Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23598
Title: หลักการแสดงของนางเกศสุริยงแปลง ในละครนอกเรื่องสุวรรณหงส์
Other Titles: Dramatic principles of Ketsuriyong Plaeng in Lakon Nok, Suwannahong
Authors: พัชราวรรณ ทับเกตุ
Advisors: สวภา เวชสุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาหลักการแสดงของนางเกศสุริยงแปลง ในละครนอกเรื่องสุวรณหงส์ เกี่ยวกับความเป็นมาของการแสดง องค์ประกอบของการแสดง และแบบแผนการรำของนางตลาด โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสังเกตการแสดงบนเวที วีดิทัศน์ ภาพถ่าย และการฝึกหัดรำด้วยตนเองจากอาจารย์ที่มีประสบการณ์แสดงเป็นนางเกศสุริยงแปลง ผลการศึกษาพบว่า นางเกศสุริยงแปลงเป็นนางผีเสื้อน้ำหรือนางยักษ์ชั้นต่ำที่มีลักษณะเป็นนางตลาด ซึ่งแปลงกายเป็นนางเกศสุริยงพระมเหสีของพระสุวรรณหงส์โดยเป็นตัวละครสำคัญตอนกุมภัณฑ์ถวายม้า ที่นิยมเล่นกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน นางเกศสุริยงแปลงเป็นตัวละครที่มีสี่บุคลิก คือ ภายนอกเป็นนางกษัตริย์ที่เสแสร้งแสดงกิริยาวาจาให้เรียบร้อยและนุ่มนวลแต่แฝงไว้ด้วยจริตมารยาและท่าทีสะบัดสะบิ้งอย่างนางตลาดส่วนภายในเป็นนางยักษ์ที่บางครั้งเผยให้เห็นกิริยาแท้จริงที่แข็งกร้าวและดุดัน เมื่อลืมตัวมิได้ระมัดระวังตนเองก็แสดงกิริยาท่าทางไม่เรียบร้อยแบบนางตลาด นอกจากนี้ยังต้องแทรกท่าทีตลกขบขันเป็นระยะ ๆ เพื่อสร้างความครื้นเครงให้แก่ผู้ชมตามแบบละครนอก การรำแบบนางตลาดของนางเกศสุริยงแปลงต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้คือ รำกระฉับกระเฉงว่องไว โดยเคลื่อนไหวอวัยวะทุกส่วน รวมทั้งแสดงสีหน้าและอารมณ์ได้อย่างเต็มที่และเปิดเผยเน้นการกระทบจังหวะด้วยข้อต่อของร่างกายอย่างเร็วและแรง อันได้แก่ หัวเข่า หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อเท้า และคอ ให้สอดคล้องกับท่วงทำนองและจังหวะดนตรีที่รุกเร้า หนักแน่น และรวดเร็วประกอบกับการร้องที่เน้นการกระแทกเสียงเป็นคำๆ ให้เหมาะสมกับบทบาทของนางตลาดที่เป็นนางยักษ์อีกด้วย การวิจัยบทบาทเฉพาะของตัวละครมีน้อยมาก เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์การแสดงเป็นอย่างยิ่ง ควรมีการวิจัยในทำนองนี้เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์แก่วงการนาฏยศิลป์ต่อไป
Other Abstract: This thesis is to study the acting principles of Ketsuriyong Plaeng in lakon nok play called Suwanahong including its historical development, performance elements, dance patterns for vulgar female role. Research methods comprises documentary, interviewing, observation from stage plays, videos and photos. It also includes researcher’s dance practice with dance experts of this role. The study finds that Ketsuriyong Plaeng is a marine-butterfly demoness which is classified as a vulgarly female role. She disguises as the queen of Suwanahong. She is an important character in Kumpon Tawai Ma episode which has been a popular performance since Ayudhya period. Ketsuriyong Plaeng has four complex characters in one person. Her outer appearance is a queen with polite manner. Her inner and true character is a demoness. When she loses herself controlling she became vulgar. Moreover, she has to perform some clownish acts as required by the style of the play. Her vulgarly dance style is projected in every part of the body with strong rhythmic movements especially at body joints. Her movements are relevant to the strong musical tempo and expressive singing style which stresses each syllable. Research for particular character in play is very rare. It is very useful for play and character analysis. There should be more researches of this type in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23598
ISBN: 9740307175
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharawan_th_front.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open
Patcharawan_th_ch1.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Patcharawan_th_ch2.pdf8.87 MBAdobe PDFView/Open
Patcharawan_th_ch3.pdf7.01 MBAdobe PDFView/Open
Patcharawan_th_ch4.pdf23.61 MBAdobe PDFView/Open
Patcharawan_th_ch5.pdf38.7 MBAdobe PDFView/Open
Patcharawan_th_ch6.pdf5.02 MBAdobe PDFView/Open
Patcharawan_th_back.pdf26.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.