Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22978
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุมพล รอดคำดี-
dc.contributor.authorนิตยา คำเมือง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-10-31T15:20:41Z-
dc.date.available2012-10-31T15:20:41Z-
dc.date.issued2525-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22978-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวของสตรีในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น เพื่อทราบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชน จำแนกตามปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมของสตรีในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่นว่ามีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อเป็นอย่างไรโดยมีข้อสมมติฐานว่า " การเปิดรับสื่อมวลชนของสตรีในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่นแตกต่างกันไปตามปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม อันได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ " ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ สตรีที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่นที่สมรสแล้ว มีอายุระหว่าง 15-49 ปี จำนวน 200 คน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจแบบพรรณา ( The Descriptive Survey ) เป็นการสำรวจภาคสนาม ( Field Survey ) การสุ่มตัวอย่างเป็นวิธีการเลือกแบบธรรมดา โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ใช้การหาค่าร้อยละและไคสแควร์ จากการศึกษาพบว่าเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม อันได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้กับการเปิดรับสื่อมวลชน อันได้แก่หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์และนิตยสารแล้ว ปรากฏว่า ในเรื่องปัจจัยทางด้านสังคมนั้น เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบทางด้านอายุปรากฏว่า การเปิดรับสื่อมวลชนของสตรีในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่นแตกต่างกันไปตามช่วงอายุเฉพาะเรื่องช่วงเวลาการเปิดรับสื่อมวลชนประเภทวิทยุ กล่าวคือ กลุ่มที่มีช่วงอายุระหว่าง 25 – 29 ปี จะเปิดรับสื่อมวลชนประเภทวิทยุในช่วงเวลาเช้า ( 06.00 – 09.00 น.) ในระดับที่สูงกว่ากลุ่มช่วงอายุที่น้อยกว่า และกลุ่มช่วงอายุที่สูงกว่า ส่วนช่วงเวลาในการเปิดรับสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ไม่แตกต่างกัน และแตกต่างกันในเรื่องความบ่อยครั้งในการเปิดรับสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ คือกลุ่มที่มีช่วงอายุระหว่าง 25 -29 ปี จะมีความบ่อยครั้งในการเปิดรับสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์สูงกว่ากลุ่มอายุที่น้อยกว่าและกลุ่มช่วงอายุที่สูงกว่า เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบทางด้านการศึกษาพบว่า การเปิดรับสื่อมวลชนของสตรีในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น แตกต่างกันไปตามระดับการศึกษาเฉพาะเรื่องความบ่อยครั้งในการเปิดรับสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์และนิตยสาร คือกลุ่มที่มีการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา อาชีวะ ปกศ.ต้น จะมีความบ่อยครั้งในการเปิดรับสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์และนิตยสารสูงกว่ากลุ่มที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่า และกลุ่มที่มีการศึกษาระดับสูงกว่า ในเรื่องปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจพบว่า เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบทางด้านอาชีพปรากฏว่า การเปิดรับสื่อมวลชนของสตรีในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น แตกต่างกันไปตามกลุ่มอาชีพ เฉพาะเรื่องความบ่อยครั้งในการเปิดรับสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์และนิตยสาร คือ ในสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์และนิตยสาร กลุ่มอาชีพรับราชการจะมีความบ่อยครั้งในการเปิดรับสื่อประเภทหนังสือพิมพ์และนิตยสารสูงกว่ากลุ่มอาชีพแม่บ้าน รับจ้าง ค้าขายและกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม ส่วนสื่อมวลชนประเภทวิทยุปรากฏว่า กลุ่มอาชีพแม่บ้านมีจำนวนสูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ สำหรับสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ ปรากฏว่า กลุ่มอาชีพแม่บ้านและกลุ่มอาชีพรับราชการมีความบ่อยครั้งในการเปิดรับสื่อดังกล่าวสูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ ในเรื่องปัจจัยทางด้านรายได้พบว่า การเปิดรับสื่อมวลชนของสตรีในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น แตกต่างกันไปตามระดับรายได้ เฉพาะเรื่องช่วงเวลาการเปิดรับสื่อมวลชนประเภทวิทยุ คือกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง ฟังวิทยุในช่วงเวลาเช้า ( 06.00 – 09.00 น.) สูงกว่ากลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่าและกลุ่มที่มีรายได้สูงกว่าและแตกต่างกันในเรื่องความบ่อยครั้งในการเปิดสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์และนิตยสาร ซึ่งปรากฏว่า กลุ่มที่มีรายได้ปานกลางจะมีความบ่อยครั้งในการเปิดรับสื่อมวลชนประเภทดังกล่าวสูงกว่ากลุ่มรายได้ต่ำกว่าและกลุ่มที่มีรายได้สูงกว่า กล่าวโดยสรุป ผลการศึกษาพบว่า การเปิดรับสื่อมวลชนของสตรีในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่นแตกต่างกันไปตามปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมในบางเรื่อง ฉะนั้นในอนาคตควรวางนโยบายเพิ่มการรณรงค์การใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชนให้มากที่สุดในการที่จะเผยแพร่ข่าวสารความรู้เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่นและจังหวัดอื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยผนวกเข้าไปในรายการต่างๆ ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังความรู้พื้นฐานแก่ประชาชนและแก้ไขปรับปรุงรายการต่างๆที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น