Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2366
Title: | ผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยประเภทอพาร์ทเมนต์ให้เช่า ในเขตห้วยขวางเมื่อมีระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน |
Other Titles: | The impacts of rental apartments in Huai Khwang district when mass rapid transit was operated |
Authors: | ต่อศักดิ์ มีสุข, 2519- |
Advisors: | มานพ พงศทัต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Subjects: | ห้องชุด |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในระยะเวลา3ปีที่ผ่านมาอพาร์ทเมนต์ในเขตห้วยขวางมีอัตราการเติบโตมากที่สุดในกรุงเทพมหานครและเติบโตอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการมีระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาถึงผลกระทบจากการมีระบบรถไฟฟ้าที่มีต่อที่อยู่อาศัยประเภทอพาร์ทเมนต์ให้เช่าในเขตห้วยขวางโดยศึกษา การเปลี่ยนแปลง ด้านทำเลที่ตั้ง,การกระจายตัว,สภาพแวดล้อม,ทัศนคติของผู้ประกอบการ,ทัศนคติของผู้อยู่อาศัย ในช่วงก่อนและหลังมีระบบรถไฟฟ้า เพื่อเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐในการพัฒนาและการกำหนดนโยบายที่อยู่อาศัยเขตห้วยขวางในอนาคต เพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้ประกอบการในการตัดสินใจในการลงทุนและเป็นประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยในการเลือกที่พักอาศัย โดยได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและแผนที่ เพื่อวิเคราะห์ภาพรวมการเปลี่ยนแปลง และสุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบเพื่อการแจกแบบสอบถามทั้งปลายปิดและปลายเปิดให้แก่ผู้ประกอบการจำนวน 26 โครงการและผู้อยู่อาศัยจำนวน 338 ตัวอย่าง ตามสัดส่วนจำนวนของแต่ละระดับราคาค่าเช่าเพื่อให้ได้ผลครอบคลุมเป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด ผลการวิจัยพบ การเปลี่ยนแปลงในภาพรวม คือ การกระจายตัวและการเพิ่มของอพาร์ทเมนต์หลังมีระบบรถไฟฟ้าทุกระดับ ราคายังคงกระจายตัวตามแนวถนนเป็นหลัก และตามซอยลัดต่างๆ และเพิ่มขึ้นถึง 55 โครงการส่วนใหญ่จะเพิ่มในบริเวณใกล้เคียงกับอพาร์ทเมนต์เดิม พร้อมกับระบบถนนมีการขยายเส้นลัดมากขึ้น และมีการขยายทางรถยนต์ให้กว้างขึ้นแต่ทางเดินเท้ากลับแคบและลดลง ทำให้ผู้เดินเท้าเดินทางไม่สะดวก ด้านผู้ประกอบการ พบว่า ผู้ประกอบการร้อยละ 58 จะขึ้นค่าเช่าห้อง ร้อยละ 80 จะปรับปรุงโครงการเพิ่มเติม ร้อยละ 90 เห็นว่าควรจะมีการจับจองพื้นที่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าเพื่อลงทุนโครงการใหม่ และ ผู้ประกอบการ ร้อยละ 92 ต้องการทำเลที่สภาพแวดล้อมที่ดี มีการเว้นว่างของแนวอาคารอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้แออัดเกินไป ส่วนด้านผู้อยู่อาศัย พบว่าผู้อยู่อาศัยในอพาร์ทเมนต์ ระดับราคาค่าเช่า 2,000-3,500บาทต่อเดือน เลือกที่พักอาศัยใกล้แหล่งงาน เป็นอันดับที่1 และใกล้สถานีรถไฟฟ้า เป็นอันดับที่4 ส่วนใน ระดับราคาค่าเช่า 3,500-4,500 และ 4,500-5,000บาทต่อเดือน เห็นว่าเลือกที่พักใกล้แหล่งงานเป็นอันดับที่ 1 และใกล้สถานีรถไฟฟ้า เป็นอันดับที่ 2 และพบว่า ผู้อยู่อาศัยในอพาร์ทเมนต์ระดับราคาต่ำ มีความต้องการที่จะย้ายที่อยู่อาศัยมากกว่าในระดับราคาสูง เนื่องจาก หลังจากมีระบบรถไฟฟ้าได้มีการขึ้นค่าเช่าห้องและค่าเดินทางโดยรวมก็เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัย อพาร์ทเมนต์ ระดับราคา 2000-3500 บาท ไม่สามารถจ่ายค่าเช่าห้องและค่าเดินทางโดยรถไฟฟ้าได้ ส่งผลให้มีจำนวนผู้พักอาศัยต่อห้องมากขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่ายดังกล่าว ซึ่งจะเกิดความแออัดและสภาพแวดล้อมก็ไม่ดีตามมา ข้อเสนอแนะจากการวิจัยต่อผู้ประกอบการคือ ควรมีความระมัดระวังในการลงทุนอพาร์ตเมนต์ใกล้สถานีรถไฟฟ้า เนื่องจากต้นทุนและภาวการณ์แข่งขันจะสูง ผู้เช่ารายได้น้อยที่มีอุปสงค์มากจะไม่สามารถเช่าได้ และทางผู้อยู่อาศัยควรเลือกที่พักให้เหมาะสมกับรายได้และเลือกทำเลที่พักให้เดินทางไปทำงานได้สะดวกเพื่อลดค่าใช้จ่าย ส่วนภาครัฐควรมีมาตรการสนับสนุนให้มีการลงทุนเพิ่มหรือคงอพาร์ตเมนต์ราคาต่ำในพื้นที่ไว้พร้อมทั้งเพิ่มความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างอพาร์ทเมนต์ไปยังสถานีรถขนส่งมวลชนรวมทั้งสถานีรถไฟฟ้า เช่น การจัดระบบทางเท้าเพิ่มขึ้นจากข้อเสนอแนะที่กล่าวมานี้ก็น่าจะแก้ปัญหาของเมืองได้อย่างสำคัญ |
