Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22941
Title: | การวิเคราะห์ภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาตามทัศนะของนักเรียน : การวิจัยแบบผสมวิธี |
Other Titles: | An analysis of the image of vocational education from the perspective of students : mixed methods research |
Authors: | วชิรวิทย์ ยางไชย |
Advisors: | อวยพร เรืองตระกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Auyporn.R@chula.ac.th |
Subjects: | การศึกษาทางอาชีพ ภาพลักษณ์องค์การ วิจัยแบบผสมผสาน Vocational education Imagery (Psychology) Mixed methods research |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาตามความคิดเห็นของนักเรียน 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาระหว่างนักเรียนที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน และ 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาระหว่างนักเรียน ที่มีบริบทของโรงเรียนแตกต่างกัน แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะแรก เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจัดสนทนากลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 18 คน เพื่อนำผลมาพัฒนาเป็นเครื่องมือวิจัย ระยะที่สอง เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1,338 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือเครื่องบันทึกเสียง แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติพื้นฐานและสถิติทดสอบเอฟแบบ One-way ANOVA ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1) นักเรียนมัธยมศึกษาเห็นว่าภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาโดยรวมทั้ง 8 ด้านอยู่ในระดับพอใช้ทุกด้าน โดยเรียงจากด้านที่มีภาพลักษณ์ดีสุดไปต่ำสุดพบว่า (1) ด้านหลักสูตรการศึกษามีภาพลักษณ์ดีสุด รองลงมา ได้แก่ (2) ด้านการจัดการเรียนการสอน (3) ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม (4) ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ (5) ด้านสื่อการเรียนการสอน (6) ด้านผู้บริหารและคณาจารย์ (7) ด้านนักเรียนนักศึกษา และ (8) ด้านการศึกษาต่อ 2) นักเรียนมัธยมศึกษาที่มีเพศ เกรดเฉลี่ย ระดับชั้น การศึกษาของผู้ปกครอง อาชีพของผู้ปกครองและรายได้ของผู้ปกครองต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาในแต่ละด้านต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า (1) เพศหญิงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาดีกว่าเพศชาย (2) นักเรียนที่มีผลการเรียนสูงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษา ดีกว่านักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ 3) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษา ดีกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (4) นักเรียนที่มีผู้ปกครองที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษา ดีกว่านักเรียนที่มีผู้ปกครองที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป (5) นักเรียนที่มีผู้ปกครองที่มีอาชีพพนักงานบริษัท อาชีพรับจ้าง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาดีกว่านักเรียนที่มีผู้ปกครองที่มีอาชีพอื่น (6) นักเรียนที่มีผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษา ดีกว่านักเรียนที่มีผู้ปกครองที่มีรายได้สูง 3) นักเรียนมัธยมศึกษาที่มีประเภทของโรงเรียน ที่ตั้งของโรงเรียนและภูมิภาคที่ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษา ในแต่ละด้านต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า (1) นักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสสังกัด สพฐ. มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาดีกว่านักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สพฐ. และนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สช. (2) นักเรียนโรงเรียนในเมืองมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาดีกว่านักเรียนโรงเรียนนอกเมือง ยกเว้นภาพลักษณ์ของวิทยาลัยประเภทเกษตรกรรม ซึ่งนักเรียนในเมืองและนักเรียนนอกเมืองมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) นักเรียนภาคกลางมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาดีกว่านักเรียนภาคอื่นๆ ยกเว้นด้านการศึกษาต่อที่นักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาดีกว่าภาคอื่น |
Other Abstract: | To 1) analyze the image of vocational education from student opinion 2) make a comparative analysis of vocational education image from students who have different backgrounds 3) make a comparative analysis about the vocational education image from the perspective of students from various educational school backgrounds. This study is divided into two phases. Phase 1 analyzes qualitative data collected from focus groups via interviews. The number of participants is high enough to help successfully employ research tools and techniques. Phase 2 collects quantitative data from 1,338 samples. The data is collected via a tape recorder, focus group record and questionnaires. The data analysis is processed by the content analysis, descriptive statistics and F-test statistic in One-way ANOVA form. The results of this research: 1) The perception of secondary education students about vocational education image on 8 factors are at the moderate level. Factors contributing to better perception are principle curriculum followed by educational management, place and environment management, career opportunities, instructional media for education, headmaster and professors, vocational students and study aboard. 2) Students with different genders, grade point average (GPA), parents’ educational level, career and income show 0.05 point in statistical difference. The information processed shows that (1) Females have better opinion about vocational education image than males. (2) Students who receive higher GPA view vocational education image more favorably than students who receive lower GPA. (3) Lower secondary school students have more positive view towards vocational education image than upper secondary education students. (4) Parents who do not have postgraduate degrees view the image of vocational education more positive than parents with postgraduate degrees. (5) Parents who are employed in private sector perceive the image of vocational education better than those employed in public sector. (6) Parents with lower income have more positive view towards vocational education image than those with higher income.3) There is 0.05 point of statistical difference between high school students who have different types of school, the school place and several regions. This indicates that (1) Students from The opportunity schools receive better perception than students from secondary education schools under to the office of the basic education commission or those under the Office of the Private Education Commission. (2) Students from urban areas have better perception of vocational education image than those from rural areas. However, the College of Agriculture receives the same statistical point from both students from urban and rural (3) Students in the central region of Thailand have better perception towards the image of vocational education than students from other regions do. Students from the northeast region have the most positive opinion towards vocational education. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22941 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.966 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.966 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
vachirawit_ya.pdf | 3.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.