Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23428
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รัตนา ตุงคสวัสดิ์ | |
dc.contributor.author | ทัศนีย์ ใจซื่อ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-08T08:38:48Z | |
dc.date.available | 2012-11-08T08:38:48Z | |
dc.date.issued | 2525 | |
dc.identifier.isbn | 9745616826 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23428 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดแผนการเรียนวิชาอาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาความสอดคล้องของการจัดแผนการเรียนวิชาอาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกับความต้องการของนักเรียน วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยตัวอย่างประชากร 2 กลุ่ม คือ ผู้บริหารโรงเรียน ได้แก่ ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าหมวดวิชาอาชีพ จำนวน 62 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม.5) ที่เลือกเรียนตามแผนการเรียนวิชาอาชีพจำนวน 350 คน รวม 412 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เปิดสอนแผนการเรียนวิชาอาชีพมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2524 จำนน 31 โรง ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ แบบปลายเปิด และแบบมาตราส่วนประเมินค่า แบ่งเป็น 2 ชุด คือ ชุดแรก เป็นแบบสอบถามผู้บริหาร ถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบ สภาพการดำเนินงานจัดแผนการเรียนวิชาชีพของโรงเรียน ปัญหาการจัดแผนการเรียนวิชาอาชีพ รวมทั้งแนวทางในการแก้ปัญหาบางประการ ชุดที่สอง เป็นแบบสอบถามนักเรียน ถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบ การเลือกและปัญหาการเลือกแผนการเรียนวิชาอาชีพ รวมทั้งความคิดเห็นที่มีต่อการจัดแผนการเรียนวิชาอาชีพตามสภาพที่เป็นจริงในโรงเรียน และที่นักเรียนต้องการ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที ผลการวิจัย 1. สภาพการจัดแผนการเรียนวิชาอาชีพของโรงเรียน โรงเรียนทุกโรงเปิดสอนแผนการเรียนวิชาอาชีพ โดยพิจารณาจากทรัพยากรที่โรงเรียนมีอยู่ คือ ครู เครื่องมืออุปกรณ์ เป็นหลัก แผนการเรียนวิชาอาชีพที่โรงเรียนส่วนมากเปิดสอน คือ พาณิชยกรรม รองลงมา คือ คหกรรม และจัดแผนการเรียนตามแบบอย่างที่ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษาจัดไว้ โรงเรียนส่วนมากจัดสอนวิชาอาชีพเฉพาะภายในโรงเรียนเท่านั้น อย่างไรก็ตามโรงเรียนส่วนมากเห็นถึงความจำเป็นในการพานักเรียนออกไปฝึกงานกับสถานฝึกงานอาชีพ แต่ต้องประสบกับอุปสรรคหลายประการจึงไม่สามารถพานักเรียนไปฝึกงานกับสถานฝึกงานอาชีพได้ 2. ปัญหาการจัดแผนการเรียนวิชาอาชีพ ปรากฏว่า เรื่องที่มีปัญหามาก ได้แก่ เรื่องเอกสารหลักสูตรและคู่มือมีไม่เพียงพอ และได้รับจากหน่วยงานล่าช้าเกินไป การขาดความพร้อมในเรื่องโรงฝึกงานหรือห้องปฏิบัติการ เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์มีไม่เพียงพอ ครูสอนวิชาอาชีพมีไม่เพียงพอ นักเรียนขัดสนค่าใช้จ่ายเพราะต้องลงทุนสูง และมีปัญหามากในเรื่องสถานฝึกงานอาชีพ 3. การเลือกและปัญหาการเลือกเรียนตามแผนการเรียนวิชาอาชีพของนักเรียน ปรากฏว่า นักเรียนเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจมากที่สุด รองลงไปนักเรียนไม่มีโอกาสเลือก เพราะมาสมัครเข้าเรียนทีหลังโรงเรียนจึงเป็นผู้จัดให้ สำหรับปัญหาในการเลือกเรียนนี้ มีนักเรียนร้อยละ 45.14 มีปัญหาในการเลือกโดยให้เหตุผลว่า โรงเรียนเปิดให้เลือกน้อยแผน ทำให้เลือกได้ไม่ตรงกับความสนใจ และไม่ทราบว่าตนเหมาะสมกับวิชาอาชีพใด และจากผลการสำรวจความต้องการในการเรียนวิชาอาชีพ ปรากฏว่า นักเรียนต้องการเรียนแผนการเรียนวิชาเกษตรกรรมมากที่สุด รองลงมา คือ วิชาช่างอุตสาหกรรม ซึ่งไม่สอดคล้องกับที่โรงเรียนจัดให้นักเรียนได้เรียน 4. ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดแผนการเรียนวิชาอาชีพระหว่างสภาพที่เป็นจริงในโรงเรียนกับความต้องการของนักเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ในทุกด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านครูวิชาอาชีพ ด้านการแนะแนวและบริการ ด้านเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์และสถานฝึกงานอาชีพ แสดงว่าการจัดแผนการเรียนวิชาอาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ไม่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน โดยที่ระดับความต้องการของนักเรียนสูงกว่าสภาพที่ทางโรงเรียนจัดให้แก่นักเรียน | |
