Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24027
Title: การดัดแปลงแบบสอบความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ สำหรับใช้นักเรียนไทยชั้นประถมปีที่เจ็ด
Other Titles: An adaptation of torrance tests of creative thinking for grade 7 Thai pupils
Authors: รังสิมา ศิริฤกษ์พิพัฒน์
Advisors: สวัสดิ์ ประทุมราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์จะดัดแปลงแบบสอบถามความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ แบตเตอรี่รูปภาพและภาษาเขียนให้เหมาะสม สามารถวัดความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ได้ โดยแบบสอบแบตเตอรี่รูปภาพมี 3 กิจกรรม คือ 1) การสร้างรูปภาพ 2) การเติมรูปภาพให้สมบูรณ์ 3) เส้นตรง ส่วนแบตเตอรี่ภาษาเขียนมี 7 กิจกรรม คือ 1) การตั้งคำถาม 2) การเดาหาสาเหตุ 3) การเดาผลที่จะเกิดขึ้นตามมา 4) การปรับปรุงผลผลิตให้ดีขึ้น 5) ประโยชน์ของสิ่งของ 6) การตั้งคำถามที่แปลกประหลาด 7) การสมมุติอย่างมีเหตุผล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ปีการศึกษา 2520 จากโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานครจำนวน 9 โรงเรียน คิดเป็นนักเรียนทั้งสิ้น 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาลักษณะสำคัญของแบบสอบ คือ อำนาจจำแนก ความเที่ยง และความตรง ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ คือ 1) อำนาจจำแนกของแบบสอบแบตเตอรี่รูปภาพมีค่าระหว่าง 0.083 ถึง 0.942 ส่วนแบตเตอรี่ภาษาเขียนมีค่าระหว่าง 0.039 ถึง 0.727 2) ความเที่ยงของแบบสอบทั้งสองแบตเตอรี่ มีค่าระหว่าง 0.714 ถึง 0.872 3) ความตรงของแบบสอบ เมื่อใช้คะแนนผลสัมฤทธิ์ในวิชาต่างๆ เป็นเกณฑ์ เมื่อใช้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์เป็นเกณฑ์ แบตเตอรี่รูปภาพ คะแนนความคิดสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์ในทางลบ โดยมีค่าความตรงระหว่าง -0.100 ถึง -0.135 แบตเตอรี่ภาษาเขียน คะแนนความคิดสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์ในทางบวก โดยมีค่าความตรงระหว่าง 0.121 ถึง 0.202 เมื่อใช้คะแนนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นเกณฑ์ แบตเตอรี่รูปภาพ คะแนนความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์อย่างไม่มีนัยสำคัญ แบตเตอรี่ภาษาเขียน คะแนนความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าความตรงระหว่าง 0.263 ถึง 0.322 เมื่อใช้คะแนนศิลปศึกษาเป็นเกณฑ์ แบตเตอรี่รูปภาพ คะแนนความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าความตรงระหว่าง 0.200 ถึง 0.293 แบตเตอรี่ภาษาเขียน คะแนนความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์อย่างไม่มีนัยสำคัญ เมื่อใช้คะแนนวิชาดนตรีเป็นเกณฑ์ แบตเตอรี่รูปภาพ คะแนนความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์อย่างไม่มีนัยสำคัญ แบตเตอรี่ภาษาเขียน คะแนนความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าความตรงระหว่าง 0.206 ถึง 0.261 เมื่อใช้คะแนนวิชาภาษาเป็นเกณฑ์ แบตเตอรี่รูปภาพ คะแนนความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์อย่างไม่มีนัยสำคัญ แบตเตอรี่ภาษาเขียน คะแนนความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าความตรงระหว่าง 0.208 ถึง 0.287 4) ความตรงของแบบสอบ เมื่อใช้คะแนนความถนัดทางการเรียนเป็นเกณฑ์ เมื่อใช้คะแนนความสามารถทางการหาเหตุผลเป็นเกณฑ์ คะแนนความคิดสร้างสรรค์ของแบบสอบทั้งสองแบตเตอรี่ มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าความตรงระหว่าง 0.123 ถึง 0.149 และ 0.219 ถึง 0.244 เมื่อใช้คะแนนความสามารถทางตัวเลขเป็นเกณฑ์ แบตเตอรี่รูปภาพ คะแนนความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์ในทางลบ โดยมีค่าความตรง -0.169 แบตเตอรี่ภาษาเขียน คะแนนความคิดสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์ในทางบวก โดยมีค่าความตรงระหว่าง 0.220 ถึง 0.255 เมื่อใช้คะแนนความสามารถทางภาษาเป็นเกณฑ์ แบตเตอรี่รูปภาพ คะแนนความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์อย่างไม่มีนัยสำคัญ แบตเตอรี่ภาษาเขียนคะแนนความคิดสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีความแตกต่างระหว่าง 0.219 ถึง 0.261 เมื่อใช้คะแนนความสามารถทางมิติสัมพันธ์เป็นเกณฑ์ แบตเตอรี่รูปภาพ คะแนนความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีความตรงระหว่าง 0.214 ถึง 0.249 แบตเตอรี่ภาษาเขียนคะแนนความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์อย่างไม่มีนัยสำคัญ
