Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23402
Title: ภาพลักษณ์หญิงโสด : นัยของการเมือง
Other Titles: Images of single women : the implications of politics
Authors: พริ้มวดี มีสมสาร
Advisors: ไชยันต์ ไชยพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Subjects: สตรีโสดในวรรณกรรม -- แง่การเมือง
ความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิงในวรรณกรรม -- แง่การเมือง
สตรีในวรรณกรรม -- แง่การเมือง
บุรุษในวรรณกรรม -- แง่การเมือง
สตรีในโทรทัศน์ -- แง่การเมือง
บุรุษในโทรทัศน์ -- แง่การเมือง
สื่อมวลชน -- แง่การเมือง
Single women in literature -- Political aspects
Man-woman relationships in literature -- Political aspects
Women in literature -- Political aspects
Men in literature -- Political aspects
Women on television -- Political aspects
Men on television -- Political aspects
Mass media -- Political aspects
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ และบทละครโทรทัศน์ โดยเลือกศึกษาจากบทละครโทรทัศน์รวมทั้งสิ้น 39 เรื่อง มีวัตถุประสงค์ที่จะ เสนอความซับซ้อนของปัญหาความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเพศ และอิทธิพลของสื่อประเภทละคร โทรทัศน์ในด้านการถ่ายทอดอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ ซึ่งนำไปสู่ความเหนือกว่าของผู้ชายและความเป็น รองของผู้หญิง ผลการศึกษาบทละครโทรทัศน์ทั้ง 39 เรื่องพบว่า การนำเสนอภาพลักษณ์ของอัตลักษณ์ความ เป็นหญิง เป็นการนำเสนอที่เต็มไปด้วยอคติทางเพศ ที่เป็นผลผลิตอันเกิดจากอิทธิพลของอุดมการณ์ ชายเป็นใหญ่ ซึ่งส่งผลต่อการให้คุณค่าและความหมายผู้หญิงและความเป็นหญิงในแง่ลบ และจากแบ่ง กรอบการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ภาพลักษณ์ของความเป็นผู้หญิง บทบาทความเป็นภรรยาและ มารดา และภาพลักษณ์ของหญิงโสด โดยกรอบทั้ง 3 ส่วนที่ผู้เขียนศึกษาได้แสดงให้เห็นการถูกกดขี่ และการตกเป็นรองของผู้หญิง ผ่านวาทกรรมที่ถูกผลิตขึ้นภายใต้วิธีคิดของอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ นอกจากนั้น ยังพบว่าปฏิบัติการของอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่เต็มไปด้วยความซับซ้อน โดยเฉพาะการ ทำให้ละครโทรทัศน์ ที่น่าจะเป็นสื่อที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของผู้หญิงกลับกลายเป็นเครื่องมือที่ นำไปสู่การปกป้องรักษาและธำรงไว้ซึ่งอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่
Other Abstract: This research aims to study the influence of patriarchalism in television serials. The total amount of selected television serials are 39 copies. The objective of this research is to study the complexity of sexual power relation and the reproduction of patriarchalism through television serials pertaining to male superiority and female inferiority. This research findings are as follows; while television serials represent the images of feminine identity which imply sexual biases as product of patriarchy. These images affect the system of meanings and values of female and femininity. With regard to research framework, the representation of images of feminine identity is categorized into images of feminine identity, roles of wife and mather, and images of single women. These reflect the discursive struggling as subordination and inferiority of femininity. Besides the complexity of patriarchal practices made television serials, as media for women's consumptions, be the tools for subordinating women.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23402
ISBN: 9741743653
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Primwadee_me_front.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Primwadee_me_ch1.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
Primwadee_me_ch2.pdf25.55 MBAdobe PDFView/Open
Primwadee_me_ch3.pdf27.39 MBAdobe PDFView/Open
Primwadee_me_ch4.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open
Primwadee_me_back.pdf17.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.