อันจะเป็นผลให้การวางแผนครอบครัวในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น และจังหวัดอื่นๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบผลสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตด้วย-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to study an aspect of behavior concerning the exposure to mass media on family planning of women in the municipal area of Khon Kaen province. The research aims to study the difference in behavior of these women concerning their exposure to mass media on family planning which is classified according to their social and economic factors which include age, educational level, occupation and income. The target population of this study were 200 married women of between 15-49 years old who live in the municipal area of Khon Kaen. The research design was a descriptive type made through a field survey. Women under the survey were selected by the simple Random Sampling method. They were interviewed with the use of questionnaires. Data analysis was done by using percentage and Chi-square. The result of the study show various aspects in the exposure to mass media which cover newspapers, radio, television and magazines, when taking into account the economic and social factors which include age. educational level, occupation and income, as follows:- With regard to the social factor, it is found that, -The exposure to mass media of women in target area varies according to their age only in the case of time of exposure to radio. That is, the group whose members' ages are between 25-29 years has an .exposure to-radio during the morning period (06.00-09.00 hrs.) at a level higher than the groups whose members 5 ages are lower or higher. As for television, there is no difference in this case. Another difference is found in the case of frequency of exposure to newspapers. That is, the group whose members' ages are between 25-29 years has a higher frequency of exposure to newspapers than the groups of lower and higher ages. -The exposure to mass media s of women -under survey varies according to educational levels only in the case of frequency of exposure to newspapers and magazines. That is, the group whose members are in secondary education level, vocational level and the level of lower certificate in teaching has a frequency of exposure to newspapers and magazines higher than the group whose members are in lower and higher education. with regard to the economic factor, it is found that, -The exposure to mass media of women under survey varies according to their occupations only in the case of frequency of exposure to newspapers, radio, television and magazines. That is, for newspapers and magazines, the group of officials has a frequency of exposure to the media higher than groups of housewives, employees, traders and agriculturists. Housewives have a frequency of exposure to radio higher than other groups. Housewives and officials also have a frequency of exposure to television higher than other groups. -The exposure to mass media of women under survey varies according to income level in the case of period of exposure to radio. That is, the number of middle-income earners who listen to the radio in the morning period (06.00-09.00 hrs.) are greater than the number of lower-and higher-income earners. Besides, differences are found in the case of exposure to newspapers, television and magazines of middle-income earners is higher than that of lower - and higher - income earners. In conclusion, the study shows the exposure to mass media of women in the municipal area of Khon Kaen varies according to social and economic factors only in some cases. Therefore, in the future a policy should be laid in order to make the maximum use of mass media for the benefit of dissemination of news and information concerning family planning in the municipal area of Khon Kaen province and the other provinces in the Northeast. In order to instil basic knowledge into people, those news and information should be included into various broadcasting programmes. The existing programmes should also be improved so that the family planning programmes in the municipal area of Khon Kaen province and the other provinces in the Northeast. will be successful and achieve their goal which will turn good results to national development in the future.-
dc.format.extent770545 bytes-
dc.format.extent680003 bytes-
dc.format.extent948372 bytes-
dc.format.extent440827 bytes-
dc.format.extent1862363 bytes-
dc.format.extent1012291 bytes-
dc.format.extent1691607 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเปิดรับสื่อมวลชนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวของสตรี ในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่นen
dc.title.alternativeExposure to mass media on family planning : The study of the women in municipal area, Khon Kaenen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nittaya_Co_front.pdf752.49 kBAdobe PDFView/Open
Nittaya_Co_ch1.pdf664.07 kBAdobe PDFView/Open
Nittaya_Co_ch2.pdf926.14 kBAdobe PDFView/Open
Nittaya_Co_ch3.pdf430.5 kBAdobe PDFView/Open
Nittaya_Co_ch4.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Nittaya_Co_ch5.pdf988.57 kBAdobe PDFView/Open
Nittaya_Co_back.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.