Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23912
Title: | ความผิดฐานพรากเด็กและพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา |
Other Titles: | Offence of Taking a Child and Taking a Minor Under the Penal Code |
Authors: | สมหวัง วิริยะผล |
Advisors: | มัทยา จิตติรัตน์ จิรนิติ หะวานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2536 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความหมายของคำว่า “พราก” ตามถ้อยบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317, มาตรา 318 และมาตรา 319 นั้น มิได้มีการให้คำนิยามไว้แจ้งชัด ก่อให้เกิดปัญหาในการตีความว่าลักษณะของการกระทำผิดอย่างใด จึงจะถือได้ว่าเป็นความผิดฐานพรากเด็ก หรือพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตราดังกล่าว จึงสมควรวิเคราะห์ให้ทราบถึงความหมายของถ้อยคำดังกล่าว และเจตนารมณ์ของกฎหมายมาตราดังกล่าวด้วย ความผิดฐานพรากเด็กหรือพรากผู้เยาว์นั้น เกิดขึ้นจากแนวความคิดในการคุ้มครองสิทธิเด็กและผู้เยาว์ซึ่งมีมาแต่โบราณ โดยจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์กฎหมายสากลและประวัติศาสตร์กฎหมายไทย ทั้งนี้เพราะถือว่า เด็กหรือผู้เยาว์ เป็นผู้อ่อนด้อยทางวุฒิภาวะในด้านต่าง ๆ จึงควรได้รับการคุ้มครองโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ความผิดฐานพรากเด็ก และพรากผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317, มาตรา 318 และมาตรา 319 ได้บัญญัติถึงลักษณะของการกระทำความผิดฐานพรากเด็กหรือพรากผู้เยาว์ไว้ว่าจะต้องประกอบด้วยการพรากเด็กหรือผู้เยาว์ไปจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล และต้องเป็นกรณี “ปราศจากเหตุสมควร” ด้วย ในกฎหมายต่างประเทศซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับความผิดลักษณะเดียวกันนี้ ต่างก็มีเจตนารมณ์ในการให้ความคุ้มครองสิทธิแก่เด็ก หรือผู้เยาว์โดยตรง โดยกำหนดถ้อยคำในความผิดดังกล่าวว่า “Abduction” หมายความถึง การกระทำอันมีลักษณะ “Taking away” แปลได้ว่า “เป็นการพาเด็กหรือพาผู้เยาว์ไปจากผู้ปกครองของเขาเหล่านั้น” เป็นความผิดทันทีโดยไม่คำนึงถึงอำนาจปกครองแต่อย่างใด ทำให้การคุ้มครองสิทธิเด็กหรือผู้เยาว์มีประสิทธิภาพ และได้ผลสมบูรณ์อย่างกว้างขวาง ผู้เขียนวิทยานิพนธ์เห็นว่า ควรมีการกำหนดความหมายของถ้อยคำในกฎหมายในความผิดลักษณะดังกล่าวให้ถูกต้องชัดเจน เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิเด็ก และผู้เยาว์เป็นไปโดยถูกต้องและได้ผลสมบูรณ์ นอกจากนี้ควรหาแนวทางในการคุ้มครองสิทธิเด็กและผู้เยาว์ในกรณีการดำเนินคดีกับผู้ใช้อำนาจปกครอง ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง และในกรณีการกำหนดหน้าที่ให้กับบุคคลผู้พบเด็กพลัดหลง เพื่อการคุ้มครองเด็กและผู้เยาว์ได้อย่างกว้างขวาง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | Meaning of “Abduction” according to Penal Code Article 317, Article 318, and Article 319 does not give a clear definition which result in problematic definition of how the offense is done to fall in the offense of taking a child or taking a minor under penal code. Therefore the meaning and aim of penal code should be clearly researched and difined. The offense of taking a child or taking a minor created since the ancient time the concept to protect right of a child and a minor as can be seen in history of international law and history of Thai law because a child or a minor is not as knowledgable in all aspects. Therefore they should be protected by the law. The offense in taking a child and taking a minor according to Penal Code Article 317, Article 318, and Article 319 stated that it is the offense of taking a child or taking a minor from the parents, guardians, or those with right to look after and must also be without reasonable mean. In the other countries’ penal code relating to this same offense. It has the mean to give the protection of right to the child or the minor directly by stating that the offense of “Abduction” mean “Taking away” a child or a minor from their parents is an offense without considering other authority which give an effective mean to protect the right of the child or the minor. The writer of this thesis believes that there should be a clear definition of this penal code in such an offenses to give full protection of right to the child and the minor. Beside, there should be a mean to protect the right of the child and the minor in case the case is against the authority who is an offender himself and in case where it should be the duty of the person found the loss child to widely protect the child and the minor in an effective way. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23912 |
ISBN: | 9745828874 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somwang_vi_front.pdf | 7.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somwang_vi_ch1.pdf | 6.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somwang_vi_ch2.pdf | 46.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somwang_vi_ch3.pdf | 36.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somwang_vi_ch4.pdf | 20.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somwang_vi_ch5.pdf | 4.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somwang_vi_back.pdf | 97.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.