Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23761
Title: การศึกษาพฤติกรรมการแก้ไขคำพูดภาษาอังกฤษด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Other Titles: A study on self-repair behaviors in spoken english of mathayom suksa six students
Authors: สุพัตรา ตู้จินดา
Advisors: สุจิตรา สวัสดิวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการแก้ไขคำพูดภาษาอังกฤษด้วยตนเอง 5 ประเภท ได้แก่ การแก้ไขโดยเปลี่ยนแปลงข้อมูล การแก้ไขโดยปรับให้เหมาะสม การแก้ไขข้อผิดพลาด การแก้ไขโดยปรับบางส่วนของคำหรือวลี และการแก้ไขอื่นๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการแก้ไขคำพูดภาษาอังกฤษด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษสูงและต่ำ และ (3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการแก้ไขคำพูดภาษาอังกฤษด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และแผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาต่างประเทศ ตัวอย่างประชากรได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบวัดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษในลักษณะกิจกรรมบทบาทสมมติ และแบบสังเกตพฤติกรรมการแก้ไขคำพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนในการแก้ไขคำพูดด้วยตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และผ่านการทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มิใช่กลุ่มประชากรตัวอย่าง ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการแก้ไขคำพูดภาษาอังกฤษด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ พฤติกรรมการแก้ไขข้อผิดพลาด รองลงมา คือ พฤติกรรมการแก้ไขโดยเปลี่ยนแปลงข้อมูล พฤติกรรมการแก้ไขโดยปรับให้เหมาะสม พฤติกรรมการแก้ไขโดยปรับบางส่วนของคำหรือวลี และพฤติกรรมการแก้ไขอื่นๆ เช่น พฤติกรรมการแก้ไขคำพูดจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ พฤติกรรมการแก้ไขแบบแฝง ตามลำดับ 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษสูงและต่ำ มีพฤติกรรมการแก้ไขคำพูดภาษาอังกฤษด้วยตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาแยกตามประเภทพฤติกรรมการแก้ไขคำพูดภาษาอังกฤษด้วยตนเองพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษสูงและต่ำ มีพฤติกรรมการแก้ไขโดยเปลี่ยนแปลงข้อมูล พฤติกรรมการแก้ไขโดยปรับให้เหมาะสม พฤติกรรมการแก้ไขข้อผิดพลาด และพฤติกรรมการแก้ไขอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน แต่มีพฤติกรรมการแก้ไขโดยปรับบางส่วนของคำหรือวลีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และแผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาต่างประเทศ มีพฤติกรรมการแก้ไขคำพูดภาษาอังกฤษด้วยตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาแยกตามประเภทพฤติกรรมการแก้ไขคำพูดภาษาอังกฤษด้วยตนเองพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ-ภาษาต่างประเทศ มีพฤติกรรมการแก้ไขโดยเปลี่ยนแปลงข้อมูล พฤติกรรมการแก้ไขโดยปรับให้เหมาะสม และพฤติกรรมการแก้ไขอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน แต่มีพฤติกรรมการแก้ไขข้อผิดพลาดและการแก้ไขโดยปรับบางส่วนของคำหรือวลีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study were: (1) to study 5 types of self-repair behaviors: different-information, appropriacy, error, rephrasing and other repairs of mathayom suksa six students, (2) to compare the self-repair behaviors used between groups of mathayom suksa six students with high and low English oral proficiency and (3) to compare the self-repair behaviors used between groups of mathayom suksa six students in science-mathematics and English-foreign language programs. The samples of the study were 80 mathayom suksa six students in secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education, Bangkok Metropolis, selected by multi-stage random sampling technique. The instruments used in this study were English speaking ability test, which was a role-play activity, and the behavior observation form of self-repair in spoken English, constructed by the researcher and approved by 3 specialists before trying out with mathayom suksa six students who were not the samples. The data were analyzed by means of frequency, percentage and Chi Square. The findings were as follows: 1. The type of self-repair behaviors that mathayom suksa six students used the most was error repairs. Next were different-information, appropriacy, rephrasing and other repairs such as Thai to English and covert repairs respectively. 2. Mathayom suksa six students with high and low English oral proficiency used self-repair behaviors differently at .05 level of significance. They used different-information, appropriacy, error and other repairs indifferently but used rephrasing repairs differently at .05 level of significance. 3. Mathayom suksa six students in science-mathematics and English-foreign language programs used self-repair behaviors differently at .05 level of significance. They used different-information, appropriacy and other repairs indifferently but used error and rephrasing repairs differently at .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23761
ISBN: 9741707355
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supattra_tu_front.pdf5.13 MBAdobe PDFView/Open
Supattra_tu_ch1.pdf6.2 MBAdobe PDFView/Open
Supattra_tu_ch2.pdf44.75 MBAdobe PDFView/Open
Supattra_tu_ch3.pdf7.57 MBAdobe PDFView/Open
Supattra_tu_ch4.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open
Supattra_tu_ch5.pdf10.39 MBAdobe PDFView/Open
Supattra_tu_back.pdf20.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.