Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2400
Title: การศึกษาเพื่ออนุรักษ์ลายผ้าขิตจังหวัดยโสธร : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: A study of kit patterns reservation at Yasothorn Province
Authors: อรพินท์ พานทอง
นวลน้อย บุญวงษ์
ปัณฑิตา ตันติวงศ์
Email: Aurapin.P@Chula.ac.th
Nuannoy.B@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
Subjects: ลายผ้า
การทอผ้า--ไทย--ยโสธร
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทอผ้าขิดเป็นวัฒนธรรมการทอของชาวภูไทและชาวลาว ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดต่างๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในอดีตเป็นการทอผ้าเพื่อใช้ในชีวติประจำวันและงานประเพณีต่าง ๆ ในปัจจุบันมีการส่งเสริมการทอผ้าขิดเพื่อสร้างรายได้ให้กับประชากร ยโสธรเป็นจังหวัดหนึ่งที่ประสพความสำเร็จในการสนับสนุนให้ประชากรท้องถิ่นผลิตผลิตภัณฑ์จากผ้าขิด เช่น หมอนขิด ที่นอน เป็นต้น แต่ด้วยเหตุผลเชิงพาณิชย์การทอผ้าขิดในยโสธรเลือกเฉพาะลายที่ง่ายและสามารถผลิตได้รวดเร็ว ทำให้ละเลยลายที่มีความซับซ้อนหรือลายอื่น ๆ ในอดีต นอกจากนี้ยังไม่สนใจที่จะสร้างสรรลายใหม่ด้วย วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเพื่ออนุรักษ์ลายขิด ตลอดจนเทคนิคการทอขิดในจังหวัดยโสธร และเพื่อส่งเสริมให้มีการสืบทอด และถ่ายทอดสำนึกในด้านความงามของลายขิดในอดีตแก่ผู้ทอ ผู้ใช้ และประชากรทั่วไปในปัจจุบัน การวิจัยได้รวบรวมข้อมูลภาคเอกสารและการสำรวจภาคสนามจากจัวหวัดอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงด้านผ้าขิด ได้แก่ อุบลราชธานี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อุดรธานี และหนองคาย ข้อมูลที่ได้แบ่งเป็นข้อมูลผ้าขิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผ้าขิดในจังหวัดยโสธร สำหรับข้อมูลผ้าขิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผ้าขิดในอีสาน ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรม ชนิดและการนำผ้าขิดไปใช้ในโอกาสต่างๆ รวมถึงเทคนิคการทอในส่วนของผ้าขิดในจังหวัดยโสธร ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับผ้าขิดในจังหวัดยโสธร เน้นแหล่งทอผ้าขิด แหล่งผลิตผลิตภัณฑ์จากผ้าขิดและการจำแนกลายผ้าของขิด จากการศึกษาพบว่า เทคนิคการทอขิดและลวดลายขิดในหลายจังหวัดมีความคล้ายคลึงกัน จะมีความแตกต่างกันบ้างเฉพาะชื่อของลาย ซึ่งเกิดจากสำเนียงท้องถิ่น ความซับซ้อนของลายขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะตัวของผู้ทอ ซึ่งทำหน้าที่ออกแบบลายเอง ในการศึกษานี้ ได้จำแนกประเภทของลายขิดตามความซับซ้อนของลายจากการออกแบบเป็น 4 ประเภท คือ 1. ลายพื้นฐาน 2.ลายที่เลียนแบบสิ่งแวดล้อม 3. ลายผสม หรือลายขั้นสูง 4.ลายเพื่อกิจกรรมพิเศษ ผ้าขิดในจังหวัดยโสธร ปัจจุบันทอด้วยฝ้ายหรือใยสังเคราะห์ เช่น ฝ้ายใหม่ สี่ที่ใช้เป็นสีสังเคราะห์ ลวดลายในอดีตยังพอหาได้จากผ้าที่เก็บไว้โดยนักสะสมผ้าและผ้าเก่าที่เก็บไว้กับวัด สำหรับผ้าขิดจังหวัดอื่น ๆ ที่สำรวจประกอบการศึกษาในงานวิจัยนี้ มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้ อุบลราชธานี : เป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลาง และต้นกำเนิดของผ้าอีสานหลายประเภทมีพิพิธภัณฑ์ผ้า และยังมีการอนุรักษ์ลายของผ้าเก่า ผ้าขิดในปัจจุบันมีผลิตด้วยฝ้ายและไหม การย้อมมีทั้งสีธรรมชาติและสีสังเคราะห์ ลวดลายมีทั้งที่เป็นลายง่าย ๆ และลายที่มีความซับซ้อน มหาสารคาม : เป็นจังหวัดที่มีนักวิจัยท้องถิ่น ซึ่งทำการศึกษาและรวบรวมลายขิดของจังหวัดไว้ สำหรับผ้าขิดปัจจุบันยังคงทอเพื่อการใช้สอยในชีวิตประจำวันและในงานพิธีต่าง ๆ โดยนิยมทอด้วยผ้าฝ้าย และใช้สีสังเคราะห์รูปแบบของลาย