Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23426
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรวัฒน์ วิรยศิริ-
dc.contributor.authorสถิตย์ ศรีวิชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2012-11-08T08:30:09Z-
dc.date.available2012-11-08T08:30:09Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23426-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractจากกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องอาคารจอดรถยนต์ พ.ศ. 2544 มีการกำหนดจำนวนที่รอดรถยนต์ในอาคารแต่ละประเภท ซึ่งอาคารขนาดใหญ่พิเศษ โดยคิดเป็นสัดส่วนจากพื้นที่หรือจำนวนที่กำหนดจากหน่วยการใช้งาน (Unit) จากการสังเกตพบว่าการใช้ที่จอดรถยนต์ในอาคารขนาดใหญ่พิเศษ แต่ละช่วงเวลามีการใช้ที่จอดรถยนต์ที่แตกต่างกัน ในช่วงบางเวลาที่มีความต้องการของผู้ใช้บริการจำนวนมาก หรือบางเวลามีผู้ใช้น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนที่จอดรถยนต์ที่มีอยู่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาจำนวนที่จอดรถยนต์ในอาคารขนาดใหญ่พิเศษในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และศึกษาสภาพการใช้ที่จอดรถยนต์ โดยศึกษาข้อพิจารณา ลักษณะการใช้เพื่อเก็บข้อมูลจากการสำรวจอาคารกรณีศึกษาและสัมภาษณ์จากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ใช้บริการที่จอดรถยนต์ พนักงานในพื้นที่จอดรถยนต์ และผู้ดูแลการจัดการที่จอดรถยนต์ เพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดจำนวน และสภาพการใช้ที่จอดรถยนต์ในอาคารขนาดใหญ่พิเศษ จากการศึกษาอาคารกรณีศึกษาอาคารขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน 5 แห่ง ที่ได้รับอนุญาตในการก่อสร้างและเปิดการใช้งานในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่ามีพฤติกรรมการใช้ จำนวนที่กำหนดจากหน่วยการใช้งานต่อจำนวนที่จอดรถยนต์ ความหนาแน่นจำนวนวันและช่วงเวลา และจากการสำรวจความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการและประเมินสภาพการใช้ที่จอดรถยนต์พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก จึงสรุปได้ว่าจำนวนที่จอดรถยนต์ในอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในปัจจุบัน มีจำนวนเพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งปัญหาในการใช้งานไม่เพียงพอนั้นเกิดจากพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ที่เข้ามาใช้บริการในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดความหนาแน่นมาก และความหนาแน่นน้อยในช่วงเวลาที่ต่างกันของที่จอดรถยนต์ ถึงอย่างไรในสภาพที่จอดรถยนต์ในปัจจุบันมีจำนวนรองรับรถยนต์ มากกว่าการออกแบบขออนุญาตก่อสร้าง ซึ่งเกิดจากการจอดรถยนต์แบบซ้อนคันบนเส้นทางเดินรถยนต์ การจอดแบบซ้อนคันนั้นจะส่งผลถึงขนาดช่องเส้นทางเดินรถยนต์จะแคบลงจากตัวเลขกฎหมายที่กำหนด รวมถึงการบริหารจัดการที่จอดรถยนต์มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่การใช้งานที่จอดรถยนต์เพื่อผลประโยชน์ร่วม ส่งผลให้สภาพการใช้งานที่จอดรถยนต์นั้นมีประสิทธิภาพในการใช้งานลดน้อยลงไปen
dc.description.abstractalternativeThe 7th issue of the ministerial regulation (B.E. 2517) set according to the Building Construction Control Act (B.E. 2479) and the Bangkok Metropolis Administration regulations regarding parking garages (B.E. 2544) stipulate the number of parking spaces in each type of building, especially extra large ones. This number is calculated according to the proportion of the area or the number of units to be used. It was observed that the use of parking spaces in extra large buildings varies with different time periods. During certain periods, there is more demand and much less during other periods, measured by the number of spaces available. This object of this research is to study the number of parking spaces in extra large buildings at present in relation to the relevant laws, as well as study the utilization of the parking spaces. Points to consider regarding the use were studied to collect data from a survey of the buildings in the case study and interviews with those concerned, namely, parking space users, parking space attendants, and parking space managers. The data was then analyzed, and conclusions were made regarding the stipulation of the number of parking spaces in extra large buildings and their utilization. It has been concluded that the number of parking spaces in the large buildings at present is sufficient. The problem, however, of lack of availability results from the users’ behavior as they need the parking spaces at different time periods, resulting in the parking area being more or less congested at different times. However, the parking areas in the present conditions can support a larger number of vehicles than that specified in the design submitted for the construction permit. This was a result of double parking in the allocated spaces and making the lane narrower than stipulated by law. Management has also modified parts of the parking areas for other kinds of benefits, resulting in a less efficient utilization of the parking areas.en
dc.format.extent5860813 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1874-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectที่จอดรถ -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectอาคารที่จอดรถ -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectที่จอดรถ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยen
dc.subjectอาคารที่จอดรถ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยen
dc.subjectParking lots -- Thailand -- Bangkoken
dc.subjectPark buildings -- Thailand -- Bangkoken
dc.subjectParking lots -- Law and legislation -- Thailanden
dc.subjectPark buildings -- Law and legislation -- Thailanden
dc.titleจำนวนและสภาพการใช้ที่จอดรถยนต์ในอาคารขนาดใหญ่พิเศษ : กรณีศึกษาอาคาร 5 หลัง ในพื้นที่เขตปทุมวันen
dc.title.alternativeQuantity and utilization of parking in extra large buildings : case study 5 buildings in Pathumwan areaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTraiwat.V@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1874-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
satit_sr.pdf5.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.