Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23938
Title: ผลของการฟอกสีฟันต่อความทนแรงดึงของเคลือบฟันและเนื้อฟัน
Other Titles: Effect of tooth-bleaching on tensile strength of enamel and dentin
Authors: จรรยา สุระกำพลธร
Advisors: มรกต เปี่ยมใจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่าความทนแรงดึงของเคลือบฟันและเนื้อฟันภายหลังการฟอกสีฟันภายนอกด้วยวิธีทำในคลินิกร่วมกับให้ผู้ป่วยทำที่บ้าน หรือการฟอกสีฟันภายในตัวฟัน วิธีการ แบ่งฟันวัวซี่ตัดกลางออกเป็น 8 กลุ่มๆละ 10 ซี่ การฟอกสีฟันจากด้านนอกตัวฟันใช้สารฟอกสีฟันในความเข้มข้นต่างๆกันดังนี้ 1. 35 เปอร์เซ็นต์ ไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์ตามด้วย 10 เปอร์เซ็นต์คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์(E35H-10C) 2. 35 เปอร์เซ็นต์ ไฮโดรเจนเพอร์ ออกไซด์ตามด้วย 20 เปอร์เซ็นต์คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์(E35C-20C) 3. 35 เปอร์เซ็นต์คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์ตามด้วย 10 เปอร์เซ็นต์คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์(E35C-10C) 4. 35 เปอร์เซ็นต์คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์ตามด้วย 20 เปอร์เซ็นต์คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์(E35C-20C) โดยที่กลุ่มควบคุม (EC) ไม่ได้รับการฟอกสีฟัน ส่วนการฟอกสีฟันจากด้านในตัวฟันภายหลังการรักษารากฟันแล้ว 24 ชั่วโมงโดยใช้ส่วนผสมของโซเดียมเพอร์บอเรทกับ 35 เปอร์เซ็นต์ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์(ISP-35H) หรือโซเดียมเพอร์บอเรทกับน้ำกลั่น(ISP-W) ส่วนกลุ่มควบคุม(IC) ไม่ได้รับการฟอกสีฟัน วิธีการฟอกสีฟันปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต จากนั้นเตรียมชิ้นตัวอย่างเป็นรูปดัมเบลของเคลือบฟันที่มีพื้นที่หน้าตัดบริเวณส่วนแคบที่สุดมีขนาด 1.5x0.5 ตร.มม. และของเนื้อฟันมีขนาด 3x1 ตร.มม. แล้วนำมาหาค่าความทนแรงดึงด้วยเครื่อง Instron ตรวจสภาพพื้นผิวที่แตกหักด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราด ผลการทดลอง ค่าความทนแรงดึงเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(MPa)ของเคลือบฟันในแต่ละกลุ่มมีดังนี้ : EC = 30.51 ± 3.34 E35H-10C = 14.82 ± 2.33 E35H-20C = 10.64 ± 2.54 E35C-10C = 25.37 ± 3.40 E35C-20C = 20.30 ± 4.06 IC = 26.48 ± 4.08 ISP-35H = 13.60 ± 3.06 ISP-W = 21.10 ± 6 การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการเปรียบเทียบเชิงซ้อนด้วยวิธีของตูกีย์พบว่า ทุกกลุ่มที่ฟอกสีฟันภายนอกมีค่าความทนแรงดึงแตกต่างกันและต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) นอกจากนี้กลุ่มที่ฟอกสีฟันภายในตัวฟันก็มีค่าความทนแรงดึงแตกต่างกันและต่างจากกลุ่มควบคุมด้วยเช่นกัน (p < 0.05) ส่วนค่าความทนแรงดึงเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(MPa) ของเนื้อฟันในแต่ละกลุ่มมีดังนี้ : EC = 85.35 ± 3.03 E35H-10C = 58.87 ± 1.95 E35H-20C = 55.46 ± 2.20 E35C-10C = 70.79 ± 2.52 E35C-20C = 67.20 ± 3.26 IC = 85.88 ± 2.46 ISP-35H = 46.73 ± 2.77 ISP-W = 68.30 ± 4.42 การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการเปรียบเทียบเชิงซ้อนของตูกีย์พบว่า ทุกกลุ่มที่ฟอกสีฟันภายนอกมีค่าความทนแรงดึงแตกต่างกันและต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) นอกจากนี้กลุ่มที่ฟอกสีฟันภายในตัวฟันก็มีค่าความทนแรงดึงแตกต่างกันและต่างจากลุ่มควบคุมด้วยเช่นเดียวกัน (p < 0.05) ภาพถ่ายบริเวณพื้นผิวแตกหักพบว่าการใช้ไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์ที่มีความเข้มข้นมากขึ้นยิ่งทำให้เกิดรูพรุนทั้งในส่วนของเคลือบฟันและเนื้อฟันมากขึ้น สรุป การฟอกสีฟันทั้งภายนอกและภายในตัวฟันมีผลทำให้ค่าความทนแรงดึงของเคลือบฟันและเนื้อฟันลงลง
