Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2309
Title: | การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหลังการรื้อถอนย้ายจากชุมชนใต้สะพาน |
Other Titles: | Way of life changing after relocation from under-bridge communities |
Authors: | สินีนาฏ วงศ์สวัสดิ์, 2510- |
Advisors: | ชวลิต นิตยะ กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chawalit.N@Chula.ac.th Kundoldibya.P@Chula.ac.th, Kundoldibya@hotmail.com |
Subjects: | ที่อยู่อาศัย ชุมชนแออัด--ไทย--กรุงเทพฯ คุณภาพชีวิต--ไทย--กรุงเทพฯ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | มติคณะรัฐมนตรี วันที่10 สิงหาคม 2536 ให้ดำเนินการโยกย้ายจัดหาที่อยู่ใหม่ให้กับผู้บุกรุกใต้สะพาน เพื่อแก้ไขปัญหาด้านกายภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนใต้สะพานให้ดีขึ้น ตามแนวทางการฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การย้ายไปอยู่ที่แห่งใหม่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้อยู่อาศัย ดังนั้นจึงจัดทำงานวิจัยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหลังการรื้อย้ายจากชุมชนใต้สะพาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความเป็นอยู่ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ของผู้ถูกรื้อย้ายจากชุมชนใต้สะพาน และศึกษาผลกระทบของการรื้อย้ายที่มีต่อการดำเนินชีวิต ของผู้ถูกรื้อย้ายจากชุมชนใต้สะพาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์ การสำรวจภาคสนามและการสังเกต โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้อยู่อาศัยใน 3 ชุมชนคือ ชุมชนประชาอุทิศ 76 ชุมชนอ่อนนุช 3 และชุมชนเพิ่มสิน-ออเงิน จำนวนรวม 81 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า การย้ายที่ตั้งของชุมชนบุกรุกใต้สะพาน ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของชาวชุมชนเปลี่ยนไป เนื่องจากการย้ายมาอยู่ที่แห่งใหม่ ห่างไกลจากแหล่งงานเดิม ทำให้ทั้ง 3 ชุมชนต้องเดินทางจากบ้านไปที่ทำงานไกลขึ้น ชาวชุมชนประชาอุทิศ 76 เดินทางจากบ้านไปที่ทำงานในระยะทาง 22.6 กม. ใช้เวลาในการเดินทางมากขึ้นเฉลี่ย 51 นาที และเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงขึ้นเฉลี่ย 42 บาทต่อวัน มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณ 7,011 บาท ในขณะที่ชุมชนอ่อนนุช 3 เดินทางจากบ้านไปที่ทำงานในระยะทาง 31 กม. ใช้เวลาในการเดินทางเฉลี่ย 52 นาที เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ย 31 บาท มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 5,748 บาท และชุมชนเพิ่มสิน-ออเงิน เดินทางจากบ้านไปที่ทำงานในระยะทาง 20.3 กม. ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 47 นาที เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ย 42 บาท มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 8,719 บาท การที่ต้องทำงานหนักขึ้น รายจ่ายเพิ่มขึ้นแต่รายได้ลดลง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอาชีพ อาชีพที่เกิดขึ้นใหม่ในชุมชนคือ อาชีพค้าขายโดยการเปิดร้านค้าในชุมชน ซึ่งให้ผลตอบแทนไม่มากนักและอาชีพขับรถแท็กซี่และจักรยานยนต์รับจ้าง ซึ่งให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ ที่ชาวชุมชนทำ สรุปได้ว่าทั้ง 3 ชุมชนประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจของผู้อยู่อาศัยในชุมชนคือ ปัจจัยด้านอาชีพ แหล่งงานและการเข้าถึง ทำให้โอกาสในการมีงานทำและศักยภาพในการพัฒนาต่างกัน ชุมชนเพิ่มสิน-ออเงิน มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจน้อยที่สุด รองลงมาชุมชนประชาอุทิศ 76 และชุมชนอ่อนนุช 3 มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจมากที่สุด จากปัญหาด้านเศรษฐกิจและความจำเป็นในการหาเลี้ยงชีพ ทำให้ความสัมพันธ์ภายในชุมชนแย่ลง มีลักษณะต่างคนต่างอยู่ ส่วนด้านกายภาพที่อยู่อาศัยพบว่า สภาพบ้านของทั้ง 3 ชุมชนดีขึ้นหลังการรื้อย้าย ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ หากประเมินความพึงพอใจของคนส่วนใหญ่ในชุมชนพบว่า มีความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่ปัจจุบัน มีความรู้สึกปลอดภัยและมั่นคงในการอยู่อาศัย แต่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจและแหล่งงาน และเมื่อพิจารณากลับไปถึงวัตถุประสงค์ของโครงการพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนยังไม่ดีขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นเพราะยังอยู่ในช่วงปรับตัวในที่อยู่อาศัยใหม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาดูแลและสนับสนุนให้ชาวชุมชนมีอาชีพและรายได้ เพื่อให้ชาวชุมชนสามารถอยู่อาศัยในชุมชนได้โดยไม่ไปบุกรุกที่อื่นต่อไป |
Other Abstract: | The Cabinet resolution, passed on 10th August 1993, concerned the relocation and preparation of new housing for the homeless in order to improve their sanitary conditions quality of life. Moving to new places affects rasident{174}s social life. This research is to study their social and economic status after relocation from slums underbridges. These individuals were interviewed, observed and photographed. 81 examples from three communities were randomly selected: the Prachaooutis 76 community, the Ornnuch 3 community and the Permsin-Orngen community respectively. The study finds that the relocation of these bridge communities changes the way of life of people because new houses are very far from workplaces. They have to take longer in their journey to work. Those who live in Prachaooutis 76 community travel approximately 22.6 km. further and 51 minutes longer from their houses to workplaces. They spend more money as much as -42 Baht per day in travelling to work whilst their household income is only 7,011 Baht. Dwellers from Ornnuch 3 community travel 31 km., taking about 52 minutes and spending 31 Baht per day. Their average income is 5,748 bath per household. In Permsin-Orngen community, people travel 20.3 km. from houses to workplace. It took 52 minutes, 31 Baht per day while their average income is 8,719 Baht per household. They work harder, but have less income and more expenditure. Therefore, they converted the front of their houses to small groceries eventhough there is only small return. Other careers are taxi drivers and motorcyclists, whose income is greater than others do. It could be concluded that these people are confronting the economic crisis. Factors affecting the economic status of people are career and workplace in general, which cause the differences between job opportunities and potential in improvement on each site. Ornnuch 3 is the most economically affected community. The second is the Prachaooutis 76 community and the third is the Permsin-Orngen community. Due to the longer working period to earn sufficient living for each family, they hardly have any time left to participate in community activities. They felt seperated from each other. After relocation, housing conditions are better inaccordance with the objective of the project. Most people are satisfied with the living conditions at present since they have more secure lives. However, they have economic problems and problems in the distance to workplace. Their quality of life is not improving. Related organizations should assist and support people in communities to improve their income and so they can live permanently in the communities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.พ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2309 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.326 |
ISBN: | 9741711468 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.326 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sineenart.pdf | 6.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.