Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23296
Title: ตัวประกอบที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนโครงการโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท ตามการรับรู้ของครู ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: Factors Related To Professional Efficiency Of Teachers In Schools Under The Community Secondary School Project As Perceived By Teachers, Administrators, And Educational Supervisors In The Northeastern Region.
Authors: เชวง ชื่นประโคน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ดิเรก ศรีสุโข
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะที่ส่งเสริมให้ครูมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และศึกษาตัวประกอบที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนโครงการโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท ตามการับรู้ของครู ผู้บริการและศึกษานิเทศก์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูและผู้บริหารในโรงเรียนโครงการโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท และศึกษานิเทศก์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 808 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะที่จะส่งเสริมให้ครูมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นรายข้อ และวิเคราะห์ตัวประกอบโดยสะกัดตัวประกอบด้วยวิธีตัวประกอบภาพพจน์และหมุนแกนตัวประกอบแบบออธอโกนอล ด้วยวิธีแวริแมกซ์ โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS-X ข้อค้นพบที่สำคัญของการวิจัยคือ 1. ครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ มีความคิดเห็นว่า ลักษณะสำคัญที่จะส่งเสริมให้ครูมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่อยู่ในระดับมาก ที่สำคัญได้แก่ การมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู มีความสนใจในการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่สอนมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่และอาชีพของตน ให้ความสนิมสนมเป็นกันเองไม่วางอำนาจถือว่าการสอนและอบรมนักเรียน สอยประชาชนและบริการชุมชนเป็นหน้าที่หลักของครูทุกคนในโรงเรียน รับผิดชอบในหน้าที่การงานของตนโดยปฏิบัติงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์และมีสุขภาพจิตดี ร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส 2. ตัวประกอบที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู พบว่า มี 5 ตัวที่สำคัญคือ ตัวประกอบด้านขวัญและความพึงพอใจในการทำงาน ด้านบุคลิกภาพ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านสวัสดิการและตัวประกอบด้านสุขภาพอนามัย โดยที่ตัวประกอบที่ 1 ถึง 5 เป็นตัวประกอบที่อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 32.82, 5.08, 2.10, 1.32 และ 0.86 ตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the characteristics which encourage professional efficiency and to study the factors related to the professional efficiency of teachers in schools under the Community Secondary School Project as perceived by teachers, administrators, and educational supervisors in the northeastern region of Thailand. The sample consisted of 808 teachers and administrators in schools under the Community Secondary School Project and educational supervisors in the northeastern region. The questionnaire on the characteristics which encourage professional efficiency were used to collect the data. The data were analyzed by the computer program SPSS-X. The arithmatic means and standard deviations for each item were presented. Factor analysis method was also used to find the factors underly the variablesby the Image Factoring Method and Varimax Rotation Method. The Findings were as follows:- 1. Teachers, administrators, and educational supervisors percieved that the characteristics that highly encourage professional efficiency were : having positive attitude towards teaching career, having knowledge and up-to-date knowladge of the subject matter, being honesty on duties and career, having good relationships with the others, seriously responsible for teaching and community services, having self responsibility by working successfully through the objectives, and having good mental health. 2. The major factors underlying the variables of professional efficiency percieved by the group of teachers, administrators, and educational supervisors were: Morale and Job Satisfaction Factor, Personality Factor, Human Relations Factor, Welfare Factor, and Hygeine Factor that accounted for 32.82, 5.08, 2.10, 1.32 and 0.86 percents of the total variance respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23296
ISBN: 9745047489
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaeeng_Ch_front.pdf353.54 kBAdobe PDFView/Open
Chaeeng_Ch_ch1.pdf350.52 kBAdobe PDFView/Open
Chaeeng_Ch_ch2.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Chaeeng_Ch_ch3.pdf390.2 kBAdobe PDFView/Open
Chaeeng_Ch_ch4.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Chaeeng_Ch_ch5.pdf641.52 kBAdobe PDFView/Open
Chaeeng_Ch_back.pdf930.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.