Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22987
Title: การวางผังถนนในชุมชนพักอาศัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโจรกรรม
Other Titles: A study of the relationship between street pattern of residential community and the incidence of robberry
Authors: บริหาร เสี่ยงอารมณ์
Advisors: เฉลิม สุจริต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาสำหรับประชาการที่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ๆซึ่งมักจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและด้านอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้เป็นสาเหตุของปัญหานานับประการของเมือง เช่นปัญหาจราจร ปัญหาสภาพแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาสุขภาพจิต การรักษาความสะอาด ปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาวัยรุ่น ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ ตลอดจนสาธารณูปโภคที่ขยายตัวตามไม่ทันการเจริญเติบโตของชุมชน ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของเมืองคือปัญหาอาชญากรรม โดยเฉพาะโจรกรรม อันเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งซึ่งก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้สุจริตมิใช่น้อย และเป็นอาชญากรรมที่มีสถิติสูงสุดในบรรดาอาชญากรรมทั้งหลาย เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุปัญหาโจรกรรมในชุมชนแล้ว ปรากฏว่ามีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การบริหารชุมชน ตลอดจนสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้ออำนวยต่อการกระทำโจรกรรม มีนักวิจัยหลายท่านได้ยืนยันว่า สภาพแวดล้อมทางภายภาพนั้นมีผลต่อการเกิดโจรกรรมและอาชญากรรมอื่นๆ หากมีการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เหมาะสมแล้ว สามารถจะลดปัญหาโจรกรรมหรืออาชญากรรมอื่นๆลงได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นกับลักษณะพฤติกรรมของอาชญากรรมแต่ละประเภทด้วย ในฐานะของนักออกแบบกายภาพ ผู้วิจัยจึงพยายามที่จะนำผลของความรู้ด้านการออกแบบกายภาพดังกล่าวมาช่วยลดปัญหาโจรกรรมในชุมชนและได้เริ่มทำการศึกษาปัญหานี้โดยการศึกษาจากชุมชนหมู่บ้านจัดสรรบริเวณชานเมือง ย่านหัวหมาก คือหมู่บ้านเสรี ตั้งอยู่บริเวณหลังมหาวิทยาลัยรามคำแหง ศึกษาเฉพาะบางส่วนของหมู่บ้านเสรี โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน และหมู่บ้านเมืองทอง ซึ่งตั้งอยู่บนถนนพัฒนาการ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในย่านที่มีสภาพแวดล้อมภายนอกสังคมเศรษฐกิจ ใกล้เคียงกัน และในแต่ละกลุ่มที่ทำการศึกษาก็มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะศึกษา คือระบบถนนครบถ้วนตามที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพของหมู่บ้านมีอยู่หลายส่วนด้วยกัน เช่น ส่วนพักอาศัย ส่วนพานิชยกรรม ส่วนพักผ่อนหย่อนใจ ส่วนบริการชุมชน ถนนและทางเท้า เป็นต้น ดังนั้น จึงได้ควบคุมสภาพแวดล้อมทางกายภาพอื่นๆ ที่ไม่ได้ศึกษาให้อยู่ในลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมาก เช่น ลักษณะรูปร่างที่ดิน จำนวนบ้านทั้งหมด ลักษณะบ้าน ขนาดที่ดิน ตำแหน่งที่ตั้ง รวมทั้งสภาพแวดล้อทางสังคม เศรษฐกิจ ของผู้ที่อยู่อาศัยในกลุ่มที่ศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม ไม่ให้แตกต่างกันมากเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสในการผิดพลาดจากการศึกษามีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ สาเหตุที่เลือกชุมชนบ้านจัดสรรเป็นกลุ่มที่จะทำการศึกษา เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีปัจจัยพื้นฐานของการอยู่รวมกันเป็นสังคมค่อนข้างสมบูรณ์ เช่น สาธารณูปโภค สาธารณูปการต่างๆ รวมทั้งมีขนาดจำนวนคนที่อาศัยอยู่ร่วมกันไม่ใหญ่โตและมากมายจนเกินไป สามารถจะทำการศึกษาได้สะดวกในระยะเวลาซึ่งมีอยู่จำกัดได้ เมื่อพิจารณาระดับชุมชนที่จะศึกษาได้แล้ว ก็พิจารณาถึงสภาพแวดล้อมกายภาพที่น่าจะศึกษา ได้แก่ สิ่งที่เป็นส่วนสำคัญของชุมชน จะเห็นได้ว่า สิ่งที่เป็นโครงสร้างหลักของผังชุมชน คือระบบถนน ซึ่งถ้ามองในแง่ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโจรกรรมแล้ว