Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24025
Title: ความแข็งแรงของผนังคอนกรีตกลวงสำเร็จรูปในการรับแรงด้านข้าง
Other Titles: Strength of precast hollow core concrete panels subjected to lateral loads
Authors: รักษ์ รักไทยดี
Advisors: เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ผนัง
ไฟไนต์เอลิเมนต์
คอนกรีตหล่อสำเร็จรูป
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แผ่นคอนกรีตกลวงสำเร็จรูปสามารถใช้ประกอบกันเป็นผนังของอาคารได้ เพื่อประหยัดเวลาในการก่อสร้างและยังให้ความแข็งแรงทางโครงสร้างเพื่อรับแรงด้านข้าง แต่เนื่องจากรูปหน้าตัดไม่เท่ากันตลอดเหมือนแผ่นคอนกรีตตันทั่วๆ ไป อีกทั้งยังมีรอยต่อระหว่างแผ่นที่ใช้วัสดุก่อที่แตกต่างออกไป จึงไม่สามารถวิเคราะห์อย่างง่ายๆ ได้ และต้องมีการศึกษาหากำลังและพฤติกรรมการรับแรงด้านข้างของผนังโดยใช้ขนาดเท่าของจริงด้วยวิธีการทดสอบและวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางไฟไนท์เอเลเมนท์ โดยกำหนดให้ผนังคอนกรีตกลวงสำเร็จรูปบรรจุในโครงข้อแข็ง เมื่อรับแรงกระทำภายนอกทางด้านข้าง จะถ่ายแรงเข้าผนังที่ผิวสัมผัส แรงปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงข้อแข็งกับผนังกระทำต่อด้วยการกระจายแบบสามเหลี่ยม ในการทดสอบจะแทนแรงกระจายรูปสามเหลี่ยมด้วยแรงเสมือนแบบจุด กระทำต่อผนังโดยตรง ตัวอย่างทดสอบเป็นกำแพงกลวงโดยมีความหนา 10 ซม. ส่วนที่กลวงหนา 5 ซม. ผนังทดสอบจะยาวแตกต่างกัน แต่มีความสูงหลังก่อแล้วเท่ากัน คือ 250.5 ซม. ทั้งนี้โดยให้สัดส่วนความยาวต่อความสูงมีค่าระหว่าง 0.60-1.40 ผลการทดสอบพบว่า กำลังของกำแพงจะมีความสัมพันธ์เป็นเส้นตรงกับการแอ่นตัวและความเครียดภายใน การวิบัติจะเกิดขึ้นจากรอยแตกร้าวตามแนวปูนก่อระหว่างแผ่น และการวิบัติจะเกิดขึ้นแบบกะทันหัน ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า การวิบัติจะเกิดจากการเฉือนผ่านรอยปูนก่อ กำลังของกำแพงจึงขึ้นอยู่กับกำลังการยึดเกาะของแนวปูนก่อเป็นสำคัญ ในการวิเคราะห์โดยวิธีไฟไนท์เอเลเมนท์ให้กำลังการรับแรงด้านข้างของผนังคอนกรีตกลวงสำเร็จรูปสอดคล้องกับผลการทดสอบเป็นอย่างดี และการวิบัติของผนังในการวิเคราะห์ ชี้บ่งออกมาในรูปของแรงเฉือนตามรอยปูนก่อ เช่นเดียวกับผลการทดลอง กำลังของผนังจากการทดลอง จะวิเคราะห์อย่างง่ายพบว่า กำลังของผนังรับแรงเฉือนจะมีค่าประมาณ 6 ตัน/เมตร หรือ 6 กก/〖ซม〗^2 ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับค่าหน่วยแรงเฉือนที่ยอมให้สำหรับกำแพงตาม ACI 318-83 คือ (0.87 √(f_c^1 ) ) / 1.5 เมื่อ f_c^1 คือ กำลังของปูนก่อ อายุ 28 วัน และค่าตัวคูณ 1.5 จากหน่วยแรงเฉือนสูงสุดที่แกนสะเทินของหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า และเนื่องจากผนังมีแรงกดควบคู่กับแรงทางข้าง จึงอาจคำนวณกำลังด้วยวิธีประมาณจาก P_h = c [ (3.48 √(f_(c )^1 ) Lt (L/H))/(6(L/H)- l ) ] และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทางแนวราบสูงสุด Δh = P_h/(0.09 (L/H)+0.094)Et ทั้งนี้เมื่อ Ph คือ กำลังรับแรงในแนวราบของผนัง (กก) C คือ แฟคเตอร์ลดกำลังเนื่องจากคุณภาพฝีมือมีค่าระหว่าง 0.60-0.75 L และ H คือ ความยาวและความสูงของผนัง (ซม) t คือ ความหนาหน้าตัดรวม (ซม) Δh คือ ค่าการเปลี่ยนรูปร่างทางแนวราบสูงสุด (ซม) และ E คือ โมดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีต (กก/ซม²) ผลการทดสอบเปรียบกับพยากรณ์โดยใช้สูตรของ Benjamin และ William ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้พื้นฐานการวิบัติด้วยแรงเฉือนที่รอยต่อ ให้ค่าสอดคล้องกับผลการทดสอบ โดยมีความแตกต่างประมาณ 25% และเมื่อเปรียบเทียบกับสูตร Turnsek, Cacovic และสูตรของอเนก ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้พื้นฐานการวิบัติด้วยหน่วยแรงดึงหลัก จะให้ค่าสูงกว่าประมาณ 16-77 % และ 70-220 % ตามลำดับ ทั้งนี้จะเห็นความแตกต่างมากสำหรับการวิเคราะห์โดยพื้นฐานการวิบัติที่หน่วยแรงดึง สืบเนื่องจากการวิบัติของผนังคอนกรีตกลวงสำเร็จรูปแตกต่างออกไปจากกำแพงก่ออิฐตันโดยที่การวิบัติจะเป็นการเฉือนผ่านปูนก่อแทนที่จะเป็นแรงดึงทแยง การวิจัยนี้ได้ตรวจสอบเสถียรภาพพบว่า ไม่มีการโก่งเดาะแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเพียงเฉพาะส่วนบางของผนังหรือทั้งแผง อีกทั้งในแนวดิ่ง แนวราบและแนวทแยง
