Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23398
Title: | บทบาททางการเมืองและการปกครองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2487) |
Other Titles: | The role of field marshal pibul songgram in Thai politics (A.D. 1932-1944) |
Authors: | เทียมจันทร์ อ่ำแหวว |
Advisors: | ชัยอนันต์ สมุทวณิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2521 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาบทบาททางการเมืองและการปกครองของผู้นำภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะผู้นำแต่ละคนมีพฤติกรรมและวิธีดำเนินนโยบายในการบริหารและการปกครองประเทศต่างกัน ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาบทบาททางการเมืองและการปกครองของจอมพล ป.พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2475-พ.ศ. 2487) เพื่อพิจารณาบทบาทของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ทางด้านการเมืองและการปกครอง รวมทั้งพิจารณาพฤติกรรมในการสร้างและรักษาอำนาจของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งมีผลให้จอมพล ป.พิบูลสงคราม สามารถดำรงอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเวลาต่อเนื่องกันถึง 6 ปี (พ.ศ. 2481-พ.ศ. 2487X) ในการศึกษาค้นคว้า ผู้เขียนได้ใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากเอกสารชั้นต้นและชั้นรอง รวมทั้งสัมภาษณ์บุคคลสำคัญแล้วดำเนินการวิจัยโดยแบ่งเนื้อหาความสำคัญตามลำดับเหตุการณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ถึงปี พ.ศ. 2487 ซึ่งเป็นการสิ้นสุดอำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยุคแรก จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะและคุณสมบัติเหมาะสมในการเป็นผู้นำ และเป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเข้มแข็งมีระเบียบวินัย นิยมใช้อำนาจเผด็จการในการบริหารและการปกครองประเทศ มีวิธีการ/สร้างและรักษาอำนาจโดยอาศัยกำลังหารและกำลังตำรวจ ใช้ลัทธิชาตินิยมเป็นเครื่องมือในการเร้าใจประชาชนให้เชื่อถือ และปฏิบัติตามผู้นำ มีความปรารถนาที่จะยกระดับฐานะของประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ผลงานของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ส่วนใหญ่เป็นงานสร้างชาติทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ดังจะเห็นได้จากการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศสและอังกฤษ การกำจัดอิทธิพลของชาวต่างประเทศออกจากระบบเศรษฐกิจของไทย ส่งเสริมให้คนไทยประกอบอาชีพให้เป็นหลักแหล่ง ปรับปรุงแก้ไขวัฒนธรรมไทยในด้านต่าง ๆ เนื่องจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้นำที่มีพื้นฐานมาจากทหาร ดังนั้นกรรมวิธีในการบริหารและการปกครองประเทศ จึงมีลักษณะเป็นแบบทหาร กล่าวคือ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเด็ดขาดในการกำหนดนโยบายหรือดำเนินนโยบายต่าง ๆ แต่เพียงผู้เดียว พฤติกรรมดังกล่าวมีผลให้พัฒนาการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยต้องหยุดชะงักลงในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ครองอำนาจอยู่ในระยะแรกดังได้กล่าวมาแล้ว |
Other Abstract: | The analysis of political leaders role in Thai politics after the 1932 Revolution is one of the important venues to a better understanding of Thai political history and government, since each governing alite had a different pattern of behavior. This Thesis, therefore, attempts to study the role of Field Marshal Pibul Songgram, the Prime Minester of Thailand during the years 1932-1944. The main purpose of the Thesis is to analyze Pibul’s behavior in acquiring his political power as well as his capability to retain the premiership for six consecutive years. To undertake this work the historical records, mainly the primary sources, and the interviews with the Field Marshal’s family and his associates were gathered. The study is divided chronologically from 1932 to 1944. Field Marshal Pibul Songgram was a charismatic leader. He was efficient, well disciplined, authoritarian and hard working. His rise to power and the maintenance of power were made possible through the effective manipulation of military and police forces. Field Marshal’s most important theme towards his political credit was Nationalist Ideology with himself as the role architect and imtigator. The dominant feature of the Field Marshal’s works was a process of Nation-building, politicaly, economically, and socially as seen from the demands on former Thai territories from both France and England, the elimination of foreign influence in the Thai economy, the promotion of occupations for the Thais, as well as a campaign to foster a true Thai culture. Due to his educational background, the Field Marshal’s style was military in orientation. His power was absolute and decisions made solely rested upon himself. This pattern of behavior resulted in a delay of political development process during his rein. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประวัติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23398 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
teamchun_am_front.pdf | 667.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
teamchun_am_ch1.pdf | 655.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
teamchun_am_ch2.pdf | 3.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
teamchun_am_ch3.pdf | 2.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
teamchun_am_ch4.pdf | 2.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
teamchun_am_ch5.pdf | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
teamchun_am_ch6.pdf | 3.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
teamchun_am_ch7.pdf | 2.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
teamchun_am_back.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.