ถนนนอกจากจะใช้เป็นทางสัญจรของผู้อาศัยในชุมชนแล้ว คนร้ายก็ใช้เป็นเส้นทางเข้าหาเหยื่อของเขาได้ด้วยเช่นกัน มีนักวิชาการบางท่าน เช่น Newman, Jacob และ Lynch ซึ่งเป็นนักวิจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพว่า มีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์อย่างไร ได้ชี้ให้เห็นถึงลักษณะทางกายภาพของถนนบางอย่างที่สามารถลดสถิติการเกิดอาชญากรรมต่างๆลงได้ เช่น 1. อาศัยลักษณะและองค์ประกอบทางกายภาพของถนนมากระตุ้นให้คนที่อยู่ในบริเวณนั้นรู้สึกเป็นเจ้าของ (Territoriality ) จนทำให้เกิดการระมัดระวังตนเองโดยธรรมชาติซึ่งถนนดังกล่าวจะต้องมีลักษณะทางกายภาพที่แสดงออกอย่างชัดเจนของกลุ่มอาคารกลุ่มนั้น โดยมีลักษณะหรือเครื่องหมายแสดงให้คนที่จะรุกล้ำเข้าไปรู้สึกได้ว่า ได้ละเมิดเข้ามาในพื้นที่ซึ่งไม่ใช่สาธารณะ เช่น ลักษณะของถนนซอยตัน ซอยทะลุ ความชัดเจนของการแสดงอาณาเขตของกลุ่มขึ้นกับองค์ประกอบทางกายภาพของถนนอีกหลายประการ เช่น จำนวนบ้านในกลุ่ม ความชัดเจนในการมองเห็น รั้วความยาวของถนน ความกว้าง ไฟถนน เป็นต้น ถ้าความชัดเจนของอาณาเขตมีมาก การป้องกันจะมีคุณภาพสูงขึ้น 2. การป้องกันโดยอาศัยกิจกรรม ( Activities ) บางประการซึ่งเกิดขึ้นบนถนนเช่นร้านค้า มุมถนน ป้ายรถเมล์ ร้านอาหาร อาคารราชการ ฯลฯ ซึ่งเป็นจุดที่มีคนมาใช้หรือเข้ามาร่วมในกิจกรรมดังกล่าว ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ทำให้คนภายนอกที่ไม่ได้ร่วมในกิจกรรรมก็สนใจที่จะจับตามอง เป็นการเพิ่มปริมาณ " ดวงตา " ที่จับจ้องบน 2 ฝั่งถนน โอกาสที่คนร้ายจะลงมือกระทำความผิดก็น้อยลง เช่นบ้านที่อยู่ริมถนนที่มีคนสัญจรไปมาตลอดเวลา เป็นต้น แต่คุณภาพของการป้องกันโจรกรรมโดยอาศัยสภาพแวดล้อมของถนน จะมีระดับแค่ไหนนั้น ก็ต้องขึ้นกับความชัดเจนในการมองเห็น ซึ่งสภาพแวดล้อมกายภาพของถนนจะต้องเอื้ออำนวยต่อการมองเห็นให้ชัดเจนที่สุด พยายามไม่ให้มีจุดอับสายตาบนถนน ไม่ว่าสภาพรั้วบ้าน ไฟถนน ความยาวถนน ความกว้างถนน ตำแหน่งบ้าน จะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการมอง จึงจะทำให้คนร้ายหมดโอกาสในการกระทำความผิด ผลของการศึกษา มีทั้งที่เป็นไปตามทฤษฏีและไม่เป็นไปตามทฤษฏี สำหรับที่ไม่เป็นไปตามทฤษฏีนั้นก็พอจะอธิบายได้ว่า เนื่องจากสาเหตุในการเกิดโจรกรรมนั้นมิได้เกิดจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพของถนนภายในเท่านั้น หากแต่ยังเกิดจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ส่วนอื่นๆทั้งภายในและภายนอกชุมชน รวมทั้งอิทธิพลทางสังคม เศรษฐกิจ และการบริหารชุมชนอีกด้วย ดังนั้น แม้ว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพของถนนจะมีลักษณะซึ่งสามารถป้องกันโจรกรรมได้อย่างดี แต่ถ้าหากอิทธิพลจากด้านอื่นๆ สูงกว่าก็เกิดโจรกรรมได้ อาทิเช่น 1. การโจรกรรมเกิดขึ้นเนื่องจากองค์ประกอบกายภาพบางตัวของถนนภายในไม่เอื้ออำนวยต่อการมองเห็น เช่น ถนนภายในมีลักษณะเป็นซอยตัน ตามทฤษฏีโอกาสเกิดโจรกรรมจะน้อย แต่สภาพรั้วของบ้านในกลุ่มซอยนั้น ส่วนใหญ่เป็นรั้วทึบ หรือไม่มีไฟถนน ทำให้คนร้ายมีโอกาสมากขึ้น เพราะไม่มีคนมองเห็น 2. การโจรกรรมเกิดขึ้นเนื่องจากลักษณะพฤติกรรมของคนร้าย เช่นเกิดในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นเวลาที่คนทั่วไปพักผ่อน ซึ่งแม้ว่าองค์ประกอบทางภาพจะดีเพียงไร ก็ขาด " คนมอง " เสียแล้ว ก็ทำให้คุณสมบัติในการป้องกันโจรกรรมจากสภาพกายภาพนั้นหมดไป ข้อเสนอแนะ เนื่องจากสาเหตุในการเกิดโจรกรรมมิใช่จากกายภาพด้านเดียว แม้ว่าลักษณะกายภาพของถนน จะดีสำหรับการป้องกันโจรกรรมเพียงใด ก็ไม่สามารถแก้ได้โดยเด็ดขาด หากองค์ประกอบด้านอื่นๆทั้งกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ การบริหารชุมชน ไม่แก้ไขไปพร้อมๆกัน ดังนั้น จึงต้องพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไปพร้อมๆกับการป้องกันโดยกายภาพ วิธีการก็คือ 1. ทางสังคม พยายามสร้างบรรยากาศของชุมชน ( Neighborhood Spirit ) ขึ้น โดยให้คนในกลุ่มช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยจัดให้มีกิจกรรมบางประการร่วมกัน หรือพยายามแบ่งชุมชนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ อันจะทำให้สะดวกต่อการติดต่อกัน ซึ่งจะแบ่งจากกายภาพ หรือจากกิจกรรมก็ได้ โดยเจ้าของโครงการ และรัฐเป็นผู้ให้ความสนับสนุน 2. ทางเศรษฐกิจ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่แก้ได้ยาก และรัฐบาลทุกชุดก็พยายามแก้ไขอยู่ เนื่องจากความแตกต่างทางเศรษฐกิจ เป็นต้นเหตุอีกประการหนึ่งของโจรกรรม การแก้ไขในระดับชุมชนก็คือ พยายามไม่แสดงถึงสิ่งที่บ่งชี้ความแตกต่างทางเศรษฐกิจให้ชัดเจนจนเกินไป เช่น ทรัพย์สิน อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆเป็นต้น 3. การบริหารชุมชน ทุกโครงการควรจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เพื่อดูแลชุมชน โดยพยายามให้คนในชุมชนเป็นผู้ควบคุม โดยร่วมมือประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ เพื่อให้มีคุณภาพและขอบเขตของการปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง 4. ทางกายภาพ ทางกายภาพนั้นต้องพิจารณาตั้งแต่การเลือกที่ตั้งของชุมชน จนกระทั่งถึงการออกแบบผังบริเวณ ลักษณะถนน – ทางเท้า องค์ประกอบอื่นๆตลอดจน การออกแบบลักษณะกลุ่มย่อยที่มีผลต่อการป้องกันกายภาพ จนมาถึงการออกแบบตัวอาคาร องค์ประกอบของบ้านแต่ละหลังให้สามารถป้องกันโจรกรรมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวางผังบริเวณเป็นระดับที่ควรจะสนใจ เพราะในด้านการเลือกที่ตั้งเพื่อจัดตั้งชุมชนนั้น ในสภาพความเป็นจริงนั้นมีโอกาสน้อย ยกเว้นรัฐจะกำหนด ดังนั้นในขอบเขตที่เราจะสามารถควบคุมปัญหาได้ ก็อยู่ในระดับของการวางผังบริเวณลงไปเท่านั้น ประโยชน์จากการวิจัย เป็นการชี้ให้เห็นอิทธิพลของสภาพแวดล้อมกายที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man- Made Environment ) ว่า นอกจากจะสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยแล้ว ยังอาจมีผลกระทบทางอื่นซึ่งอาจเป็นผลร้ายต่อมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นอย่างคาดไม่ถึง ผลดีก็คือ 1. ทำให้นักออกแบบกายภาพได้คำนึงถึงผลกระทบด้านอื่นๆที่จะเกิดขึ้นจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมกายภาพ 2. ชี้ให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการขาดการควบคุมการจัดตั้งชุมชน ก่อให้เกิดปัญหาหลายด้านแก่สังคม รวมทั้งปัญหาโจรกรรมในชุมชนด้วย 3. แสดงให้เห็นถึงแนวทางในการศึกษาปัญหาอาชญากรรมประเภทอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในย่านต่างๆของแต่ละชุมชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมกายภาพส่วนต่างๆของชุมชน เช่น ถนนทางเท้า ตัวอาคาร ตำแหน่งชนิดของสวนสาธารณะ ฯลฯ แล้วแต่จะสนใจศึกษาตัวแปรตัวใด 4. แสดงให้เห็นว่า นอกจากอิทธิพลจากกายภาพที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ทำให้เกิดปัญหาโจรกรรมนี้แล้ว ยังมีอิทธิพลอื่นๆ เช่น สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ คือ ฤดูกาล วัน เวลา ฯลฯ รวมทั้งสังคม เศรษฐกิจ การบริหารชุมชน เป็นต้น การแก้ปัญหาจึงต้องทำไปพร้อมกันจึงจะได้ผล
Other Abstract: One distinguished feature inherent to any one metropolis is the abrupt change in every dimension of the society - social, economic as well as many others. This dynamic force precipitates the complication in solving various problems characteristic to urbanization, to name a few : traffic, pollution, mental health, sanitation, slums, delinquency, prime 1, and inadequacy of public utility. Of all these, crime - particularly theft which tops other crimes as a matter of record - seems to be the most serious problem considering its impact on the law-abiding citizens. Researches into the cause of theft in any given community reveal a number of relative factors : social, economic, community administration as well as physical surroundings propitious to crime commitment. Many researchers have confirmed that physical surroundings is causative to theft and other crimes, and if properly designed, theft and other crimes could be reduced or prevented. However, this depends principally on the nature of each category of crime. As a physical designer, the uniter has been making