแผนจะต้องอยู่ในกรอบของเงื่อนไขเบื้องต้น 3 ประการ คือ 1. ต้องเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตที่ดีของชนส่วนใหญ่ของภูมิภาค 2. ควรคำนึงถึงการแข่งขันเชิงพื้นที่กับภูมิภาคชายแดนตอนบนของประเทศมาเลเซีย 3. ต้องคำนึงถึงความมั่นคงของชาติ ส่วนต่อไปของการวิจัย เป็นการศึกษาเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก โดยทำการศึกษาสภาพปัจจุบันของชุมชนทางด้านกายภาพเศรษฐกิจและสังคม เช่น โครงสร้างทางกายภาพ การคมนาคมขนส่ง โครงสร้างประชากร เศรษฐกิจ การบริการสังคม ตลอดจนบริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เป็นต้น รายงานต่อไปก็เป็นเรื่องของการใช้ที่ดินและการขยายตัวของชุมชน เป็นการศึกษาที่ครอบคลุมถึงลักษณะการใช้ที่ดิน การขยายตัวของชุมชน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขยายตัว ซึ่งผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ชุมชนเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก มีลักษณะการใช้ที่ดินที่พัฒนาขึ้นโดยเอกชนเป็นหลัก มีการขยายตัวทางด้านการบันเทิงเริงรมย์เป็นส่วนใหญ่ โดยอาศัยความได้เปรียบในด้านที่ตั้ง ความแตกต่างด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับมาเลเซีย ลักษณะทางด้านสังคมวัฒนธรรม ความปลอดภัยตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีต่อกัน พร้อมกันนั้นก็ได้เสนอให้เห็นปัญหาต่างๆ ของชุมชนทั้งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ปัญหาฐานเศรษฐกิจของชุมชนที่แคบเกินไป ที่สืบเนื่องมาจากการทุ่มเทการลงทุนทางด้านธุรกิจการบันเทิงเริงรมย์ที่ทำขึ้นมาเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงมาก เพราะบริเวณนี้เองก็ยังไม่มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเท่าที่ควร ส่วนสุดท้ายของการวิจัย เป็นการเสนอแนวนโยบายในการวางแผนพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก ด้วยการพัฒนาตัวเองให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการค้าในบริเวณชาแดนไทย-มาเลเซีย ด้านจังหวัดนราธิวาส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเอาชนะในการแข่งขันเชิงพื้นที่กับชายแดนมาเลเซีย ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจของชุมชนแห่งนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม การที่จะเสริมสร้างให้สุไหงโก-ลกเป็นศูนย์กลางได้อย่างสมบูรณ์แบบนั้น ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางการวางแผนโดยเน้นให้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติและวัฒนธรรมในบริเวณลุ่มน้ำโก-ลก เป็นส่วนประกอบ ส่วนชุมชนสุไหงโก-ลก จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางด้านแหล่งบันเทิงเริงรมย์ กิจกรรมกลางคืนและกิจกรรมการค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว โดยมีการควบคุมที่เหมาะสม ทั้งนี้เพราะโดยสภาพที่แท้จริงในปัจจุบันชุมชนสุไหงโก-ลก สามารถจูงใจหรือดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ระยะหนึ่งเท่านั้น นั่นคือ นักท่องเที่ยวชอบหาความสุขกับกิจกรรมความบันเทิงเริงรมย์เท่านั้น ดังนั้นการเปิดแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติและวัฒนธรรมในบริเวณนี้จึงน่าจะเป็นกลยุทธที่เหมาะสมที่จะมีผลในการสรรสร้างให้สุไหงโก-ลก เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการค้าบริการในบริเวณนี้
Other Abstract: The objective of this research is to identify policies for urban development of Bungai-Kolok Municipality ivhich is located at the Southern border micro-region. Initailly, the study covers physical and socio-economic prospects of the region, spatial relation of Thai and Malaysian borader related to social and economic aspects, and also, comparative study of economic and public utilities of the two areas. The result of the study is that the region has 2 specific aspects :- 1. Geographical aspect : Location of Sungai-Kolok Municipality is on the border region connected to Malaysia 2. Social aspect : Most of the people in the region is muslim which has different culture to other regions. It is also found out that the two areas have closely socio-economic relation, however, the Malaysian border is better in economic and public utilities. The said conditions resulted in Malay complicated prpblems, particularly, international psycho-social, and political problems, such as, fighting for land separation, Malayan-Chinese Communist and the spatial competition, etc. These are impacts to the nation’s security. Consequently, development planning of this area is, not only consideration on physical and socio-economic aspects, but also its specific characteristics, so, the planning is based on three terms of reference:- 1. It must provide fine living condition of the people. 2. It must concern on the spatial competition to the North Malaysian border region. 3. It must concern on the nation’s security. The next part is studying for policy identification of Sungia-Kolok urban development. The study includes of present physical, social and economic conditions, i.e., physical structure, communication population structure; economic, public services and utilities, etc. Furtherance is about land use, urban expansion and factors of such expansion; which the study found out that the private sector has main influence on landuse development, particularly entertainment sector by its locational advantage. It also presents the economic difference between Thailand and Malaysia, social and culture characteristics, security and a good international relation. The study raises the urban’s problems at present and forecasts for the future, for example, small scale of its economic base caused by high investment on entertainment sector while tourist resources are still under-developed. Finally, the study proposes policies of Sungai-Kolok development to be a center for trade and tourism at narathiwat border line, with the objective to overcome such spatial competition, while strengthen its economic condition. However, a strategy to make Sungai-Kolok be a complete enter is to develop natural and cultural tourist resources in the Sougai-Kolok river basin and Sungai-Kolok urban area will be center for entertainment resource under the condition of legally strict control, including night tour, trade and tourist related services. This is because Sungai-Kolo, at present, can only attract a small group of tourist, therefore, finding some new tourist resources will be a fine strategy to cope with those problems.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22877
ISBN: 9745642592
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Awae_Ph_front.pdf617.52 kBAdobe PDFView/Open
Awae_Ph_ch1.pdf363.3 kBAdobe PDFView/Open
Awae_Ph_ch2.pdf481.98 kBAdobe PDFView/Open
Awae_Ph_ch3.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open
Awae_Ph_ch4.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open
Awae_Ph_ch5.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Awae_Ph_ch6.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Awae_Ph_back.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.