Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23078
Title: การเปรียบเทียบระยะการทุ่มน้ำหนักที่ได้จากผล ของการฝึกทักษะการทุ้มน้ำหนักเพียงอย่างเดียว กับการฝึกทักษะการทุ่มน้ำหนักควบคู่กับการสร้างความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อ
Other Titles: A comparision of shot put distance between the effects of shot put skill training only and shot put skill training with muscular strength training
Authors: ไพศาล โรจนวิภาต
Advisors: เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ทุ่มน้ำหนัก
สมรรถภาพทางกาย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบระยะของกลุ่มทุ่มน้ำหนักที่ได้จากการฝึกทักษะการทุ่มน้ำหนักเพียงอย่างเดียว กับการฝึกทักษะการทุ่มน้ำหนักควบคู่กับการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชายระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคนนทบุรี จำนวน 40 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่มๆ ละ 20 คน กลุ่มที่ 1 ฝึกทักษะการทุ่มน้ำหนักเพียงอย่างเดียว โดยใช้เวลาฝึกในวันอังคาร, วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ กลุ่มที่ 2 ฝึกทักษะการทุ่มน้ำหนัก ควบคู่กับการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ใช้เวลาฝึกในวันจันทร์, วันพุธ และวันศุกร์ และฝึกทักษะการทุ่มน้ำหนักในวันอังคาร, วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ รวมเวลาฝึกทั้งหมด 6 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฝึกได้ทดสอบเพื่อวัดระยะการทุ่มน้ำหนักและทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนนอกและขาของผู้เข้ารับการทดลองทั้งสองกลุ่ม และในระหว่างการฝึกแต่ละสัปดาห์ มีการทดสอบระยะการทุ่มน้ำหนักทุกวันเสาร์ นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างมัชฌิมาเลขคณิตของระยะทุ่มน้ำหนักและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยการทดสอบค่าที ผลปรากฏว่า การฝึกทักษะการทุ่มน้ำหนักควบคู่กับการฝึก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการฝึกทักษะการทุ่มน้ำหนักเพียงอย่างเดียวให้ผลต่อระยะทุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่า หลังการฝึกทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the shot put distance between the effects of shot put skill training and shot put skill training with muscular strength training. Forty subjects were randomly selected from male students of Technology and Vocational Education College, Nonthaburi Campus who were devided into two groups for training purpose. The first group f practiced only the shot put three days per week : Tuesday, Thursday and Saturday. The second group practiced muscular strength training- three days per week ะ Monday, Wednesday, Friday and practiced the shot put three days per week : Tuesday, Thursday and Saturday. They were trained for six week. At the begining of the training program and again at the end of the training all subjects were tested the shot put distance and muscular strength. Every Saturday during the program all subjects were tested the shot put distance. The obtained data were analyzed into means and standard deviations. Also, the t - test was employed to determine if there was any significant difference. The results showed that there were no significant differences of the shot put distance between the subjects who .practiced only shot put and those subjects who trained muscular strength with practiced the shot put at the .05 level. However, at the end of training there was a significant increase of muscular strength at the .01
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23078
ISBN: 9745660779
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paisal_Ro_front.pdf526.48 kBAdobe PDFView/Open
Paisal_Ro_ch1.pdf670.22 kBAdobe PDFView/Open
Paisal_Ro_ch2.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Paisal_Ro_ch3.pdf323.88 kBAdobe PDFView/Open
Paisal_Ro_ch4.pdf620.04 kBAdobe PDFView/Open
Paisal_Ro_ch5.pdf638.24 kBAdobe PDFView/Open
Paisal_Ro_back.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.