Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23782
Title: กระบวนการและปัญหาในการสร้างแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Process and problems in achievement test construction of teachers in elementary school under the auspices of the office of primary education, Chiang Mai Province
Authors: ประสิทธิ์ สวัสดิ์ประดิษฐ์
Advisors: สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กาารวัดผลทางการศึกษา
ข้อสอบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและปัญหาในการสร้างแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยนี้ได้แก่ ครูที่ทำการสอนประจำชั้นประถมปีที่ 4 และครูวิชาการกลุ่มโรงเรียน ปีการศึกษา 2526 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 120 คน ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลัง กระบวนการและปัญหาในการสร้างแบบสอบ ตลอดจนความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับหลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการและปัญหาในการสร้างแบบสอบ และแบบสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง ข้อค้นพบ 1. ครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ เตรียมตารางวิเคราะห์หลักสูตรในการสร้างแบบสอบเป็นบางครั้ง โดยทั่วไปครูสร้างแบบสอบโดยอาศัยแผนการสอนและทำการคัดเลือกข้อสอบเก่าและสร้างขึ้นใหม่เพิ่มเติม โดยใช้สถานที่โรงเรียนที่เป็นศูนย์กลางกลุ่มโรงเรียนเป็นที่จัดสร้างแบบสอบ เมื่อสอบเสร็จแล้วครูจะทำการตรวจข้อสอบด้วยตนเอง แล้วนำผลการสอบแต่ละครั้งมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น 2. ครูที่ทำการสอนในชั้นประถมปีที่ 4 ประสบปัญหาด้านการวางแผนในการสร้างแบบสอบและด้านการบริหารการสอบ มากกว่าครูวิชาการกลุ่มโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ครูที่ทำการสอนในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ประสบปัญหาในกระบวนการสร้างแบบสอบทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ครูที่ทำการสอนในชั้นประถมปีที่ 4 กับครูวิชาการกลุ่มโรงเรียน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือมีความรู้ความเข้าใจในระดับปานกลาง 5. ครูที่ทำการสอนในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The objective of this study was to examine the process and problems in achievement test construction of teachers in elementary schools under auspices of the office of primary education Chiang Mai Province. The sample consisted of 120 fourth grade teachers and technical experts of school clusters in elementary schools under the auspices of the office of primary education Chiang Mai Province in the 1983 academic year. Two instruments were used; a questionnaire asking background information and process and problems in achievement test construction, and a test of knowledge in educational measurement and evaluation. The data were analyzed by means of percentage distribution, arithmetic mean, standard deviation and two way analysis of variance. Findings: 1. Teachers occasionally used a table of specification in test construction. Generally, they used lesson plan in constructions a test. While some new items were developed, they also selected some former items. Schools were used as centers for test construction. They scored the answers by hands and used the test results to improve learning and teaching. 2. The teachers significantly had more problems in planning and administering the test than the technical experts of school clusters. 3. There was no significant difference among teachers who taught in small, medium and large school clusters in the problems of the process in achievement test construction. 4. There was no significant difference between the teachers and the technical experts of school clusters in knowledge in educational measurement and evaluation. Their knowledge was at medium level. 5. There was no significant difference among teachers who taught in small, medium and large school clusters in knowledge in educational measurement and evaluation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23782
ISBN: 9745666556
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasit_Sw_front.pdf519.07 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Sw_ch1.pdf468.5 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Sw_ch2.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Prasit_Sw_ch3.pdf468.18 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Sw_ch4.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Prasit_Sw_ch5.pdf669 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Sw_back.pdf947.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.