Other Abstract: Objective: To evaluate the tensile strength of enamel and dentin after extracoronal bleaching with in-office and home bleaching techniques or intracoronal bleaching. Methods: Extracted bovine incisors were divided into 8 groups of ten specimens. Extracoronal bleaching using different concentrations of hydrogen peroxide (H) and carbamide peroxide (C) were treated in each group : 1. 35%H and 10%C (E35H-10C) 2. 35% H and 20%C (E35H-20C) 3. 35%C and 10%C (E35-10C) 4. 35%C and 20%C (E35C-20C) and no bleaching in control group (EC). Intracoronal bleaching was performed after 24 hours of root canal treatment using either combination of sodium perborate and 35%H (ISP-35H) or sodium perborate and distilled water (ISP-W) or no bleaching in control group(IC). Bleaching techniques were operated as manufactures recommendations. Minidumbells of enamel and dentin with the cross-sectional central area of 1.5x0.5 mm2 and 3x1 mm2 respectively were prepared for tensile testing with lnstron machine. Fracture surfaces were examined using SEM. Results Tensile strengths (Means±SD) in MPa of enamel of each group were : EC = 30.51 ± 3.34 E35H-10C = 14.82 ± 2.33 E35H-20C = 10.64 ± 2.54 E35C-10C = 25.37 ± 3.40 E35C-20C = 20.30 ± 4.06 IC = 26.48 ± 4.08 ISP-35H = 13.60 ± 3.06 ISP-W = 21.10 ±6.39. With ANOVA and Tukey HSD test. It was found that the tensile strengths from all extracoronal bleaching groups were significantly different from one another and also from the control(p < 0.05). Similar results were obtained among intracoronal bleachng groups and the control(p < 0.05). Tensile strengths (Means±SD) in MPa of dentin of each group were : EC = 85.35 ± 3.03 E35H-10C = 58.87 ± 1.95 E35H-20C = 55.46 ± 2.20 E35C-10C = 70.79 ± 2.52 E35C-20C = 67.20 ± 3.26 IC = 85.88 ± 2.46 ISP-35H = 46.73 ± 2.77 ISP-W = 68.30 ± 4.42. With ANOVA and Tukey HSD test, it was found that the tensile strengths from all extracoronal bleaching groups were significantly different from one another and also from the control(p < 0.05). Similar results were obtained among intracoronal bleaching groups and the control(p < 0.05). Fracture surfaces showed that the higher the concentration of hydrogen peroxide. The higher the microporosity in both enamel and dentin. Conclusion : Extracoronal and intracoronal bleaching decreased the tensile strengths of both enamel and dentin.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23938
ISBN: 9741727593
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Janya_su_front.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open
Janya_su_ch1.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Janya_su_ch2.pdf8.55 MBAdobe PDFView/Open
Janya_su_ch3.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open
Janya_su_ch4.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open
Janya_su_ch5.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
Janya_su_back.pdf8.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.