Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23073
Title: บริการอ้างอิงของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
Other Titles: Reference services of The National Archives
Authors: เฟื่องฟ้า คีรินทร์สกุนา
Advisors: เบ็ญจมาศ ตันตยาภรณ์
สรชัย พิศาลบุตร
Subjects: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
บริการสารสนเทศ
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษานโยบายและการดำเนินงานบริการอ้างอิงของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการใช้บริการอ้างอิงของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพื่อสำรวจ วิเคราะห์ ความต้องการ ทัศนคติของผู้ใช้ที่มีต่อบริการอ้างอิงของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพื่อเสนอแนะวิธีแก้ไข ปรับปรุงแก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ผู้วิจัยได้ใช้บริการอ้างอิงของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพื่อสำรวจ วิเคราะห์ ความต้องการ ทัศนคติของผู้ใช้ที่มีต่อบริการอ้างอิงของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพื่อเสนอแนะวิธีแก้ไข ปรับปรุงแก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีดำเนินการวิจัยโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการอ้างอิงของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และสร้างแบบสอบถามส่งให้แก่สมาชิกผู้ใช้บริการอ้างอิง และผู้ที่ควรจะใช้บริการอ้างอิงของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งได้แก่ผู้ที่ปฏิบัติงานในด้านที่เกี่ยวกับ รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ทั้งหมด 160 ชุด ได้รับแบบสอบถามคืน 188 ชุด คิดเป็นร้อยละ 92.50 ผู้วิจัยได้จำแนกข้อมูลจากแบบสอบถามเป็น 2 ตอน คือ ข้อมูลจากผู้ที่เคยใช้บริการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และข้อมูลจากผู้ที่ไม่เคยใช้บริการอ้างอิงของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่เคยใช้บริการอ้างอิงของหอจดหมายเหตุแห่งชาติตอบแบบสอบถามร้อยละ 56.76 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพครูอาจารย์ ร้อยละ 40.48 ปฏิบัติงานหรือศึกษาในด้านประวัติศาสตร์มากที่สุด คือ ร้อยละ 73.34 ได้รับคำแนะนำจากครูอาจารย์ให้มาใช้บริการร้อยละ 50.00 ใช้เพื่อจุดประสงค์ในการทำวิทยานิพนธ์ร้อยละ 38.79 ร้อยละ 47.62 ได้มาค้นคว้า 2-4 หัวข้อเรื่อง ค้นคว้าในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ร้อยละ 73.74 ใช้เวลา 1-3 เดือน ในการค้นแต่ละหัวข้อเรื่องร้อยละ 38.10 มาใช้บริการเมื่อมีเวลาว่างคิดเป็นร้อยละ 46.67 โดยเฉลี่ยวันละ 5 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 27.34 และใช้บริการในวันเสาร์ คือ ร้อยละ 19.49 เคยแนะนำให้ผู้อื่นมาใช้บริการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ร้อยละ 88.10 ในด้านความคิดเห็นโดยเฉลี่ยเกี่ยวกับขนาดของห้อง โต๊ะ เก้าอี้ และการตกแต่งภายในห้องค้นคว้ามีความเหมาะสมปานกลาง และเห็นว่าห้องค้นคว้ามีความสะอาดมากเช่นเดียวกับที่เห็นว่าอุณหภูมิและแสงสว่างภายในห้องค้นคว้ามีความเหมาะสมมาก ส่วนเสียงรบกวนมีน้อย มีเอกสารแนะนำการใช้บริการดีปานกลาง มีความสะดวกในการติดต่อขอใช้บริการมาก กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ และเวลาเปิด-ปิดบริการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติมีความเหมาะสมปานกลาง ส่วนนักจดหมายเหตุประจำห้องค้นคว้านั้นให้บริการดีมาก เอกสารที่มีอยู่สนองความต้องการในการค้นคว้าวิจัยดีปานกลาง เครื่องมือช่วยค้นอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าได้ปานกลาง และมีความเห็นว่า หอจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นประโยชน์ในฐานะเป็นแหล่งข้อมูลที่ให้ความรู้ที่มีคุณค่าต่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัยมาก และมีความพอใจบริการยืมเอกสารบริการถ่ายสำเนา บริการถ่ายรูป บริการห้องสมุดในห้องค้นคว้า กิจกรรมพิเศษ และบริการตอบคำถามปานกลาง นอกจากนี้ผู้ใช้ได้ชี้ถึงปัญหา อุปสรรค ความต้องการ และเสนอแนะให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับบริการอ้างอิงของหอจดหมายเหตุแห่งชาติในด้าน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ห้องค้นคว้า เอกสาร เครื่องมือช่วยค้น เจ้าหน้าที่ การถ่ายทำสำเนาเอกสาร และการทำไมโครฟิล์มห้องสมุดและอื่นๆ ผู้ที่ไม่เคยใช้บริการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ตอบแบบสอบถามร้อยละ 43.24 ส่วนใหญ่เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านรัฐศาสตร์ร้อยละ 31.25 ให้เหตุผลว่าไม่มีความจำเป็นต้องใช้ร้อยละ 30.19 และไม่เคยได้รับคำแนะนำจากใครให้มาใช้บริการร้อยละ 75.00 ร้อยละ 76.56 คิดว่าจะไปใช้บริการในอนาคต ร้อยละ 37.23 ค้นคว้าจากห้องสมุดของที่ทำงาน ข้อเสนอแนะที่สำคัญในการวิจัยครั้งนี้ คือ ควรดำเนินการเพื่อให้มีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการจดหมายเหตุขึ้น ควรสำรวจความต้องการ ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการทุก 5 ปี จัดทำคู่มือแนะนำการใช้บริการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ปรับปรุงเครื่องมือช่วยค้นที่มีอยู่และจัดทำเครื่องมือช่วยค้นชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ควรพิจารณานำเทคโนโลยีทางสารนิเทศเข้ามาใช้ ตลอดจนควรจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับจดหมายเหตุ
Other Abstract: The purposes of tills thesis were to study policies and procedures concerning reference services of the national Archives5 to study problems and obstacles in using reference services of the national Archives? to survey and analyze needs and attitudes of users J and to suggest the way to improve reference services of the National Archives, The methods of this research were to review printed materials and pertinent articles; to interview staff members of the National' Archives; and to distribute Cjuestioriaires to users and target users who. worked in the fields of public administration J political., science, history;, and economics. Of 160 questionaires, า48 copies or 92.50 peraent were returned. The obtained data were divided into two parts representing the answers from users and non-users of reference services being offered at the National Archives, Of all the 56,76 percent of the users’ completed questionaires., it can be concluded that 40,48 percent were faculty members J 78,34 percent worked or studied in the field of history; 50,00 percent were advised by faculty members to consult source raeterials at the National. Archives; 38.79 percent consulted the source materials in working 011 their theses and dissertations; 47.62 percent had made a search on 2-4 topics ; 73.74 percent looked for materials in history.; 38.10 percent took approximate time of 1-3 months working on each topic; 46.67 percent consulted source materials whenever there was free time; 27.34 percent spent 5 hours a day at the National Archives; 19,49 percent used research room on Saturday; 88.10 percent usually advised other to use the National Archives resources. User is attitudes concerning the research room were:, as follow : the size of the room and the furniture were moderatly satis¬factory; the cleanliness, the temperature, the light, and the quiet atmosphere were highly satisfactory. The guide to its holdings in a pamphlet form was moderately satisfactory. The application for a permit were highly satisfactory; the rules and regulations, and office hours were moderately satisfactory, The reference archivists were very helpful. Existing source materials were moderately supplied for research use. The finding aids were moderately helpful., the National Archives as and, information resource was highly beneficial, to research and reference use; and the lending,, reproduction services, microfilm services, photographic services, reference library,, special activities, and information services were moderately satisfactory. In addition,, the users expressed their problems, obstacles, and needs, and gave suggestions concerning rules and regulations, research room, archival .materials, finding aids, staff, reproduction services,, reference library, and others to-be improved by the National Archives, Of those who never used the reference services of the national Archives ; 43.24 percent answered the questionnaire, Of which: 31.25 per¬cent-worked in the field of political science. About 30.00 percent expressed that they load-no need to consult resource materials at the.. national Archives; 75.00 percent never received any, advice to use reference, services there ;76,56 percent expressed their willingness to' visit the national Archives in the future; 37.23 percent adequately consulted publications, in libraries of their own institutions: The important suggestions in this thesis were : the provision:, of; Archives Act; the assessment of users1 needs and attitudes at five years interval; the preparation of a guide to reference services at the National Archives; the revision of existing finding aids and the preparation : of other types of finding aids; the feasibility study on information', technology to be implemented at the National. Archives: and the production, of publications, promoting the general knowledge on the national Archives.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23073
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Feungfar_Ke_front.pdf641.92 kBAdobe PDFView/Open
Feungfar_Ke_ch1.pdf711.61 kBAdobe PDFView/Open
Feungfar_Ke_ch2.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Feungfar_Ke_ch3.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Feungfar_Ke_ch4.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Feungfar_Ke_back.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.