Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23639
Title: การศึกษาการออกฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัดจากการเมล็ดชา
Other Titles: A Study on antifungal action of tea seed cake extract
Authors: รจพร วัชโรทยางกูร
อรพัน ยืนยง
Advisors: สุกัญญา เจษฏานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สารต้านเชื้อรา
ชา
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารสกัดจากเมล็ดชา (ทีเค ) และตะกอนเบาที่ได้จากการทำทีเคให้บริสุทธิ์ขึ้น (พี) ประกอบด้วยสารอย่างน้อย 5 และ 4 องค์ประกอบตามลำดับ สารทั้งสองนี้เราพบว่า ออกฤทธิ์ในหลอดทดลองต่อ Candida albicans ATCC 10231 และ Arthroderma benhamiae JCM 01886 ค่าความเข้มข้นน้อยที่สุดที่ยับยั้งเชื้อได้ / ความเข้มข้นน้อยที่สุดที่ฆ่าเชื้อได้ของทีเคต่อ C.albicans ใน YNB, buffered YNB และ SDB เท่ากับ 156/312.5 , 156/156 และ 312.5/312.5 ไมโครกรัม/มิลลิเมตร โดยวิธีเจือจางในอาหารเหลว และค่าความเข้มข้นน้อยที่สุดที่ยับยั้งเชื้อได้เท่ากับ 312.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ใน SDA โดยวิธีการเจือจางในอาหารวุ้น ค่าความ เข้มข้นที่ยับยั้งได้/ความ เข้มข้นน้อยที่สุดที่ฆ่าเชื้อได้ ของทีเค ต่อ A. benhamiae คือ 156/156 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร โดยวิธีเจือจางในอาหารเหลว และค่าความเข้มข้นน้อยที่สุดที่ยับยั้งเชื้อได้คือ 156 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ใน SDA โดยวิธีเจือจางในอาหารวุ้น ความ เข้มข้นน้อยที่สุดที่ยับยั้งเชื้อได้ ความเข้มข้นน้อยที่สุดที่ฆ่าเชื้อได้ของ YNB ต่อ C. albicans ใน YNB, buffered YNB และ SDB คือ 156/625, 2,500/5,000 และ 500/1,000 ไมโครกรัม/ มิลลิลิตร ตามลำดับ โดยวิธีเจือจางในอาหารเหลว และความเข้มข้นน้อยที่สุดที่ยับยั้งเชื้อได้คือ 10,000 ไมโครกรัม/ มิลลิลิตร ใน SDA โดยวิธีเจือจางในอาหารวุ้น ความเข้มข้นน้อยที่สุดที่ยับยั้งเชื้อได้ / ความเข้มข้นน้อยที่สุดที่ฆ่าเชื้อได้ของ พี ต่อ A. benhamiae คือ 5,000/10,000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ใน SDB โดยวิธีเจือจางในอาหารเหลว และความเข้มข้นน้อยที่สุดที่ยับยังเชื้อได้คือ 5,000 ไมโครกรัม / มิลลิลิตร ใน SDA โดยวิธีเจือจางในอาหารวุ้น การศึกษาจลนศาสตร์ของการยับยั้งและฆ่าเชื้อพบว่า ทีเค เริ่มออกฤทธิ์ต่อ C. albicans เมื่อเวลา 2 ชั่วโมง และเริ่มออกฤทธิ์ต่อ A. benhamiae เมื่อเวลา 1 วัน ทีเค 200 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จะฆ่าเชื้อ C.albicans เหลือเพียง 57.14% , 220 14%, 2.7% และ 0.17% ของคอนโทรลที่เวลา 2, 4, 6 และ 8 ชั่วโมงตามลำดับ และฆ่าเชื้อเหลือเพียง 24 ชั่วโมง ขณะที่ ทีเค 1,000 ไมโครกรัม/ มิลลิลิตร จะฆ่าเชื้อเหลือเพียง 37.76% และ 8.97% ของคอนโทรล ที่เวลา 2 และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ และฆ่าเชื้อหมดที่เวลา 6 ชั่วโมง ทีเค 200 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ออกฤทธิ์ต้านเชื้อ A.benhamiae โดยพบว่าน้ำหนักแห้งของมัยซีเลียมลดลงเป็น 46.39%, 3.5% และ 31.69% ของคอนโทรลที่เวลา 1,5 และ 7 วันตามลำดับ ขณะที่ ทีเค 1,000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จะทำให้น้ำหนักแห้งของมัยซีเลียมลดลงเหลือเพียง 33.44%, 13.82%, 8.73% และ 2.65% ของคอนโทรล ที่เวลา 1, 3, 5 และ 7 วัน ตามลำดับ จากการศึกษา ด้วยกล้องจุลทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบสำรวจภายนอก และกล้องจุลทรรศน์แบบทรานสมิชชั่น พบว่า ทีเคทำให้รูปร่างของ C. albicans และ A. benhamiae มีความเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ บลาสโตโคนิเดียและซูโตมัยซีเลี่ยม ของ C.albicans จะเหี่ยวย่น แตกสลายและย่นยุบ พร้อมทั้งปลดปล่อยส่วนประกอบของเซลล์ออกมาภายนอก ในขณะที่มัยซีเลี่ยมของ A. benhamiae จะบวมพอง มีขนาดสั้น เหี่ยวย่นและกะรุ่งกะริ่ง พร้อมทั้งปลดปล่อยส่วนประกอบของเซลล์ออกมาภายนอก เยื่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์ และออร์กาเนลส์ ในซัยโตพลาสซึมของเชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้ จะถูกทำลายและเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนั้น ทีเค ยังยับยั้งการนำ ³H-Thymidine และ ¹⁴C-Glucose ไปประกอบเป็น ดีเอ็นเอ และคาร์โบฮัยเดรต ตามลำดับ ในเชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้ด้วย ผลการทดลองเสนอว่า ทีเค น่าจะ ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือฆ่าเชื้อรา ขึ้นกับความเข้มข้นของยาและความไวของเชื้อรานั้นๆโดยออกฤทธิ์ที่เยื่อหุ้มเซลล์และผนังเซลล์เป็นประการแรก และออร์การเนลส์อื่นๆ ในซัยโตพลาสซึม ก็จะได้รับผลจากทีเคด้วย นอกจากนั้น ยานี้ยังยับยั้งการสร้าง ดีเอ็นเอ และคาร์โบฮัยเดรตด้วย