an attempt to reduce theft through physical designing techniques and has initiated study on the subject by focusing on a suburban housing estate around Huamark area, namely Muban Seri situated behind Ramkamhaeng University, study is done on part of Muban Seri by dividing it into two groups. Further, on Muban Muangtong, located on Patanakarn Road - a housing estate whose residents are of similar social and economic backgrounds for those of Muban Seri in each of these subject groups, the physical surroundings under study, namely the road system is already in completion. Due to the fact that the physical surroundings of a housing estate can be divided into several parts - resi¬dential parts, commercial parts, recreation parts, public service part, streets, and pavements, attempt has thus been made, by selection of study subjects, to keep to a minimum the difference of physical surroundings outside the scope of this study in the 3 subject groups, eg. the shape of the land, the number of houses, the description of houses, the size of land, the locality, the social and economic backgrounds of residents of the 3 subject groups. Some analysts, ie. Newman, Jacob, and Lynch who undertook study on the impact of physical surroundings on human behaviour, indicate that some physical characters of roads or streets could help reducing crime, for instances: 1.The physical characteristics of a street could stimulate and bring out territoriality from among residents of that area, which eventually results in natural protectionism. The street in question must possess characteristics inherent to that particular group of buildings a stranger walking on that street is automatically made aware by the physical lay-out or any constructions or sign on that particular street that he has entered an area esotiric in its own right, eg. a cul-de-sac, a thoroughfare. The clarity of territoriality depends on many other physical factors of the street, the number of houses, visibility, fences4 street lights, length and width of the street. The greater the clarity of territoriality, the higher the protection. 2.Certain activities on the street eg. shop, street corners, bus stops, restaurants, government buildings the centre of common activities, either intentionally or unintentionally, which attract the attention of non¬participants. As such both sides of the street are "in sight" almost all the time. The probability of success is then very limited for crime, houses alongside a busy street is a good example. The effectiveness of physical surroundings of a street as crime protective depends on their visibility. There should be no blind-spot on the street in velation to fences, street lights, the length and width of the street, the location of houses. The nearer to perfection the visibility, the lesser the chance to successfully commit a crime. Result of the Research The result comes out partly in accordance with the theory and partly not. Those not in accordance with the theory could be explained that physical surroundings of the street is not the only cause of theft j there are other influential physical surroundings both inside and outside the community, including social and economic factors in that particular community as well as community administration. Thus, eventhough the physical surroundings of a street theoretically facilitate theft protection, they may well be rendered ineffective by other more influential factors, eg. 1. The visibility of the physical surroundings of a street is bad : a cul-de-sac is theoretically theft protective by nature but if houses on both sides of that street put up wall, or that cul-de-sac is without lightings, the chance to successfully commit theft is high since visibility is difficult. 