Other Abstract: | In the past 3 years the apartments in Huai Khwang district have had the fastest continuous growth in Bangkok due to the mass rapid transit system (Subway). This study aims to examine the effect of the mass rapid transit (MRT) on rental apartments in Huai Khwang district. The focus of the study is on location shifts, dispersal, and environment as well as entrepreneurs and residents attitudes before and after the introduction of the MRT. This study will benefit the government in terms of policy planning for residential development in Huai Khwang in the future. It can also provide data for entrepreneurs in making decision on investment and benefits persons choosing an accommodation. Documents and maps were gathered for analysis of the overall changes. Systematic random sampling was conducted. Twenty six apartment projects and 338 residents were distributed close-and open - ended questionnaires. These samples represent the ratio of all different rental-fee apartments. It was found that the overall changes included the dispersal and increase in the number of the apartments with different prices after the introduction the MRT. These apartments are mainly dispersed along the main roads and short-cut lanes. As many as 55 apartments were built and most of them are situated near the old apartments. More short-cuts were added and roads widened. However, pedestrian footpaths were narrowed and reduced, causing inconvenience for pedestrians. With respect to the entrepreneurs, 58 percent would increase rents ; so percent would develop more apartments; 90 percent would designate the area near the MRT stations for future investment; 92 percent would like to have locations with good environments and space between apartments to avoid overcrowding. Regarding the residents, the results revealed that those who rented an apartment at 2,000 - 3,500 baht a month would choose an accommodation that was close to their workplace and the MRT station as their first and fourth decision, respectively. The residents paying 3,500-4,500 and 4,500-5,000 baht a month would choose an accommodation near their workplace as their first choice and close to the MRT stations as their second choice. Also, residents living in low-cost apartments had more desire to move than those living in high - cost apartments. This is due to the fact that after the MRT was opened, room rents and commuting costs increased, causing residents in the 2,000 - 3,500-baht apartments to become incapable of paying the rent and MRT commuting costs. This also resulted in more residents in one room to reduce costs, but this caused crowding and deteriorated environment. The study recommends that entrepreneurs should be careful when investing in apartment projects close to the MRT because of the high investment cost and high competition. Low-income residents with high demands will not be able to afford the rent. In addition, the residents should choose an accommodation that suits their income and that is convenient and less expensive to commute. The government sector should have a supporting policy to stimulate more investment or maintain low-cost apartments in the area while providing more convenience and reduction in commuting expenses from apartments to the bus terminals and MRT stations, e.g., more footpaths. These recommendations are likely to have significance in solving city problems. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2366 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.600 |
ISBN: | 9741770219 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.600 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
torsak.pdf | 4.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.