Other Abstract: Tea seed cake extract (TK) and the light precipitate obtained from partial purification of TK (P) composed of at least 5 and 4 components respectively, They were effective in vitro against c. albicans ATCC 10231 and Arthroderma benhamiae JCM 01886, The MIC/MFC of TK against c. albicans in YNB, buffered YNB and SDB were 156/312, 5, 156/156 and 312, 5/312, 5 µg/ml respectively by the broth dilution method and the MIC was 312.5 µg/ml in SDA by the agar dilution method. The MIC/MFC of TK against A. benhamiae was 156/156 µg/ml in SDB by the broth dilution method and the MIC was 156 µg/ml in SDA by the agar dilution method. The MIC/MFC of p against c, albicans in YNB, buffered YNB and SDB were 156/625, 2,500/5,000 and 500/1,000 µg/ml respectively by the broth dilution method and the MIC was 10,000 µg/ml in SDA by the agar dilution method, The MIC/MFC of p against A, benhamiae was 5,000/10,000 µg/ml in SDB by the broth dilution method and the MIC was 5,000 µg/ml in SDA by the agar dilution method Kinetics of inhibition of growth and killing of organisms showed that the onset of action of TK was 2 hours for c. albicans and 1 day for A. benhamiae. The 200 yg/ml TK reduced the number of viable cells to 57 .14%,22 .14%,2.7% and 0.17% of the control culture at the 2-, 4-, 6- and 8-hour incubations respectively and no viable 1 cell was observed at the 24-hour incubation while the 1,000 µg/ml TK reduced the number of viable cells to 37.76% and 8.97% of the control culture at the 2- and 4-hour incubations respectively and it killed all of the organisms at the 24-hour incubation. The 200 µg/ml TK reduced the dry mycelial weight of A. benhamiae to 46.39%,35% and 31.69% of the control culture at the l-, 5- and 7- day incubations while the dry mycelium of the 1,000 µg/ml TK treatment were reduced to 33.44%, 13.82%, 8.73% and 2.65% at the l-, 3-, 5- and 7- day incubations respectively. The morphological changes of c. albicans and A. benhamiae were observed by light microscopy, scanning electron microscopy and transmission elec¬tron microscopy. The blastoconidia and pseudomycelium of c. albicans treated with TK were shrink, broken and collapsed with the cytoplasmic content liberation while the mycelium of A. benhamiae was bulge, shrink, tattery and the cytoplasmic content was liberated. The effect of TK on morphological changed were dose-dependent. Furthermore, TK inhibited ³H-thymidine and ¹⁴C-glucose incorporation into DNA and carbohydrate of the two organisms and this effect was also dose-dependent. The results depicted that TK appeared to be fungistatic and fungicidal depending on the dosage of the drug1and the sensitivity of the fungi. The primary sites of action of the drug were cell membrane and cell wall while other cytoplasmic organelles were also involved and the DNA and carbohydrate biosynthesis were markedly inhibited.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23639
ISBN: 9745667773
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rochaporn_Wa_front.pdf736.55 kBAdobe PDFView/Open
Rochaporn_Wa_ch1.pdf964.13 kBAdobe PDFView/Open
Rochaporn_Wa_ch2.pdf948.19 kBAdobe PDFView/Open
Rochaporn_Wa_ch3.pdf726.65 kBAdobe PDFView/Open
Rochaporn_Wa_ch4.pdf447.41 kBAdobe PDFView/Open
Rochaporn_Wa_back.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.