Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23026
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทองอินทร์ วงศ์โสธร | - |
dc.contributor.advisor | ไพฑูรย์ สินสารัตน์ | - |
dc.contributor.author | ไพฑูรย์ กฤษณ์เพ็ชร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-01T17:48:47Z | - |
dc.date.available | 2012-11-01T17:48:47Z | - |
dc.date.issued | 2523 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23026 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการทำงานโดยทั่ว ๆไปและในองค์ประกอบด้านการเลื่อนตำแหน่ง นโยบายและการบริหารงาน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน ความรับผิดชอบ เงินเดือน และรายได้อื่นๆ สถานะทางสังคม การนิเทศงาน สวัสดิการ เงื่อนไขการทำงานและสภาพของาน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ที่มีต่อความพึงพอใจของการทำงานระหว่าง 2.1 อาจารย์ในวิทยาเขตหลักกับอาจารย์ในวิทยาเขตสาขา 2.2 อาจารย์ในวิทยาเขตสาขาที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางกับอาจารย์ในวิทยาเขตสาขาที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค 2.3 ระหว่างอาจารย์ในวิทยาเขตที่ตั้งอยู่ในส่วนกลาง 2.4 ระหว่างอาจารย์ในวิทยาเขตที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในการทำงานโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างประชากรคือ อาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทั้ง 8 วิทยาเขตคือ วิทยาเขตประสานมิตร วิทยาเขตปทุมวัน วิทยาเขตพลศึกษา วิทยาเขตบางเขน วิทยาเขตพิษณุโลก วิทยาเขตมหาสารคามและวิทยาเขตสงขลา ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มได้จำนวนตัวอย่าง 470 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 394 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 83.83 แบบสอบถามที่ใช้มีความเที่ยงตรง .88 ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ที-เทสต์ เอฟ- เทสต์ ค่าสหสัมพันธ์และค่าการถดถอยพหุคูณ สรุปผลการวิจัย 1. ความพึงพอใจในการทำงานโดยทั่วไปของอาจารย์อยู่ในระดับปานกลาง อาจารย์ในวิทยาเขตบางแสนมีความพึงพอใจในการทำงานสูงสุด รองลงมาคือ อาจารย์ในวิทยาเขตพิษณุโลก ส่วนอาจารย์ที่มีความพึงพอใจในการทำงานต่ำสุดคือ อาจารย์ในวิทยาเขตพลศึกษา 2. องค์ประกอบที่อาจารย์มีความพึงพอใจในการทำงานสูงสุดคือ ด้านความรับผิดชอบ รองลงมาคือ ด้านสถานะทางสังคมและต่ำสุดคือด้านสวัสดิการ 3. ความแตกต่างของความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์ เมื่อจำแนกอาจารย์ตามลักษณะของวิทยาเขต 3.1 อาจารย์ในวิทยาเขตหลักพึงพอใจสูงกว่าอาจารย์ในวิทยาเขตสาขาด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน ในขณะที่อาจารย์ในวิทยาเขตสาขามีความพึงพอใจในสวัสดิการและเงื่อนไขการทำงานสูงกว่าอาจารย์ในวิทยาเขตหลัก 3.2 อาจารย์ในวิทยาเขตสาขาที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคมีความพึงพอใจสูงกว่าอาจารย์ในวิทยาเขตสาขาที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางด้าน ความพึงพอใจในการทำงานโดยทั่วไป ด้านการเลื่อนตำแหน่ง ด้านความรับผิดชอบ ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์ ด้านฐานะทางสังคม ด้านสวัสดิการและด้านเงื่อนไขในการทำงาน 3.3 อาจารย์ในวิทยาเขตที่ตั้งอยู่ในส่วนกลาง มีความพึงพอใจในการทำงานแตกต่างกันในด้านการเลื่อนตำแหน่ง ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน และด้านเงื่อนไขในการทำงาน 3.4 อาจารย์ในวิทยาเขตที่ตั้งอยู่ส่วนภูมิภาค มีความพึงพอใจในการทำงานแตกต่างกันในด้านสวัสดิการ และด้านสภาพของงาน 3.5 มีความสัมพันธ์กันในทางบวกระหว่างความพึงพอใจในการทำงานโดยทั่วไปกับองค์ประกอบทุกด้าน แต่มีค่าสหสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำ ยกเว้นองค์ประกอบด้าน ความรับผิดชอบและด้านสถานะทางสังคม มีค่าสหสัมพันธ์อยู่ในระดับกลาง ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่มีค่าสหสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางได้แก่ การเลื่อนตำแหน่งกับสวัสดิการ นโยบายและการบริหารกับการนิเทศงาน ความรับผิดชอบกับสถานะทางสังคม การนิเทศงานกับเงื่อนไขการทำงานและสวัสดิการกับเงื่อนไขในการทำงาน 5. องค์ประกอบที่สามารถทำนายความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์ คือความรับผิดชอบสถานะทางสังคม และการเลื่อนตำแหน่ง ตามลำดับ | |
