Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23450
Title: การใช้วัสดุจากการเกษตรเร่งการย่อยสลายสารพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนโดยจุลินทรีย์ในดิน
Other Titles: Utilization of agricultural materials to enhance microbial degradation of polycyclic aromatic hydrocarbons in soil
Authors: นารีรัตน์ เจริญช่าง
Advisors: กาญจณา จันทองจีน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้คัดเลือกวัสดุการเกษตรเพื่อใช้ในการทดลองได้แก่ ฟางข้าว เปลือกถั่ว และใบจามจุรีโดยบดและผสมลงในดินทรายที่ทำให้ปนเปื้อนด้วยสารพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนได้แก่ ฟีแนนทรีน ฟลูออแรนธีน และไพรีนความเข้มข้น 0.1 มก./ดิน 1 กรัม โดยชั่งดิน 1.8 กรัม ผสมวัสดุการเกษตร 0.2 กรัม บรรจุลงในขวดแก้วฝาเกลียว ปรับความชื้นของดินผสมให้มีค่าเท่ากับ 60% ของความจุสูงสุดในการอุ้มน้ำ บ่มไว้ที่อุณหภูมิ 30 [องศาเซลเซียส] ในที่มืดทุกๆ 14 วัน นำตัวอย่าง 1 หลอดพร้อมหลอดควบคุมไปสกัด และวิเคราะห์ปริมาณสาร PAHs ทั้ง 3 ชนิดที่เหลืออยู่ด้วย HPLC พบว่าการเติมเปลือกถั่ว หรือใบจามจุรีลงในดินทำให้สาร PAHs ทั้ง 3 ชนิดลดลงอย่างรวดเร็ว โดยตรวจไม่พบฟีแนนทรีนในวันที่ 28 ส่วนฟลูออแรนธีน และไพรีนตรวจไม่พบในวันที่ 42 ของการทดลอง แต่พบว่าการเติมฟางข้าวลงในดินไม่สามารถเร่งสลายสาร PAHs ทั้ง 3 ชนิดได้ จึงได้เลือกใช้เปลือกถั่วและใบจามจุรีมาใช้ในการศึกษา และพบว่าปริมาณสาร PAHs จะลดลงอย่างชัดเจนในดินผสมเปลือกถั่วหรือใบจามจุรีที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อเท่านั้น ขณะที่ปริมาณสารPAHs ที่ลดลงในดิน ดินผสมเปลือกถั่วปลอดเชื้อ หรือใบจามจุรีปลอดเชื้อ ไม่แตกต่างจากชุดควบคุมแสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางชีวภาพาจากเปลือกถั่วหรือใบจามจุรีเป็นผลทำให้เกิดการย่อยสลายสาร PAHs และเมื่อตรวจแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายสารฟีแนนทรีนที่เกิดขึ้นในชุดทดลองโดยนับจำนวนบนอาหารเลี้ยงเชื้อ CFMM ที่พ่นทับด้วยสารละลายฟีแนนทรีน จะตรวจพบได้เฉพาะในดินที่เติมเปลือกถั่วหรือใบจามจุรีไม่ได้ฆ่าเชื้อเท่านั้น โดยจำนวนแบคทีเรียที่ย่อยสลายฟีแนนทรีนที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณฟีแนนทรีนที่ลดลง ค่า bioavailability ของสารPAHs ในดินผสมโดยใช้ค่า extractability โดยตัวทำละลายไดคลอโรมีเทนเมื่อทดลองผสมสาร PAHs ในเปลือกถั่ว และใบจามจุรี พบว่าสามารถสกัดสาร PAHs ออกจากใบจามจุรีได้มากกว่าเปลือกถั่ว และเมื่อผสมเปลือกถั่วหรือใบจามจุรีลงไปในดินที่ปนเปื้อน PAHs ในสภาวะควบคุมเดียวกัน จะสามารถสกัด PAHs จากดินผสมใบจามจุรีได้มากกว่าดิน และดินผสมเปลือกถั่ว เมื่อนำเปลือกถั่ว และใบจามจุรีไปส่องภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบ S.E.M. พบว่าเปลือกถั่วมีรูพรุนที่ซับซ้อนมากกว่า ดังนั้นอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดผลการทดลองนี้ ได้คัดเลือกวัสดุการเกษตรเพื่อใช้ในการทดลองได้แก่ ฟางข้าว เปลือกถั่ว