Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23218
Title: คำมั่น
Other Titles: Promise
Authors: ภาวนา สุคันธวนิช
Advisors: พิเศษ เสตเสถึยร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: คำมั่น (กฎหมาย)
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยได้บัญญัติ เรื่อง “คำมั่น” ไว้ในมาตรา 362-365 454 526 572 ฯลฯ โดยได้กล่าวถึงลักษณะของคำมั่น การตอบรับคำมั่น การถอนคำมั่นไว้ในแต่ละมาตรา อย่างไรก็ดี ผู้ยกร่างกฎหมายไทยก็ได้บัญญัติคำเสนอไว้ในประมวลกฎหมายนี้ด้วยโดยได้บัญญัติไว้ในมาตรา 354-361 ซึ่งถ้ามองจากลักษณะภายนอกของคำทั้งสองแล้ว จะเห็นได้ว่าหาข้อแตกต่างกันยาก โดยเฉพาะผลบังคับทางกฎหมาย อย่างไรก็ดี คำดังกล่าวด้วยเหตุที่ได้บัญญัติไว้แยกออกต่างหากจากคำเสนอ ข้อแตกต่างจึงต้องมี ดังนั้นเพื่อที่จะวิเคราะห์คำมั่นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถึงการก่อกำเนิด ผลบังคับ และการสิ้นสุด ผู้เขียนจึงได้ทำการวิจัย โดยวิเคราะห์ถึงบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับคำมั่น คำเสนอและสัญญาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย แนวคำพิพากษาของศาลไทย ตลอดจนแนวความคิดของนักกฎหมายไทย และอ้างอิงหลักกฎหมายของต่างประเทศมาประกอบ ซึ่งจากการวิจัยพอสรุปได้ว่า 1) คำมั่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยนั้น มีรากฐานมาจากหลักกฎหมายเรื่องสัญญาฝ่ายเดียว (Unilateral Contract) 2) ลักษณะเฉพาะของคำมั่นดังที่ปรากฏในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะเห็นได้ว่า คำมั่นบางกรณีมีลักษณะทำนองเดียวกับคำเสนอ ได้แก่ คำมั่นโฆษณาจะให้รางวัลตามมาตรา 362 และคำมั่นบางกรณีมีลักษณะเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่เรียกว่า สัญญาฝ่ายเดียว (Unilateral Contract) ได้แก่ คำมั่นจะซื้อขาย ตามาตรา 454 3) คำมั่นจะซื้อจะขายมีลักษณะเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง เมื่อพิจารณาในแง่ที่ว่า คำมั่นเกิดขึ้นได้โดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งว่าจะซื้อหรือจะขายโดยมีคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งตกลงรับรู้ซึ่งคำมั่นนั้น ผลของการตกลงรับรู้ ก่อให้เกิดความผูกพันในลักษณะคล้ายสัญญาอย่างหนึ่ง ผลบังคับของคำมั่นดังกล่าวจึงต้องบังคับตามบททั่วไปในเรื่องผลแห่งหนี้ แต่ถ้าคำมั่นนั้นปราศจากการตกลงรับรู้จากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง คำมั่นนี้ย่อมมีผลเป็นเพียงคำเสนอธรรมดาเท่านั้น และผลบังคับย่อมเป็นไปตามกฎหมายลักษณะสัญญาว่าด้วยคำเสนอ 4) คำมั่นก่อให้เกิดความผูกพันในลักษณะที่เรียกว่าหนี้ได้ ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีนิติสัมพันธ์จากเจตนาที่แสดงออกในทางก่อหนี้ 5) ลักษณะเฉพาะของคำมั่นที่ต่างออกไปจากคำเสนออย่างเห็นได้ชัด คือ 5.1) คำมั่นบางชนิดกฎหมายกำหนดให้ต้องมีแบบ ได้แก่ คำมั่นจะให้ตามาตรา 526 5.2) ผลของคำมั่นบางชนิดซึ่งมิได้กำหนดระยะเวลาให้สนองรับความผูกพันจะยังคงมีอยู่แก่ผู้ทำคำมั่นตราบเท่าที่ผู้ทำคำมั่นจะได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นเสียก่อน ได้แก่ 5.2.1) คำมั่นโฆษณาจะให้รางวัลตามมาตรา 362 ผู้ทำคำมั่นจะผูกพันอยู่กับคำมั่นตราบจนกระทั่งผู้ทำคำมั่นจะได้ถอนคำมั่นโดยวิธีเดียวกับที่โฆษณา 5.2.2) คำมั่นจะซื้อหรือขาย ตามมาตรา 454 ผู้ทำคำมั่นจะผูกพันอยู่กับคำมั่นตราบจนกระทั่งผู้ทำคำมั่นจะได้บอกกล่าวไปยังคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งให้ตอบมาเป็นแน่นอนว่าจะทำการซื้อขายให้สำเร็จตลอดไปหรือไม่ 5.3) คำมั่นไม่มีบทบัญญัติสำหรับกรณีที่มีการสนองรับโดยมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อแก้ไข หรือมีข้อจำกัดดังเช่นคำเสนอ ดังนั้น การสนองรับคำมั่นโดยมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อแก้ไข หรือมีข้อจำกัดต่อคำมั่นบางชนิดไม่ทำให้คำมั่นสิ้นผลไปเพราะการสิ้นผลต้องกระทำด้วยวิธีบอกกล่าว กรณีที่มิได้มีการกำหนดเวลา คำมั่นชนิดนี้ ได้แก่ คำมั่นจะซื้อหรือจะขาย