Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22958
Title: | วิเคราะห์การบริหารเงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร |
Other Titles: | Fund management analysis of Bonk for Agriculture and Agricultural Cooperatives |
Authors: | นิจธร ยมนา |
Advisors: | วิรัช อารมย์ดี วัฒนพร พึ่งบุญ ณ อยุธยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นธนาคารเฉพาะกิจของรัฐที่ตั้งขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนแก่ภาคการผลิตการเกษตรโดยเฉพาะ ทั้งนี้เนื่องจากการเกษตรเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศ แต่การผลิตการเกษตรยังมีปัญหาและอุปสรรคอีกหลายประการ เงินทุนก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง และแม้ว่าจะมีสถาบันการเงินต่างๆมากมาย แต่สถาบันการเงินที่มีอยู่ไม่อาจสนองความต้องการทางการเงินแก่ภาคการเกษตรได้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจึงเป็นทางออกของปัญหาในเรื่องแหล่งของเงินทุนเพื่อการผลิตการเกษตรของประเทศไทย ในฐานะที่เป็นธนาคาร การดำเนินงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจึงมีส่วนที่เหมือนกับการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์อยู่บ้าง กล่าวคือ จะต้องแข่งขันระดมเงินฝากโดยจ่ายอัตราดอกเบี้ยเท่าๆกับธนาคารอื่นซึ่งปัจจุบันมีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุดร้อยละ 13 ต่อปี และในฐานะที่เป็นธนาคารเฉพาะกิจ จึงมีการดำเนินงานแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์อยู่บ้างเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นการให้กู้ยืมหรือให้สินเชื่อการเกษตรแก่เกษตรกรเป็นสำคัญและสามารถคิดอัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ขณะที่ธนาคารพาณิชย์สามารถให้กู้ยืมแก่กิจการต่างได้อย่างกว้างขวางและคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี จากเงื่อนไขเหล่านี้หากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรระดมเงินทุนจากเงินฝากเป็นหลัก และผลต่างของอัตราดอกเบี้ยทั้งสองเพียงร้อยละ 2 ต่อปี เมื่อพิจารณารวมกับค่าใช้จ่ายดำเนินงานด้วยแล้ว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรก็ไม่อาจดำเนินงานต่อไปได้และวัตถุประสงค์การจัดตั้ง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนแก่เกษตรกรที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาและวิเคราะห์แหล่งที่มาของเงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ต้นทุนของเงินทุนแต่ละประเภท โดยศึกษาและวิเคราะห์จากข้อมูลระหว่างปี 2515 – 2525 ศึกษาวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่างๆ และกำไรจากการดำเนินงาน ตลอดจนพิจารณาว่าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนแก่เกษตรกรที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำจริงหรือไม่ จากการศึกษา พบว่าการบริหารเงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในด้านแหล่งที่มาของเงินทุนนั้น มิได้มุ่งระดมเงินฝากเป็นสามัญ เพราะเงินฝากมีต้นทุนเงินทุนสูงที่สุด ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาด้านการให้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ดังนั้นในระยะแรกของการดำเนินงาน แหล่งที่มาของเงินทุนที่สำคัญ จึงได้แก่ เงินกองทุน เงินกู้ยืม และเงินฝากตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเป้าหมายให้ธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อการเกษตรเพิ่มมากขึ้น และกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดไม่สามารถให้สินเชื่อการเกษตรได้ตามเป้าหมาย ก็ให้นำเงินส่วนที่ต่ำกว่าเป้าหมายฝากไว้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โครงสร้างแหล่งที่มาของเงินทุนจึงเริ่มเปลี่ยนไป เงินฝากได้เพิ่มบทบาทขึ้นเป็นลำดับ และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแหล่งที่มาของเงินทุนดังกล่าว มีผลกระทบต่อต้นทุนเงินทุนโดยตรง ขณะที่การปรับตัวให้สูงขึ้นทางด้านอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม กระทำได้ค่อนข้างยากและเพิ่มขึ้นได้ในอัตราที่ช้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจึงประสบปัญหาการดำเนินงานและต้องพยายามหาแหล่งเงินทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำมาผสมกับแหล่งเงินฝากที่มีต้นทุนสูงเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและในการนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมแก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ลงเป็นลำดับ คือจากร้อยละ 5 ต่อปี เป็นร้อยละ 3.5 ต่อปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 และลดลงเหลือเพียงร้อยละ 1 ต่อปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เพื่อดึงต้นทุนเงินทุนโดยส่วนรวมให้ต่ำลง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ก็สามารถให้กู้ยืมเงินแก่เกษตรกรในอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไปได้ ทางด้านแหล่งที่ใช้ไปของเงินทุนได้เน้นการให้กู้ยืมแก่เกษตรกรเป็นสำคัญทั้งเป็นการให้กู้ยืมแก่เกษตรกรโดยตรงและโดยผ่านสถาบันเกษตรกร นอกจากนี้ในระยะหลังมีการจัดสรรเงินทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น กล่าวคือนอกฤดูการผลิตการเกษตรความต้องการสินเชื่อลดลง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จะนำเงินบางส่วนไปหาผลประโยชน์โดยฝากไว้กับธนาคารอื่น และบางส่วนก็นำไปลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ( Repurchase Market ) จากการศึกษาถึงต้นทุนรวมและรายได้ทั้งสิ้นจากการดำเนินงาน พบว่าผลต่างของอัตราทั้งสองมีแนวโน้มลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากต้นทุนเงินทุนมีแนวโน้มสูงขึ้นขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายดำเนินงานก็สูงขึ้นด้วย และเมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารพาณิชย์ พบว่าค่าใช้จ่ายดำเนินงานของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ ส่วนทางด้านรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้ากว่าเพิ่มขึ้นของต้นทุน และหากดำเนินงานยังเป็นไปในลักษณะเช่นนี้อีกต่อไป ภายในปี 2530 อัตราต้นทุนจะสูงกว่าอัตรารายได้ แต่คาดว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น เพราะผู้บริหารจะต้องมีการปรับปรุงในเรื่องของต้นทุนและรายได้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้การดำเนินงานของ ธกส.เป็นไปอย่างราบรื่นอีกต่อไป จากการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ( Correlation ) ของอัตราการขยายตัวของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พบว่าเมื่อขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นสินเชื่อดังกล่าวจะกระจายไปสู่เกษตรกรมากขึ้น และค่าใช้จ่ายดำเนินงานก็สูงตามไปด้วย ดังนั้นการขยายกิจการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรออกไป จึงมิใช่เป็นการเพิ่มความสามารถทำกำไรให้สูงขึ้นจนกล่าวสรุปได้ว่าการดำเนินงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มุ่งที่จะเป็นแหล่งเงินทุนแก่เกษตรกรที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างแท้จริงมากกว่าที่จะมุ่งกำไร |