เป็นลายง่าย ๆ ชัยภูมิ : เป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมเรื่องผ้าอย่างมาก เพราะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เชี่ยวชาญ และนักสะสมผ้าที่มีชื่อเสียง การผลิตผ้าขิดมีทั้งเพื่อการพาณิชย์และใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในส่วนที่ผลิตเชิงพาณิชย์ จะทอเป็นผ้าผืนเพื่อใช้ในการตกแต่งและใช้สอยในครัวเรือน เช่น ผ้าคลุมโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง โดยผลิตทั้งที่เป็นฝ้ายหรือไหม ย้อมด้วยสีธรรมชาติ หรือสีสังเคราะห์ รูปแบบของลายมีทั้งที่เป็นลายง่าย ๆ และลายที่ซับซ้อน กาฬสินธุ์ : เป็นจังหวัดที่มีกลุ่มชนชาวไทที่มีความสามารถพิเศษในการทอ และมีการพัฒนาการทอขิดชั้นสูง เรียกว่า "แพรวา" โดยสอดสีหลายสีในแนวเดียวกัน (ขิดทั่วไปจะเป็นสีเดียวในแนวเส้นพุ่งเดียวกัน) ลวดลายจะยากและซัยซ้อนและสวยงม นิยมทอด้วยไหมเท่านั้น การย้อมสีมีทั้งที่เป็นสีธรรมชาติ หรือสีสังเคราะห์ อุดรธาน๊ : เป็นจังหวัดที่ส่งเสริมการทอผ้าขอดในเชิงพาณิชย์ มีทั้งที่เป็นลายง่าย ๆ และลายซับซ้อน ผลิตเป็นผ้าเพื่อนำไปผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ และผ้าผืนสำหรับตัดชุดได้ด้วย (นอกจากนี้ยังนำเอาการทอขิดไปผสมกับเทคนิคการทออื่น ๆ ในผ้าผืนเดียวกัน) นิยมผลิตด้วยผ้าฝ้ายหรือใยสังเคราะห์ เช่น ฝ้ายไหม ใช้สีสังเคราะห์ มุกดาหาร, ร้อยเอ็ด และหนองคาย : ยังคงมีการทอขิดเพื่อใช้ในการชีวิตประจำวัน และงานพิธีต่าง ๆลวดลายทีทั้งที่เป็นแบบง่าย ๆ และที่ซับซ้อนขึ้นอยู่กับหน้าที่ใช้สอยของผ้าขิดทีทอ นิยมใช้ฝ้าย สีสังเคราะห์และสีธรรมชาติ การวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้ที่สนใจศึกษาเทคนิคและลวดลายของผ้าทอ โดยเฉพาะผ้าขิด และอาจนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ จากผ้าทอด้วย
Other Abstract: Kit-weaving is the cultural heritage of the Putai and the Laos who immigrated and selected down in serveral province in the Northestern part of Thailand. They weaved for their daily use and traditional festivals in the part. Recently, kit-weaving has been promoted in order to increase the population income. Tasothorn is one of the successful provinces that has supported the local population to produce many products from kit textile, for instance, Mon-Kit (traditional pillow), mattress and etcs. However, there are only simple kit-weaving patterns which take a short period of time have been produced in Yasothron because of the commercial reason. The others beautiful and complicated patterns in the past have beed ignored. Besides, they are not even interested in creating any new patterns. The purpose of this study were to reserve kit patterns, weaving techniques in Yasothorn as well as promoting their cultural heritage appreciation and reservation on all lod kit patterns to the weaver, the user and the society. The data were collected from research documents and survey from amny provinces where they are famous on kit-weaving, such as Ubonrajathani, Mahasarakarm, Roy-ed, Chaiyapoom, Karasin, Mukdahan, Udon-thani and Nongkai. The data were divided into two parts, kit-weaving in the Northeastern part of Thailand and Kit-weaving in Yasothorn Kit-weaving in Northeastern part of Thailand were included general infromation of kit textile, their beleive, culture and tradition, types and how to use kit textile in several occations, as well as kit-weaving technique. Kit-weving