2. Factors on part of the culprit, ie. his behaviour. If he chooses to carry out his expenditure at night, the chance of being sighted is small due to lack of "spectators" the physical surroundings of the street do not bear much weight in this case. Proposal Physical surroundings of the street is by no means the sole cause of theft and no effective solution could be achieve if other contributory or relative causes, namely social, economic, and community administration, are not simultaneously solved 1. Social. Attempt should be made to promote neighbourhood spirit through certain common activities, or by keeping each community in various manageable groups through physical or activity division. This could be initiated and supplemented by the operator of the housing estate, or the government, 2.Economic. An inveterated problem which government after government has been trying to tackle. As sharp difference of economic status in between the people is a cause of crime, one ready solution or protective measure, to be more precise within any one community is to reduce as far as possible indicators of economic difference, eg. possession, amenities. 3.Community. Administration Each housing estate should establish security corps for self- protection, controlled by local resident in co-operation with local police authority in order to function efficiently within proper limited scope. 4.Physical Factors Focus should be on the site of the community, site planning of the housing estate, the nature and description of the street, pavements including other factors, from the physical designing of sub-groups conducive to protection down to building designing, especially locality planning, normally site selection is hardly possible unless the government so regulates what can be controlled is site planning Deriving Benefit To demonstrate the influence of man-made environment ะ apart from its utility, there can be other side effect which could be detrimental to its inhabitants beyond anticipation. As for the positive side of this research, the followings are the conclusion: 1.Physical designer should take into consideration the repurcussion from the influence of physical surroundings 2.Lack of locality control in the establishment of community breeds various social problems including theft. 3.The nature of crime is related to the physical surroundings of the community eg. either street, pavement, building, location and type of park etc could have impact on the crime committed in that surroundings. 4. Apart from man-made environment or physical surroundings, there are other natural environmental factors which are the contributory causes of crime, eg. seasons, times including, and community administration. In order to effectively solve the question of crime, these factors must be taken into consideration.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22987
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boriharn_Si_front.pdf850.02 kBAdobe PDFView/Open
Boriharn_Si_ch1.pdf908.23 kBAdobe PDFView/Open
Boriharn_Si_ch2.pdf894.51 kBAdobe PDFView/Open
Boriharn_Si_ch3.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Boriharn_Si_ch4.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Boriharn_Si_ch5.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Boriharn_Si_back.pdf308.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.