Other Abstract: | The Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC) is a government - owned specialized bank, designed to be a source of fund to the agricultural sector, which is the backbone of Thailand's economy. The sector however is currently faced with various problems, among which is the funding problem. Although presently there exist a fairly large number of financial institutions in the country, they can hardly be the answer to the question. The BAAC has thus been created to be a direct solution. As a bank, the BAAC’s operations are therefore similar to those of commercial banks. Moreover, the BAAC has to compete with commercial shanks in attracting fund by offering the same level of interest rates on deposits (which now stand at the maximum rate of 13% per annum). However the BAAC, having been set up to provide cheap fund to the agricultural sector, is allowed to charge the interest rate on loans at the maximum of only 15% p. a. whereas commercial banks are able to extend credit to a wide range of activities at the top interest rate of 19% p. a. Given this constraint, the BAAC would not be able to continue its operation if it relied mainly on deposits for its fund mobilization. The BAAC could never go on with the interest - rate diferential or the margin of only 2% p. a. if operational cost is taken into account. Upon this issue, this thesis thus aims to study and analyze the sources of fund for the BAAC, the cost of each type of fund (with data during 1972 - 1982 being used), other operational expenses as well as profits of the BAAC. The thesis also endeavours to find whether the BAAC has fulfilled its main opjective of being a lew - cost source of fund to the Thai fanners. From the study, it is found that, according to the BAAC’s actual fund management, the Bank has not depended chiefly on deposits as a source of fund since deposit is considered the the most expensive capital. In fact during the early years of its operation, the BAAC obtained fund from its own capital fund, borrowings and to some extent from its customers' deposits. However, since 1975 the Bank of Thailand has set higher target for commercial banks to extend more credit to the agricultural sector. So commercial banks are required to put the amount of money failing to reach the set target as deposits with the BAAC. As a consequence, the structure of the funding sources for the BAAC has ever since ^charged in the way that deposit has a greater share in the BAAC’s fund acquisition. Such a change has increased the BAAC’s funding cost while it is still hard for tile Bank to adjust lending rate accordingly to offset the higher cost. This created a difficult situation for the BAAC, which has to look also for other sources of low-cost fund so that its operation a could proceed smoothly. To support the BAAC, the Bank of Thailand reduced the interest rate on the loans it lent to the BAAC from 3.5% p.a. in 1979 and further to only 1% p.a. in 1980, thereby lowering the overall cost of fund for the BAAC. As regards the uses of fund, the BAAC provides loans directly to farmers as well as indirectly through a few farmers. institutions. Besides, the BAAC has attempted to manage its acquired fund to the highest efficiency. To this end, during the ex-cultivation period when the demand for agricultural loan is less, the BAAC re-deposits part of the fund with commercial banks and invests some other part in the bond repurchase market. The study also finds that as years went by, the difference between the Bank’s total cost and total revenue became smaller due to higher cost of fund as well as higher operational cost. Besides, when compared .with commercial banks, the BAAC's operational expenses are higher while its revenue grew very slowly, and indeed more slowly than the growth rate of the Bank’s total cost itself. In terms of statistics, a positive correlation between the growth of the BAAC’s credit extension and the growth of its operational cost is obvious. So the expansion of the BAAC’s operation does not result in more profitability. It could thus be concluded that the BAAC has properly performed its duty as a low-cost source of fund to the farmers, without profit incentive, until the BAAC is able to efficiently adjust its interest rate structure. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22958 |
ISBN: | 9745641952 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nijathorn_Yo_front.pdf | 719.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nijathorn_Yo_ch1.pdf | 406.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nijathorn_Yo_ch2.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nijathorn_Yo_ch3.pdf | 1.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nijathorn_Yo_ch4.pdf | 874.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nijathorn_Yo_ch5.pdf | 821.66 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nijathorn_Yo_ch6.pdf | 809.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nijathorn_Yo_ch7.pdf | 880.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nijathorn_Yo_back.pdf | 311.62 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.