และใบจามจุรีโดยบดและผสมลงในดินทรายที่ทำให้ปนเปื้อนด้วยสารพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนได้แก่ ฟีแนนทรีน ฟลูออแรนธีน และไพรีนความเข้มข้น 0.1 มก./ดิน 1 กรัม โดยชั่งดิน 1.8 กรัม ผสมวัสดุการเกษตร 0.2 กรัม บรรจุลงในขวดแก้วฝาเกลียว ปรับความชื้นของดินผสมให้มีค่าเท่ากับ 60% ของความจุสูงสุดในการอุ้มน้ำ บ่มไว้ที่อุณหภูมิ 30 [องศาเซลเซียส] ในที่มืดทุกๆ 14 วัน นำตัวอย่าง 1 หลอดพร้อมหลอดควบคุมไปสกัด และวิเคราะห์ปริมาณสาร PAHs ทั้ง 3 ชนิดที่เหลืออยู่ด้วย HPLC พบว่าการเติมเปลือกถั่ว หรือใบจามจุรีลงในดินทำให้สาร PAHs ทั้ง 3 ชนิดลดลงอย่างรวดเร็ว โดยตรวจไม่พบฟีแนนทรีนในวันที่ 28 ส่วนฟลูออแรนธีน และไพรีนตรวจไม่พบในวันที่ 42 ของการทดลอง แต่พบว่าการเติมฟางข้าวลงในดินไม่สามารถเร่งสลายสาร PAHs ทั้ง 3 ชนิดได้ จึงได้เลือกใช้เปลือกถั่วและใบจามจุรีมาใช้ในการศึกษา และพบว่าปริมาณสาร PAHs จะลดลงอย่างชัดเจนในดินผสมเปลือกถั่วหรือใบจามจุรีที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อเท่านั้น ขณะที่ปริมาณสารPAHs ที่ลดลงในดิน ดินผสมเปลือกถั่วปลอดเชื้อ หรือใบจามจุรีปลอดเชื้อ ไม่แตกต่างจากชุดควบคุมแสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางชีวภาพาจากเปลือกถั่วหรือใบจามจุรีเป็นผลทำให้เกิดการย่อยสลายสาร PAHs และเมื่อตรวจแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายสารฟีแนนทรีนที่เกิดขึ้นในชุดทดลองโดยนับจำนวนบนอาหารเลี้ยงเชื้อ CFMM ที่พ่นทับด้วยสารละลายฟีแนนทรีน จะตรวจพบได้เฉพาะในดินที่เติมเปลือกถั่วหรือใบจามจุรีไม่ได้ฆ่าเชื้อเท่านั้น โดยจำนวนแบคทีเรียที่ย่อยสลายฟีแนนทรีนที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณฟีแนนทรีนที่ลดลง ค่า bioavailability ของสารPAHs ในดินผสมโดยใช้ค่า extractability โดยตัวทำละลายไดคลอโรมีเทนเมื่อทดลองผสมสาร PAHs ในเปลือกถั่ว และใบจามจุรี พบว่าสามารถสกัดสาร PAHs ออกจากใบจามจุรีได้มากกว่าเปลือกถั่ว และเมื่อผสมเปลือกถั่วหรือใบจามจุรีลงไปในดินที่ปนเปื้อน PAHs ในสภาวะควบคุมเดียวกัน จะสามารถสกัด PAHs จากดินผสมใบจามจุรีได้มากกว่าดิน และดินผสมเปลือกถั่ว เมื่อนำเปลือกถั่ว และใบจามจุรีไปส่องภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบ S.E.M. พบว่าเปลือกถั่วมีรูพรุนที่ซับซ้อนมากกว่า ดังนั้นอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดผลการทดลองนี้
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23450
ISBN: 9741703791
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narirat_ch_front.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open
Narirat_ch_ch1.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Narirat_ch_ch2.pdf6.27 MBAdobe PDFView/Open
Narirat_ch_ch3.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open
Narirat_ch_ch4.pdf10.45 MBAdobe PDFView/Open
Narirat_ch_ch5.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open
Narirat_ch_ch6.pdf532.86 kBAdobe PDFView/Open
Narirat_ch_back.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.