Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23131
Title: | ปัจจัยที่จูงใจในการเลือกวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาเอก ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Motivating factors in selecting mathematics as a major subject of higher education students in Bangkok Metropolis |
Authors: | ประทีป ประพันธ์พจน์ |
Advisors: | ยุพิน พิพิธกุล |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่จูงใจในการเลือกเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาเอกของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 2. เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของปัจจัยที่จูงใจในการเลือกวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาเอกระหว่างนิสิตนักศึกษาสาขาการศึกษาและสาขาวิทยาศาสตร์ 3. เพื่อศึกษาถึงแนวทางในการเรียนการสอนวิชาเอกคณิตศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาและการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา 4. เพื่อศึกษาถึงทรรศนะของนิสิตนักศึกษา ที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาเอก ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยนิสิตนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย 3 แห่ง จำนวน 95 คน กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยนิสิตนักศึกษาคณะครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย 3 แห่ง จำนวน 128 คน กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยครู 4 แห่ง จำนวน 125 คน ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรแล้วรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. เกี่ยวกับปัจจัยที่จูงใจในการเลือกเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาเอก ปรากฏว่าปัจจัยที่มีค่ามัชฌิมเลขคณิตสูงสุดคือ คณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานความรู้และเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อในชั้นสูงขึ้นไป 2. เกี่ยวกับความแตกต่างของปัจจัยที่จูงใจในการเลือกเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาเอก ปรากฏว่า ค่ามัชฌิมเลขคณิตของปัจจัยที่จูงใจในการเลือกเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาเอกของทั้ง 3 กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อนำมาเปรียบเทียบความแตกต่างทีละคู่พบว่า กลุ่มที่ 1 กับกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 1 กับกลุ่มที่ 3 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนกลุ่มที่ 2 กับกลุ่มที่ 3 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. เกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาเอกคณิตศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา และการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา นิสิตนักศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม มีความเห็นว่า 3.1 สิ่งที่จะเป็นปัญหาต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาเอกคือ อาจารย์ผู้สอนอธิบายไม่ชัดเจนในชั่วโมงเรียน 3.2 คุณสมบัติของผู้ที่จะเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาเอกคือมีความขยันหมั่นเพียนในการทำแบบฝึกหัด 3.3 หลักสูตรวิชาเอกคณิตศาสตร์ใน สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ มีเนื้อหาเหมาะสมดีแล้ว 3.4 บัณฑิตทางด้านคณิตศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ มีคุณภาพดีพอสมควร 3.5 การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในปัจจุบันควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่านี้ 3.6 ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาขึ้นอยู่กับตัวนักเรียน 3.7 สิ่งที่จะเป็นอุปสรรคในการปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาคือครูไม่สนใจหาความรู้ใหม่ ๆ ทางคณิตศาสตร์ 3.8 วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เป็นพื้นฐานและใช้ประโยชน์ได้ในหลาย ๆ สาขาวิชา 4. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาในปัจจุบัน นิสิตนักศึกษาทั้ง 3 กลุ่มได้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้ คือ 4.1 ครูผู้สอนควรติดตามความก้าวหน้าของวิชาการทางด้านคณิตศาสตร์อยู่เสมอ 4.2 หลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาในปัจจุบันมีเนื้อหาค่อนข้างยาก บางเรื่องควรเรียนในระดับมหาวิทยาลัยจะเหมาะสมกว่า 4.3 กระบวนการของการวัดผลเป็นปัญหาในการสอนคณิตศาสตร์ เพราะทำให้ครูผู้สอนไม่สามารถสอนได้เต็มที่ตามความมุ่งหมายของหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา ครูผู้สอนควรมีความเป็นอิสระในการวัดผล 4.4 การใช้สื่อการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในปัจจุบันยังมีน้อยควรใช้สื่อการสอนให้มากกว่านี้ |
Other Abstract: | The purposes of the research were as follows : 1. To study motivating factors in selecting mathematics as a major subject of higher education students. 2. To compare motivating factors in selecting mathematics as a major subject of education students and science students. 3. To study the teaching – learning of mathematics as a major subject in higher education institutions and that in secondary schools. 4. To study the opinions of higher education students concerning teaching – learning mathematics in secondary schools. The samples were 348 undergraduate students who were divided into three groups 1. Group I 95 faculty of science students fron 3 universities. 2. Group II 128 faculty of education students from 3 universities. 3. Group III 125 undergraduate students from 4 teachers colleges. The questionnaire was administered by the samples then the data were analyzed by using arithmetic mean (X̅), standard deviation (S.D.), one-way analysis of variance and percentage. The results of this research were as follows : 1. Motivating factors in selecting mathematics as a major subject which had maximum arithmetic mean was mathematics was the basic knowledge and the essential tool for studying at higher levels. 2. There were differences among the three groups at the 0.01 level of significance. After comparing each pair, it was found that there were differences between group I and group II, also group I and group III at the 0.01 level of significance. But for between group II and group III there was no difference at the 0.01 level of significance. 3. The opinions of three groups of the undergraduate students concerning the teaching – learning of mathematics as a major subject in higher education institutions and that in secondary schools revealed as follows : 3.1 The problem of learning mathematics as a major subject was that the instructors’ explanation was not clear. 3.2 Diligence in doing mathematics exercises was the desirable qualification of mathematics majors. 3.3 Mathematics curriculum content as a major subject in higher education institutions was appropriate. 3.4 The qualification of mathematics degree’s graduates was moderate. 3.5 Teaching – learning mathematics in secondary schools needed improvement. 3.6 The mathematics learning achievement of secondary students depended on the students themselves. 3.7 The problem in improving teaching – learning mathematics in secondary schools was the teachers’ lack of interest in new knowledge of mathematics. 3.8 Mathematics was the basic knowledge of various subjects. 4. The recommendations of all the samples to improve teaching – learning mathematics in secondary schools were : 4.1 Teachers should constantly follow new knowledge in mathematics. 4.2 The content of mathematics secondary curriculum was rather hard to learn. Some topics should be offered at higher levels. 4.3 The measurement procedure was the problem of teaching mathematics. The teachers could not teach towards the aims of mathematics secondary curriculum. Teachers should have more freedom in measurement procedure. 4.4 The use of instructional materials in secondary schools was still insufficient. Teachers should use more instructional materials. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23131 |
ISBN: | 9745627909 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Parteep_Pr_front.pdf | 629.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Parteep_Pr_ch1.pdf | 580.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Parteep_Pr_ch2.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parteep_Pr_ch3.pdf | 397.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Parteep_Pr_ch4.pdf | 1.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Parteep_Pr_ch5.pdf | 799.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Parteep_Pr_back.pdf | 806.62 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.