Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23392
Title: | การสร้างชุดการสอนสำหรับห้องเรียนแบบศูนย์การเรียนวิชา "ภูมิศาสตร์" ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา |
Other Titles: | Construction of learning center classroom instructional packages for the course "geography" in the certificate of education curriculum |
Authors: | ปรัชญา ใจสอาด |
Advisors: | ชัยยงค์ พรหมวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2519 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความมุ่งหมาย 1. เพื่อสร้างชุดการสอนสำหรับห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน วิชา “ภูมิศาสตร์” ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา 2. เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการสอนที่สร้างขึ้น การดำเนินการ ในขั้นแรกผู้วิจัยแบ่งเนื้อหาของวิชา ภูมิศาสตร์ ออกเป็น 15 หน่วย แล้วเลือกมาทำเป็นชุดการสอน 4 ชุดคือ ชุดการสอนที่ 1 สำหรับหน่วยที่ 6 เรื่อง “ขนาดที่ตั้งและภูมิประเทศของทวีปออสเตรเลีย” ชุดการสอนที่ 2 สำหรับหน่วยที่ 7 เรื่อง “ลักษณะภูมิอากาศในทวีปออสเตรเลีย” ชุดการสอนที่ 3 สำหรับหน่วยที่ 8 เรื่อง “ทรัพยากรและการประกอบอาชีพในออสเตรเลีย” ชุดการสอนที่ 4 สำหรับหน่วยที่ 9 เรื่อง “การคมนาคมของทวีปออสเตรเลีย” หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการสร้างชุดการสอนทั้ง 4 ชุด โดยเน้นการใช้สื่อประสม เสร็จแล้วก็นำไปทดลองหาประสิทธิภาพตามลำดับขั้นคือ ทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ทดสอบแบบกลุ่มเล็กและทดสอบภาคสนามกับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา ที่อยู่ชั้นปีที่ 1 ของวิทยาลัยครูเทพสตรี จังหวัดลพบุรี จำนวน 40 คน ในการทดสอบทุกแบบ มีขั้นตอนสำคัญ คือ (1) ให้นักศึกษาทำข้อทดสอบก่อนเรียน (2) ทำการประกอบกิจกรรมการเรียนและทำแบบฝึกหัดตามศูนย์กิจกรรมต่าง ๆ และ (3) เมื่อเรียนเสร็จแล้วมีการทดสอบหลังเรียน ข้อมูลที่ผู้วิจัยรวบรวมจากการทดสอบทุกครั้ง ได้นำมาหาประสิทธิภาพหรือมาตรฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้ก่อน 90/90 และหาความแตกต่างของความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยการทดลองค่าที (t-test) ผลการวิจัย ผลการวิจัยปรากฏว่า จากเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้ 90/90 นั้น ชุดการสอนสำหรับห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน ชุดการสอนที่ 1 ได้มาตรฐาน 94.2/86.5 ชุดการสอนที่ 2 ได้มาตรฐาน 92.7/87.8 ชุดการสอนที่ 3 ได้มาตรฐาน 95.7/88.3 และชุดการสอนที่ 4 ได้มาตรฐาน 92.8/89.0 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย ผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แสดงความแตกต่างของความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าเมื่อนักศึกษาเรียนจากชุดการสอนเหล่านี้แล้วมีความรู้เพิ่มขึ้น |
Other Abstract: | Purpose It was the purpose of this study to (1) construct four Geography instructional packages for learning center classroom in the Certificate of Education curriculum, and (2) determine the efficiency of the packages. Procedure The content of the course was first divided into fifteen units. Four of these units, namely Unit Number 6: “Size, Location and Physical Geogrphy of Australia”; Unit Number 7 : “Climate in Australia”; Unit Number 8 : “Ocupation and Natural Resources in Australia”; and Unit Number 9 : “Transportation and Communication in Australia” were then selected for instructional packages to be used in the learning center classroom. The completed instructional packages consist of various types of multi-media, both software and hardware. The investigator then conducted the tryouts of these four packages in three steps with first year students of Tepsatee Teachers’ College in Lopburi, Thailand, on (1) a one-to-one basis, (2) small groups, and (3) a field test in order to find their efficiency. In the tryout of each package, three steps were taken : (1) students did the pretest, (2) students conducted learning activities and exercises in various centers; and (3) students did the posttest. The data collected from each tryout were computed to determine the efficiency by comparing to the established criterion or standard at 90/90 level, with the significant difference at .01 level on the t-test. Result The result of this study indicated that, comparing to the set criterion at 90/90, unit numbers 6, 7, 8 and 9 were efficient at 94.2/86.5; 92.7/87.8; 95.9/88.3 ; and 92.8/89.0 respectively. The pretest and posttest scores, yielding a significant difference at the 0.01 level, indicated that the knowledge on Geography of student teachers using the packages was increased. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23392 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pradya_Ja_front.pdf | 542.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pradya_Ja_ch1.pdf | 851.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pradya_Ja_ch2.pdf | 2.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pradya_Ja_ch3.pdf | 355.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pradya_Ja_ch4.pdf | 478.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pradya_Ja_ch5.pdf | 411.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pradya_Ja_back.pdf | 3.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.