ดังนั้นเมื่อคำมั่นไม่มีสิ้นผล หากผู้สนองรับคำมั่นเกิดเปลี่ยนใจ จะสนองรับตามคำมั่นเดิมย่อมกระทำได้ และย่อมก่อให้เกิดความผูกพันทางสัญญา ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ 1) ผู้ยกร่างกฎหมายควรวางบทบัญญัติกฎหมายกรณีการก่อให้เกิดความผูกพันฐานคำมั่นไว้ให้ชัดเจน เพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในการตีความต่อไป 2) วางบทบัญญัติรับรองผลแห่งหนี้ กรณีมีการผิดคำมั่นว่าจะเรียกค่าเสียหายได้ในลักษณะใด 3) เคยมีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยถึงความผูกพันของคำมั่นจะซื้อขายไว้ว่าคำมั่นซื้อขายซึ่งไม่มีกำหนดเวลา ถ้าผู้ให้คำมั่นมิได้บอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งตอบตกลงให้สำเร็จไป คำมั่นนั้นก็ผูกพันอยู่ตลอดไป แม้จะเกิน 10 ปีแล้ว อีกฝ่ายก็ยังตอบตกลงให้ทำการซื้อขายได้ (คำพิพากษาฎีกา 1004/2485) จากคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว ผู้เขียนมีความเห็นเช่นเดียวกับคำพิพากษาฎีกาที่ว่าคำมั่นซื้อขายซึ่งไม่มีกำหนดเวลาถ้าผู้ให้คำมั่นมิได้บอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งตอบตกลงให้เสร็จไป คำมั่นนั้นก็ผูกพันอยู่ตลอดไป อย่างไรก็ตามความที่ศาลฎีกากล่าวว่า “คำมั่นนั้นก็ผูกพันอยู่ตลอดไป แม้จะเกิน 10 ปีแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งก็ยังตอบตกลงให้ทำการซื้อขายได้” ผู้เขียนเห็นว่า กำหนดอายุความกับระยะเวลาความผูกพันของคำมั่นเป็นคนละกรณีกันจึงไม่อาจนำมาเทียบเคียงกันได้ แต่เนื่องจากผลการวิจัยผู้เขียนเห็นว่าคำมั่นจะซื้อขายก่อให้เกิดหนี้ได้ ดังนั้นแม้คำมั่นจะมีผลผูกพันอยู่ตลอดไป คำมั่นดังกล่าวก็ควรจะอยู่ในบังคับของบัญญัติเรื่องอายุความด้วย
Other Abstract: The Thai Civil and Commercial Code prescribed a "promise" in section 362-365, 454, 526, 572, etc. and distinguished in each section the characters of a promise, an acceptance and a withdrawal of a promise. However, Thai draftsman also prescribed an "offer" in section 354-361 of this Code. We can hardly distinguish these two words from outer appearance Particularly about the enforcement of law. But as a promise is prescribed seperately from an offer, so there must be some differences. Thus, in order to make clearer the word promise from the formation, the enforcement to the termination of a promise, the writer is obliged to make a research by analysing the provisions of the Code concerning a promise, an offer and a contract, the Thai Supreme Court's decision, the concept of Law of Thai jurists and some references of foreign law. It can be concluded as follows : 1. A promise in Thai Civil and Commercial Code derived from the concept of Unilateral Contract. 2. Characteristic of a promise in the Civil and Commercial Code. In some case- a promise is like an offer as in section 362- an advertisement promise to give a reward - while in some case a promise is like a kind of contract called Unilateral Contract - as in section 454 - a promise of sale. 3. A promise of sale is a kind of contract if we consider that a promise is made when a party declared his intention to sell or to buy and the other party acknowledged the promise. The acknowledgement the other party made causes a binding as it does to contract. The binding force of a promise is executed under the juristic acts. But a promise without an acknowledgement from the other party is merely an offer and will be executed by the Code concerning contract on offer. 4. A promise can make a binding called obligation in the case that the Code prescribed a juristic relations from the expression of intention to create obligation. 