Other Abstract: Hollow core precast panels are introduced in building construction for time saving in erection and providing lateral stiffness to the structure. The strength and behavior are quite complicated for analyses due to non-uniform cross-section and different in properties of mortar joint. The objective of this research is to focus on strength and behavior of the wall panel subjected to lateral loading by means of full scale testing and finite element analysis. Four wall panels made of hollow core precast were tested in this program. The test wall panels were kept at constant height of 250.5 cm. and the length were varied to give the ratio of length to height of 0.6 to 1.4. Since the interaction forces between infill and the frame are assumed to be triangular distribution on contact surfaces, equivalent concentrated loads are applied onto the test specimens by hydraulic jacks. Various measurements have been made such as loads, panel displacements, nodal strains, and lateral movement. The load-deflection curves as well as the load-strain curves are quite typical as straight lines with slightly deformation or strains. Mode of failure is the same in all test specimens as shear bond through mortar joint between the precast panels. The minimum strengths were obtained about 6 ton/m or 6 kg/cm². In analysis, the finite element method showed good agreement with the test results, especially, for the maximum loads, but the deformation from the prediction is relatively lower than that from the test . The mode of failure is also well agreeable between the analysis and the test. On the basis of shear strength recommended by ACI 318-83 for wall structure may be taken as (0.87 √(f_c^1 ) ) l.5 where f_c is substituted by compressive strength of mortar at age 28 days. The factor of l.5 is used due to the maximum shearing stress at neutral axis as considered. The horizontal strength of wall panels can be approximately estimated by P_h = c [ (3.48 √(f_(c )^1 ) Lt (L/H))/(6(L/H)- l ) ] and the maximum horizontal deformation can be calculated Δh = P_h/(0.09 (L/H)+0.094)Et where c is a reduction factor due to the workmanship, 0.60- 0.75 L and H are length and height of wall panels (cm), respectively t is the wall thickness (cm) and E is the concrete modulus of elasticity (kg/cm²)o The test results compared to the prediction by Benjamin and William are found to be 25 % different. They seems to agree each other since the analysis base on the same principle of shear strength of mortar join to The predictions by Turnsek and associate, and Anake which analysed on the basis of principal tensile stress are found to be far away from the test results. The discripencies are about 16-77 % different from Turnsek's prediction and about 70-220 % different from Anake's prediction. It should be noticed that the discripencies are due to the mode of failure and also about the panel cross-section,, The stability problem are evidently shown that buckling never occur in either each element or the whole panel and also in vertical, horizontal or even diagonal directions.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24025
ISBN: 9745668621
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ruck_Ru_front.pdf574.76 kBAdobe PDFView/Open
Ruck_Ru_ch1.pdf378.07 kBAdobe PDFView/Open
Ruck_Ru_ch2.pdf593.85 kBAdobe PDFView/Open
Ruck_Ru_ch3.pdf449.26 kBAdobe PDFView/Open
Ruck_Ru_ch4.pdf545.57 kBAdobe PDFView/Open
Ruck_Ru_ch5.pdf270.71 kBAdobe PDFView/Open
Ruck_Ru_back.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.