dc.description.abstractalternative | Purpose of the study: The purposes of this study were (1) to study the status and problems in the management of vocational programs in the upper secondary schools under the auspices of the Department of General Education in Bangkok Metropolis and (2) to study the relevancy between the management of the programs and the students’ needs. Procedures : The samples used in this study were 62 school administrators 31 Assistant Heads of Academic Division and 31 Heads of the Vocational Programs, and 350 Mathayom five students studying vocational programs. All were from upper secondary schools under the auspices of the Department of General Education in Bangkok Metropolis. Two sets of multiple – choice, open – ended and rating – scale questionnaires were used for collecting data. One set of the questionnaires was used for gathering data from the administrators concerning their personal status, ways in managing the programs, problems and their solutions. Another set of the questionnaires was used to ask students about their personal status, ways in choosing their programs and problems, their opinions about the management of the programs in schools and their expectations. The data were then analyzed by means of percentages, means, standard deviations and t-test. Results: The main findings of the study were the following: 1. Provision of vocational programs of all schools was based upon the available resources such as teachers, tools, and teaching aids. The most popular programs available in most schools were Commercial Arts and the second rank was Home Economics. All schools managed the programs according to patterns provided by the Supervisory Unit of the Department. Most schools operated their vocational courses only within their schools. Although most schools realized the importance of vocational training in the vocational training institutions, they could not manage to do it because of many problems. 2. The main problems in managing the programs were insufficient number of curriculum texts and manuals, the delay in distributing those texts and manuals, insufficient facilities in workshops and laboratories, insufficient number of tools, teaching-aids, and vocational teachers, high cost on the part of students, and especially, lacking the vocational training institutions. 3. Most of the students chose their programs mainly according to their attitudes and interests. However, the schools chose the programs for those who enrolled late. It was found that 45.14% of all the students had problems in choosing their programs because the very limitited number of programs available did not suit their needs, and they themselves did not know exactly what vocations would suit them most. The majority of students would like to learn Agricultural Science or, ranked in the second priority, Industrial Engineering. This was different from what schools had arranged for them. 4. The difference between the students’ opinions about the management of the existing programs and their expectations was significant in all aspects (p=.01) – curriculum, teaching and learning, vocational teaches, school guidance and service, tools, teaching-aids and the vocational training institutions. This indicated that the management of the vocational programs in the upper secondary schools under the auspices of the Department of General Education in Bangkok Metropolis did not suit the students’ needs. All the learning conditions available were lower than their expectations. | |
dc.format.extent | 774645 bytes | |
dc.format.extent | 909055 bytes | |
dc.format.extent | 2651564 bytes | |
dc.format.extent | 626687 bytes | |
dc.format.extent | 2090687 bytes | |
dc.format.extent | 1478533 bytes | |
dc.format.extent | 2168558 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ปัญหาการจัดแผนการเรียนวิชาอาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Problems in the management of vocational programs in the upper secondary schools under the auspices of the department of general education in Bangkok Metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สารัตถศึกษา | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tassanee_Ja_front.pdf | 756.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tassanee_Ja_ch1.pdf | 887.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tassanee_Ja_ch2.pdf | 2.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tassanee_Ja_ch3.pdf | 612 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tassanee_Ja_ch4.pdf | 2.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tassanee_Ja_ch5.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tassanee_Ja_back.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.