dc.description.abstractalternative | 1.To investigate overall job satisfaction and ten specific aspects of faction of the Srinakharinwirot University faculty members for advancement, institutional policy and administration, interpersonal relationships, responsibility, salary, social status, supervision, welfare, working condition, and working situation. 2. To study the opinions of the faculty members in terms of the above-mentioned by comparing the scores obtained by variables; 2.1 The faculty members in main campus and branch campuses. 2.2 The faculty members in central campuses and regional campuses. 2.3 The faculty members in central campuses. 2.4 The faculty members in regional campuses. Methodology : This inquiry is a survey study with the use of questionaires. Subjects were drawn by stratified sampling technique from all 8 campuses of Srinakharinwirot University, i.c. Prasarnjrd.tr, Patuiawan, Banglchen, Palasuksa, Bangseen,Pitsanuloke, Mahasaralcam and Songkhla. The total of 470 questionaires were distributed, and 394 or 83.83 percent were returned. The reliability of the questionaires was .88 . Various statistical methods were employed to analyse the data such as percentage, arithematic mean, standard diviation, t-test, F-test, pea- rson product-moment correlation and Stepwise multiple regression. Conclusions : 1. The overall job satisfaction of the faculty members in the study were moderate. The faculty staff of the Bangsean Campus had the highest job satisfaction while the faculty staff of Pitsanuloke Camp¬uses had the second highest.The lowest overall job satisfaction scores were those of the faculty members of the Palasuksa Campus. 2. The highest type of the ten specific aspects of job satis¬faction was responsibility, tt© ;second highest was status, while the lowest was welfare. 3. The differences in job satisfaction of the faculty staff were investigated in terms of the various types of campuses. The findings indicated that 3.1The faculty members of the main campus had a significantly higher job satisfaction for interpersonal relationships than those of the branch campuses on the contrary, the faculty members of the branch campuses exhibited higher degrees of job satisfaction for welfare and working condition. 3.2 Job satisfaction of the faculty members ill the regional campuses were significantly higher than those of the faculty members in the central campuses in the areas of the overall job satisfaction, advancoment , responsibility, salary, social status, welfare and working condition. 3.3 Among the central campuses there were significantly differences in job satisfaction of the faculty members different campuses in the areas of advancement, institutional policy and admin¬istration. interpersonal relationships and working condition. 3.4 Among the regional campuses, there were significantly differences in job satisfaction of the faculty members of different campuses in the areas of welfare and working situations. 4. There were slightly positive correlations between overall job satisfaction and all specific aspects except responsibility and social status in which cases the correlations were moderate. Moderate correlations were established between promotion and welfare, between policy and administration and supervision, between responsibility and social status, between supervision and working conditions, and between welfare and working conditions. 5. Responsibility, SocVa.1 status, and advancement were signi¬ficant predictors of overall job satisfaction. | |
dc.format.extent | 745032 bytes | - |
dc.format.extent | 866216 bytes | - |
dc.format.extent | 785732 bytes | - |
dc.format.extent | 391196 bytes | - |
dc.format.extent | 2212535 bytes | - |
dc.format.extent | 1126358 bytes | - |
dc.format.extent | 1912465 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ การเปรียบเทียบระหว่างอาจารย์ในวิทยาเขตหลักกับอาจารย์ในวิทยาเขตสาขา | en |
dc.title.alternative | Job satisfaction of faculty members of Srinakharinwirot University : comparison between main campus and branch campuses | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | อุดมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Paitoon_Kr_front.pdf | 727.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paitoon_Kr_ch1.pdf | 845.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paitoon_Kr_ch2.pdf | 767.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paitoon_Kr_ch3.pdf | 382.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paitoon_Kr_ch4.pdf | 2.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paitoon_Kr_ch5.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paitoon_Kr_back.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.