Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23437
Title: จักรพรรดิราชย์ในคติอินเดีย
Other Titles: Chakravartin Kingship
Authors: ทัศนีย์ สินสกุล
Advisors: จิรายุ นพวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาระบอบการปกครองของพระจักรพรรดิพระราชาในอุดมคติของอินเดียจากวรรณคดีบาลีและวรรณคดีสันสกฤต การศึกษาเรื่องราวของพระจักรพรรดิ คือการศึกษาอุดมคติสูงสุดของชนวรรณะกษัตริย์ อันได้แก่การบำเพ็ญหน้าที่ในด้านการปกครองประเทศ ไทยเราได้รับอิทธิพลเรื่องพระจักรพรรดิมาตั้งแต่เริ่มสร้างบ้านเมือง หลักฐานในเรื่องนี้จะเห็นได้จากความเชื่อเรื่องพระจักรพรรดิและรัตนะของพระจักรพรรดิที่มีกล่าวไว้ในตำนานและพงศาวดารต่าง ๆ แม้ในไตรภูมิพระร่วง (หรือเตภูมิกถา) ซึ่งเป็นวรรณคดีเล่มแรกของไทย ก็มีเรื่องราวของพระจักรพรรดิ ในวรรณคดีไทยสมัยต่อมาที่สรรเสริญพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นวีรบุรุษของชาติ กวีก็มักจะถวายพระเกียรติยศให้พระองค์เป็นพระจักรพรรดิ วิทยานิพนธ์เรื่องนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะค้นคว้าแหล่งที่มาของคติเรื่องพระจักรพรรดิจากหลักฐานดั้งเดิม และเพื่อศึกษาระบอบการปกครองของผู้นำในอุดมคติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในสมัยโบราณว่าเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุด เนื้อเรื่องของวิทยานิพนธ์แบ่งออกเป็น 11 บท คือ บทที่ 1 เป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์และขอบเขตของการวิจัย ประโยชน์ที่จะได้จากการวิจัยนี้ และวิธีดำเนินการวิจัย บทที่ 2 กล่าวถึงการปกครองระบอบราชาธิปไตย และวิวัฒนาการของการปกครองระบอบราชาธิปไตย บทที่ 3 คำที่มีความหมายว่าจักรพรรดิ บทที่ 4 พระนามพระจักรพรรดิ บทที่ 5 คุณลักษณะของพระจักรพรรดิ บทที่ 6 กล่าวถึงจักรพรรดิวัตร ราชธรรม และจักรพรรดิวัตรในวรรณคดีไทย บทที่ 7 กล่าวถึงจักรพรรดิรัตนะ บทที่ 8 ดินแดนของพระจักรพรรดิ โลก ทวีป และภารตวรรษ บทที่ 9 สภาพบ้านเมืองสมัยพระจักรพรรดิ บทที่ 10 พระจักรพรรดิในวรรณคดีไทย บทที่ 11 เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะ สาระสำคัญของวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ อยู่ที่การมุ่งเสนอระบอบการปกครองซึ่งมีหลักศีลธรรมและจริยธรรมเป็นรากฐาน และมุ่งศึกษาผู้นำในอุดมคติ ผู้พิชิตโลกด้วยคุณธรรมผู้พร้อมที่จะพลีพระองค์และเสียสละผลประโยชน์ทุกประการเพื่อสวัสดิภาพของชาวโลกทั้งมวล
Other Abstract: The aim and object of the present thesis are to study the concept and practice of Chakravartin Kingship as found in Pali and Sanskrit literature. Chakravartin Kingship was the ideal system of administration originally expounded and practiced in ancient India. The idea, along with Hindu and Buddhist culture, spread to many parts of the world including Siam. That the Thais in Siam have been influenced by the concept of Chakravartin Kingship from the very beginning of their corporate life in the land now known as Thailand, can be seen in many of our ancient books and chronicles. The Tri Bhum Phra Ruang (or TE BHUMI KATHA), one of the earliest literary works of the Thais, bears ample evidence to this fact. Right through our history we have writings, both in verse and prose, extolling the virtues of Chakravartin Kings. As a matter of fact many of our popular kings and rulers have been referred to by the little of “Chakrapat” which is the Thai derivation of the Sanskrit “Cakravartin”.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาตะวันออก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23437
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thasanee_Si_front.pdf539.89 kBAdobe PDFView/Open
Thasanee_Si_ch1.pdf331.49 kBAdobe PDFView/Open
Thasanee_Si_ch2.pdf767.57 kBAdobe PDFView/Open
Thasanee_Si_ch3.pdf498.03 kBAdobe PDFView/Open
Thasanee_Si_ch4.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Thasanee_Si_ch5.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Thasanee_Si_ch6.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Thasanee_Si_ch7.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Thasanee_Si_ch8.pdf719.5 kBAdobe PDFView/Open
Thasanee_Si_ch9.pdf632.7 kBAdobe PDFView/Open
Thasanee_Si_ch10.pdf486.13 kBAdobe PDFView/Open
Thasanee_Si_ch11.pdf378.94 kBAdobe PDFView/Open
Thasanee_Si_back.pdf455.86 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.