in Yasothorn were included kit textile in Yasothorn which concentrated on weaving areas, prodcution areas and the classification of kit patterns. It was founded that kit-weaving technique and kit patterns in many provinces were quite similar. Only the name of kit-patterns were different according to their dialects. The pattern complication was depended upon the weaver's ability who designed the pattern. This study has classified the kit patterns basedon the pattern complication into 4 groups. 1. Fundamental pattern 2. The pattern related to the environment 3. Mixed pattern or advanced pattern 4. The pattern for special occation. Kit textile in Yasothorn at the present made of cotton or synthetic fiber and dyeing with synthetic dyes. The kit patterns in the past was found from personal cloth collectors or old clothes which were kept at the temples. There are also interesting information about kit texile from other provinces. Ubonrajathani: The center and original different kinds of the Northeastern's textiles. There is textile museum and they also reserve the old-cloth's patterns. At the present, kit textile are made of cotton and silk. Fyeing with natural dyes and synthetic dyes. The patterns are available both simple and complicated patterns. Mahasarakarm: There are local researchers who studied and collected kit patterns. Kit textile now is made for dauly use and special occations. It usually made of cotton with synthetic dyes. The patterns are simple. Chaiyapoom : This province, textile is highly supported because the governor is the tectile specialist and also the famous textile collector. There are both-textile for commercial and for daily use. The commercial kit-textile is made for household-textile such as table-cloth, bed-overed cloth. The materials are cotton or silk dyeing with natural dye or synthetic dyes. The patterns are available both simple and complicated patterns. Karasin : The Putai in this province is highly capable on weaving. There is advanced kit-weaving called "Prair-war". They weave with several colors on the same line (usually only 1 color on 1 line). The patterns are complicated and beautiful. They use only silk and dyeing with natural dyes or synthetic dyes. Udonthani : They made kit-textile for commercial. There are both simple and complicated patterns. Kit-textiles here are made for household textile and for dress. It made of cotton and synthetic biber dyeing with synthetic dyes. Mukdahan, Roy-ed and Nongkai : There are kit-weaving only for daily use and special occation. There are both simple and complicated patterns depend upon the function of the cloths. Normally made of cotton and dyeing with natural dyes or synthetic dyes. This research would be utilized for one who interested in studying the technique and patterns of weaving textile especially kit-textile. It also would be benefit for applying and developing new products from weaving textile.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2400
Type: Technical Report
Appears in Collections:Arch - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aurapin(kit).pdf17.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.