Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23687
Title: การสื่อความหมายในนิตยสารการ์ตูนขายหัวเราะฉบับกระเป๋า
Other Titles: Communicating technics in Kat Hua Raw Cartoon
Authors: มาณิษา พิศาลบุตร
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การสื่อสาร
การ์ตูน -- ไทย
Communication
Caricatures and cartoons -- Thailand
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาวิธีการนำเสนอภาพการ์ตูนของ ขายหัวเราะฉบับกระเป๋า โดยพิจารณาทั้งในด้านของรูปแบบและเนื้อหาโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพที่นำองค์ประกอบทางด้านวรรณกรรมมาเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์รูปแบบ และในส่วนของเนื้อหาที่สะท้อนภาพสังคม ได้พิจารณาจากสาระสำคัญของเนื้อหาการ์ตูนโดยรวมว่าได้สะท้อนภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างไรบ้าง สำหรับการวิเคราะห์ความขบขันที่ผู้อ่านได้รับจากการอ่านภาพการ์ตูนนั้น สามารถอธิบายได้โดยใช้ทฤษฏีเกี่ยวกับการสร้างอารมณ์ขัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า สำหรับรูปแบบในการนำเสนอภาพการ์ตูนของ ขายหัวเราะฉบับกระเป๋า นี้จะประกอบด้วย แก่นเรื่อง โครงเรื่อง ฉาก ตัวละคร การใช้ภาษาในลักษณะบทสนทนา รวมทั้งแหล่งวัตถุดิบเช่นเดียวกับวรรณกรรมประเภทนวนิยาย ละครโทรทัศน์ โดยนำมาเสนอในรูปแบบของภาพการ์ตูนกรอบเดียวจบ และหลายกรอบจบ อันเป็นรูปแบบส่วนที่มีเอกลักษณ์ของภาพการ์ตูนซึ่งแตกต่างไปจากวรรณกรรมประเภทอื่น ภาพการ์ตูนใน “ขายหัวเราะฉบับกระเป๋า” เกิดจากการนำแก่นเรื่อง โครงเรื่อง ฉาก ตัวละคร บทสนทนา และวัตถุดิบที่หามาได้จากแหล่งต่างๆคือ จากชีวิตจริง สื่อมวลชนและจากผู้อ่านมาผสมผสานกันเป็นเหตุการณ์ที่ดำเนินเรื่องราวไปตามกรอบของภาพการ์ตูน ทั้งในรูปแบบที่เป็นกรอบเดียวและหลายกรอบจบ โดยทุกภาพจะมีส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้คือ การสอดแทรกความขบขันให้กับเรื่องราวเหล่านั้นด้วยวิธีการสร้างมุขตลกประเภทต่างๆ 7 ประเภท ดังนี้คือ การซ่อนปมหรือการอำพราง การหักมุม การทำเรื่องใหญ่เป็นเรื่องเล็ก ความแตกต่างระหว่างยุคสมัย การใช้ศัพท์เฉพาะวงการ การใช้ลักษณะนิสัยและความเป็นอยู่ สิ่งเกินความจริง สำหรับเนื้อหาที่สะท้อนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยนั้น จากการศึกษาพบว่าผู้เขียนการ์ตูนสะท้อนออกมาจากเนื้อหาและเรื่องราวในสื่อมวลชนประเภทต่างๆ แต่ได้นำมาเสนอในรูปแบบของการล้อเลียน ได้แก่ ข่าวประจำวัน บทเพลง โฆษณา ภาพยนตร์โทรทัศน์ ปัญหาสังคมด้านต่างๆ ตลอดจนถึงตัวละครและอาชีพของตัวละคร ในการนำเสนอนี้ผู้เขียนจะใช้ลักษณะของความทันเวลาและทันเหตุการณ์ แต่บางเรื่องอาจเป็นเรื่องร่วมสมัย ผู้เขียนก็สามารถเลือกนำมาล้อเลียนได้
Other Abstract: To find out methods of showing cartoons of Kai Hua Raw with considerations of forms and contents. This work is the quality research on literature as a rule to analyze the forms. Besides that, the contents which reflect the attitudes of society consider the theme of cartoons. Moreover, the sense of humor readers get from cartoons can be explained by applying sense of humor theories. The research can be summed up like this : The cartoons Kai Hua Raw, usually consist of theme, plot, background, actors, types of words in dialogues including materials, like novel, series. Moreover cartoons may be presented in a monoframe and multiframe ones which is a unique nature among cartoons, differing from other types of literatures. Cartoon drawings in Kai Hua Raw are mixtures of theme, plot, background, actors, dialogues and raw materials from life, mass media and readers to create events out of them, presented to readers with cartoon drawings in succession in the forms of ending with a monoframe and multiframe drawings. Therefore, there is an insertion of humour to those stories with various 7 types of gags : Hidden Element or Understatement, the Reverse, Huge and Tiny, Antique and Modern, Shop Talking, Habits and Customs, Exaggeration. For the theme reflecting society attitudes, we find out that cartoons have reflected these activities through various types of mass media. The ones that picked and ridiculed or jeered them are daily news, songs, advertising movies, television movies, various society problems, all the way to actors and their trades. Cartoonists cling to state of being abreast of time and events, whenever any event has taken place and has been a new one, interested by the public, cartoonists will reflect them in cartoon drawings, with jeers within a very short time at once. Moreover, some events, though may be not new ones, if they are contemporary, having any concern with the public in society, cartoonists can pick them up for jeers.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23687
ISBN: 9745773271
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manisa_Ph_front.pdf462.85 kBAdobe PDFView/Open
Manisa_Ph_ch1.pdf598.26 kBAdobe PDFView/Open
Manisa_Ph_ch2.pdf718.12 kBAdobe PDFView/Open
Manisa_Ph_ch3.pdf321.5 kBAdobe PDFView/Open
Manisa_Ph_ch4.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Manisa_Ph_ch5.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Manisa_Ph_ch6.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open
Manisa_Ph_ch7.pdf654.82 kBAdobe PDFView/Open
Manisa_Ph_back.pdf482.4 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.