Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23969
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิติยวดี บุญซื่อ
dc.contributor.authorยุพา ขนอนคราม
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-13T13:13:19Z
dc.date.available2012-11-13T13:13:19Z
dc.date.issued2520
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23969
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520en
dc.description.abstractสร้างแบบฝึกการเขียนแบบสร้างสรรค์ด้านร้อยกรองสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่สี่ และศึกษาความคิดเห็นของครูภาษาไทยในระดับประถมศึกษาที่มีต่อแบบฝึกที่สร้างขึ้น วิธีดำเนินงาน ผู้วิจัยได้ศึกษาทฤษฏีความคิดสร้างสรรค์และลักษณะแบบฝึกการเขียนแบบสร้างสรรค์ด้านร้อยกรองจากเอกสารและรายงานการวิจัยต่างๆ ตลอดจนศึกษาหลักสูตรและแบบเรียนวิชาภาษาไทยในระดับประถมศึกษาตอนต้น แล้วจึงทดลองสร้างแบบฝึกขึ้นโดยอาศัยแนวทฤษฏีความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ดเป็นหลัก จากนั้นผู้วิจัยได้นำแบบฝึกดังกล่าวไปปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาไทย เพื่อให้ช่วยพิจารณาเนื้อหาและลักษณะของแบบฝึกที่สร้างขึ้น หลังจากปรับปรุงแก้ไขด้านภาษาให้สละสลวยยิ่งขึ้นแล้ว จึงนำไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถมปีที่ห้า 2 คน และนักเรียนชั้นประถมปีที่สี่ 30 คน เพื่อปรับปรุงแก้ไขในด้านความยากง่ายและความเหมาะสมของแบบฝึก หลังจากที่ได้ปรับปรุงแบบฝึกแล้ว ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับแบบฝึกที่สร้างขึ้น โดยนำไปให้ครูภาษาไทยในโรงเรียนประถมของกรมสามัญศึกษาและโรงเรียนประถมสาธิต จำนวน 100 คน พิจารณาลักษณะความเหมาะสมของแบบฝึกดังกล่าว โดยวิธีประเมินค่า หลังจากนั้นได้นำรายการความคิดเห็นจากแบบสอบถามมาหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของครูในโรงเรียนทั้ง 2 สังกัด โดยการทดสอบค่า z ผลการวิจัย จากผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า ครูภาษาไทยในโรงเรียนประถมของกรมสามัญศึกษาและโรงเรียนประถมสาธิต ต่างมีความเห็นตรงกันว่า แบบฝึกการเขียนแบบสร้างสรรค์ด้านร้อยกรองนี้เป็นแบบฝึกที่นำไปใช้ประกอบการสอนเขียนร้อยกรองในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่สี่ได้อย่างเหมาะสมมาก ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของครูในโรงเรียนทั้ง 2 สังกัดปรากฏว่าไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01
dc.description.abstractalternativeTo construct a creative workbook on poetry writing for Prathom Suksa Four and also to study the opinion towards the usage of this workbook of the Language Arts Teachers in the Elementary Level. Procedures: In order to construct a particular workbook on poetry writing for the fourth grade level, the researcher had studied the Theories of Creativity from many text books and a number of Researches, including Guilford's ideas on Creativity Theory. Before the imple¬mentation of the workbook, the researcher took it to some of the Experts to get the approval on forms and content in it. After the researcher had made the first try out with 2 fifth grade students and 30 fourth grade students to gain the confidence on the performance, the researcher designed the questionnaires for 100 Language Arts Teachers in the Elementary Level in order to know whether it was valid and usable for the students in fourth grade. Those teachers were from the Government Elementary Schools and the Demonstration Schools. All data gathered were analysed. The z-test was used to discern differences in opinions between the teachers from the Government Elementary Schools and the Demonstration Schools. Results: The results of the analysis indicated that The Creative Poetry Writing Workbook was really suitable to be used for Prathom Suksa Four Students. The opinions of the teachers from both the Government Elementary Schools and the Demonstration Schools were the same on the quality and Validity of the workbook. There was no statistically significant difference between the mean of the rating-scale scores from each group, at the .01 level.
dc.format.extent527441 bytes
dc.format.extent589303 bytes
dc.format.extent1507016 bytes
dc.format.extent555472 bytes
dc.format.extent864308 bytes
dc.format.extent365855 bytes
dc.format.extent2853962 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการสร้างแบบฝึกการเขียนแบบสร้างสรรค์ด้านร้อยกรอง สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่สี่en
dc.title.alternativeการสร้างแบบฝึกการเขียนแบบสร้างสรรค์ด้านร้อยกรอง สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่สี่en
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yupha_Kh_front.pdf515.08 kBAdobe PDFView/Open
Yupha_Kh_ch1.pdf575.49 kBAdobe PDFView/Open
Yupha_Kh_ch2.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Yupha_Kh_ch3.pdf542.45 kBAdobe PDFView/Open
Yupha_Kh_ch4.pdf844.05 kBAdobe PDFView/Open
Yupha_Kh_ch5.pdf357.28 kBAdobe PDFView/Open
Yupha_Kh_back.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.