Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23544
Title: ผลของการจัดประสบการณ์การแก้ไขปัญหาขัดแย้งตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ต่อความรอบรู้ทางอารมณ์ของเด็กวัยอนุบาล
Other Titles: Effects of using the constructivist-based conflict resolution approach on the emotional literacy of preschoolers
Authors: ปิยนุช จุลกนิษฐ์
Advisors: อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์การแก้ไขปัญหาขัดแย้งตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ทางอารมณ์ของเด็กวัยอนุบาล ในด้านการตระหนักรู้อารมณ์ของตน และด้านความสามารถในการสื่อสารด้านอารมณ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กวัยอนุบาล ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุ 4-5 ปี จำนวน 40 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ 1. แบบทดสอบการตระหนักรู้อารมณ์ของตนในเด็กวัยอนุบาล 2. แบบทดสอบความสามารถในการสื่อสารด้านอารมณ์ในเด็กวัยอนุบาล ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความรอบรู้ทางอารมณ์ด้านการตระหนักรู้อารมณ์ของตนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความรอบรู้ทางอารมณ์ ด้านความสามารถในการสื่อสารด้านอารมณ์ สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of using the constructivist-based conflict resolution approach on emotional literacy of preschoolers in emotional self-awareness and communication. The subjects were forty preschoolers ages four to five, divided into 2 groups; the experimental group and the control group, each of which contained 20 subjects. Investigating tools used in this study were : 1 Emotional Self-Awareness of preschooler Test 2. Communication Of Preschooler Test The results of the study were as followed: 1. After the study, the scores of the experimental group on emotional self-awareness were significantly higher than those of the control group at the .01 level of significance. 2. After the study, the scores of the experimental group on communication were significantly higher than those of the control group at the .01 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23544
ISBN: 9741708009
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyanoot_jo_front.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open
Piyanoot_jo_ch1.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open
Piyanoot_jo_ch2.pdf14.34 MBAdobe PDFView/Open
Piyanoot_jo_ch3.pdf5.9 MBAdobe PDFView/Open
Piyanoot_jo_ch4.pdf6.48 MBAdobe PDFView/Open
Piyanoot_jo_back.pdf33.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.