5. Some specific characters of a promise which differ clearly from an offer are as follows ; 5.1 Some kind of promises is restricted by the law to have a form such as a promise for gift in section 526. 5 .2 The force of some promises which a period for acceptance is not specified is still binding the promisor until he has abade the law related to it such as 5.2.1 An advertisement promise to give a reward in section 362. The promisor is bound by his, promise until he withdraws his promise by the same means which he used for advertisement. 5 .2.2 A promise of sale in section 454. The promisor is bound by his promise until he notifies the other party to give a definite answer whether he will complete the sale or not. 5 .3 A promise has no provisions pertaining to an acceptance with additions, restrictions or other modifications as an offer does. Thus, the aforesaid acceptance to some promises does not terminate the promise because the termination of a promise must be made by way of notification when it does not specify the period of acceptance, e.g. a promise of sale. Since the promise is still valid, if the offeree changed his mind to accept the previous promise, he can do it and make that a contractual binding. Some suggestions derived from this research; 1.The draftsman should clearly prescribe formation of obligation as a promise in order to avoid the problem of interpretation . 2. The Code should acknowledge the effect of obligations and set forth the rule about what kind of claim to be made for breach of promise.3. The Supreme Court held that a promise of sale without specifying a period for acceptance and if the person who made the promise does not notify the other party to give the answer to complete the sale, the. promise of sale shall always have a binding effect and the other party can still give an answer to complete the sale even after the lapse of ten years. (Dika 1004/2485) According to the aforesaid Dika, the writer agrees to the decision stated that a promise of sale without specifying the period for acceptance and if the person who made the promise does not notify the other party to give the answer to complete the sale, the promise of sale shall always have a binding effect However, the statement "the promise of sale shall always have a binding effect and the other party can still give an answer to complete the sale even after the lapse of ten years, " the writer is of the opinion that the period of prescription and the period of the binding effect of a promise of sale are of different cases and cannot be compared with each other. But, due to the research, the writer is of the opinion that a promise of sale can constitute an obligation. Therefore, even though a promise of sale may always have the binding effect, the promise of sale should also be subjected to the provision of prescription.
Description: วิทยานิพนธ์นี้ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23218
ISBN: 9745624896
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pavana_Su_front.pdf738.43 kBAdobe PDFView/Open
Pavana_Su_ch1.pdf537.59 kBAdobe PDFView/Open
Pavana_Su_ch2.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Pavana_Su_ch3.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open
Pavana_Su_ch4.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Pavana_Su_ch5.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Pavana_Su_ch6.pdf411.19 kBAdobe PDFView/Open
Pavana_Su_back.pdf338.85 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.