Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23446
Title: การสื่อสาร “วิกฤตอัตลักษณ์” ในนวนิยายของ ฮารูกิ มูราคามิ และเรื่องสั้นแนวหลังสมัยใหม่ของไทย
Other Titles: Communicating “crisis of identity” in Haruki Murakami’s novels and in postmodern Thai short stories
Authors: วัชรี เกวลกุล
Advisors: ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Thiranan.A@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสาร
อัตลักษณ์ในวรรณกรรม
นวนิยายญี่ปุ่น
เรื่องสั้นไทย
โพสต์โมเดิร์นนิสม์ (วรรณกรรม)
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปลักษณ์การเล่าเรื่องในนวนิยายของ ฮารูกิ มูราคามิ และศึกษาสหบทการสื่อสาร “วิกฤตอัตลักษณ์” ในนวนิยายของ ฮารูกิ มูราคามิ ร่วมกับเรื่องสั้นแนวหลังสมัยใหม่ ของกลุ่มนักเขียนไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาตัวบทนวนิยายจำนวน 10 เรื่องของ ฮารูกิ มูราคามิ ในฉบับภาษาไทย ได้แก่ สดับลมขับขาน, พินบอล,1973, แกะรอยแกะดาว, แดนฝันปลาย ขอบฟ้า, ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย, เริงระบำแดนสนธยา, การปรากฏตัวของหญิงสาวในคืนฝนตก, บันทึกนกไขลาน, คาฟกา วิฬาร นาคาตะ, ราตรีมหัศจรรย์ และเรื่องสั้นแนวหลังสมัยใหม่ของนักเขียนไทยจำนวน 3 คน ได้แก่ อนุสรณ์ ติปยานนท์, ปราบดา หยุ่น และ ฟ้า พูลวรลักษณ์ ที่เสนอวิกฤตอัตลักษณ์เป็นแก่นเรื่องหลัก ร่วมกับการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้อ่านชาวไทยที่เป็นแฟนหนังสือของมูราคามิ ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปลักษณ์การเล่าเรื่องในนวนิยายของมูราคามิ เสนอกลุ่มตัวละครแบบฉบับเฉพาะตัวผู้เขียนอ้างอิงมิติความสัมพันธ์กับฉาก เพื่อผูกโครงเรื่องการหลบหนีจากอัตลักษณ์อันบกพร่องของตัวเอกชาย ตัวละครสาวรุ่น และตัวละครผู้ใกล้ชิดในพื้นที่ ‘บ้าน’ ภายใต้อิทธิพลจาก ‘บริบททางสังคม’ ของศัตรูชาย เข้าสู่ ‘ดินแดนใน อุดมคติ’ ซึ่งตัวละครเชื่อว่ามีภาพสมบูรณ์ของอัตลักษณ์ดำรงอยู่ โดยมีตัวละครพิเศษช่วยเปิดทางเชื่อมให้ตัวเอกลุล่วงเข้าสู่โลกภายใน ‘จิต’ ซึ่งนวนิยายผูกเข้ากับคุณสมบัติอันเป็นพลวัตในรูปสัญญะของ ‘น้ำ’ ตามแนวคิด อัตลักษณ์แบบหลังสมัยใหม่นิยม ทั้งนี้ ยังมีมุมมอง-เสียงเล่าแบบอัตวิสัยของตัวเอกผู้เล่าเรื่อง ที่เปิดโอกาสให้เหล่าตัวละครกลายเป็นบริบทภายในเรื่องเล่าอ้างอิงซึ่งกันและกัน และสวมรอยระหว่างตัวละครได้ 2) การเล่าเรื่องเพื่อสื่อสาร "วิกฤตอัตลักษณ์" ในนวนิยายของมูราคามิ เนื่องจากแนวคิดต่ออัตลักษณ์ของตัวละครมีความผิดเพี้ยนเสียเอง ได้แก่ แนวคิดอัตลักษณ์สวมใส่จากภายนอก แนวคิดชีวิตคือการแปลงโฉมครั้งแล้วครั้งเล่า แนวคิดการเคลื่อนย้ายอัตลักษณ์ออกจากความเป็นจริง และแนวคิดการเผชิญหน้ากับ อัตลักษณ์คือความโดดเดี่ยว จึงยากต่อความพยายามที่เหล่าตัวละครจะกอบกู้อัตลักษณ์ของตนเอง 3) สหบทการสื่อสาร "วิกฤตอัตลักษณ์" ระหว่างนวนิยายของมูราคามิ กับเรื่องสั้นแนวหลังสมัยใหม่ของกลุ่มนักเขียนชาวไทย มีการเสนอปัจเจกในบทบาทของผู้หลบหนีและแสวงหาอัตลักษณ์ การใช้สัญญะร่วมในการสื่อความหมายถึงอัตลักษณ์ และการวิพากษ์วิกฤตอัตลักษณ์อันเนื่องจากบริบททางสังคมหลังสมัยใหม่ 4) เอกลักษณ์ในนวนิยายของมูราคามิที่ครองใจนักอ่านชาวไทยได้คือ จินตนาการอันแปลกพิสดาร
Other Abstract: The Purposes of this research are to study 1) the formalism of narration in HARUKI MURAKAMI’s novels and 2) the intertextuality of communicating “Crisis of Identity” between HARUKI MURAKAMI’s novels and postmodern Thai short stories. The qualitative research are performed using textual analysis from 10 Murakami’s Thai-translated novels; consist of Hear the wind sing, Pinball,1973, A wild sheep chase, Hard-boiled wonderland and the end of the world, Norwegian wood, Dance dance dance, South of the border, west of the sun, The wind-up bird chronicle, Kafka on the shore, After dark, and postmodern Thai short stories written by Anusorn Tipayanon, Prabda Yoon and Fa Poonvoralak, which presented “Crisis of Identity” for main theme. This study also uses documentary research and in-depth interview Thai readers of Murakami’s books. The results of this research are as follows : 1) The narrative formalism in Murakami's novels presented specific Murakami’s characters type which interacted with setting; to plot the escaping of male-main character, young lady and closed-main character from 'Home' setting under controlled by male-enemy's ‘Social Context’. When male-main character entered his 'Imaginary-land', the setting he believed that’s keeping his own complete identity, he was connected into his internal world of ‘Mind’ by the special character. The novels presented the identity’s signifier in form of ‘Water’ because of its dynamic quality along to Postmodernism. By subjective male-main character telling, the story could support characters to take one’s place wrongfully and became to internal narrative context for each other. 2) Murakami’s novels narrated abnormal concepts of characters to communicate ‘Crisis of Identity’; including of External-clothes Identity concept, Transforming to Lose Identity concept, Moving Man’s Identity from Reality concept, and Identity’s Face with Loneliness concept. So it’s hard for characters to relief their identity from crisis. 3) The intertextuality of communicating ‘Crisis of Identity’ between Murakami’s novels and postmodern Thai short stories presented individual in role-play of ‘the escape’ and ‘the seeker’ for identity, using same signifier to signify identity, and criticized ‘Crisis of Identity’ in Postmodernity’s views. 4) Haruki Murakami’s novels attract Thai readers by their outstanding imagination stories.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23446
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1815
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1815
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vatcharee_ke.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.