Other Abstract: The purpose of this study was to adapt the Torrance Tests of Creative Thinking Figural Battery and Verbal Battery so that they can be effectively used for measuring the creative Thinking of grade 7 students. Figural Battery consists of 3 activities, they were 1) Picture Construction 2) Picture Completion 3) Lines and Verbal Battery consists of 7 activities they were 1) Asking 2) Guessing Causes 3) Guessing Consequences 4) Product Improvement 5) Unusual Uses (Cardboard Boxes) 6) Unusual Questions 7) Just Suppose A sample of 400 students were drawn from 9 schools under the Department of general Education in academic year of 1977. Characteristically, the analyses based upon 3 classified values of 1) Power of Discrimination 2) Reliability and 3) Validity Major finding were as follows : 1) Power of Discrimination of Figural Battery was between 0.083 and 0.942 and that of the Verbal Battery was between 0.942 and 0.727 2) Reliability of both batteries were between 0.714 and 3) Validity were vary, when the scores of the achievement test of various subjects were used as criteria. a) Mathematic scores as criterion the Figural Battery was negatively correlated with the criterion, the validity was between - 1.00 and - 0.135. The Verbal Battery was positively correlated with the criterion, the validity was between 0.121 and 0.202. b) Sciences scores as criterion the correlation between the Figural Battery and the criterion was not statistically significant. The correlation between the Verbal Battery and the criterion was statistically significant, the validity was between 0.263 and 0.322. c) Arts scores as criterion the correlation between the Figural Battery and the criterion was statistically significant the validity was between 0.200 and 0.290. The correlation between the Verbal Battery and the criterion was not statistically significant. d) Music scores as criterion the correlation between the Figural Battery and the criterion was not statistically significant. The correlation between Verbal Battery and the criterion was statistically significant, the validity was between 0.206 and 0.261 e) Linguistics scores as criterion the correlation between the Figural Battery and the criterion was not statistically significant. The correlation between Verbal Battery and the criterion was statistically significant, the Validity was 0.208 and 0.287. 4) Values of Validity were vary, when the scores of scholastic aptitude test were used as criterion. a) Reasoning scores as criterion the correlation between both batteries and criterion were statistically significant the validity of Figural Battery was from 0.123 to 0.149 and the validity of Verbal Battery was from 0.219 to 0.244. b) Numerical scores as criterion the Figural battery was negatively correlated with the criterion, the validity was -0.169. The Verbal Battery was positively correlated with the criterion, the validity was between 0.220 and 0.255. c) Verbal scores as criterion the correlation between the Figural Battery and the criterion was not statistically significant. The correlation between the Verbal Battery and the criterion was statistically significant, the validity was between 0.219 and 0.261. d) Space Relations scores as criterion the correlation between the Figural Battery and the criterion was statistically significant, the validity was 0.241 and 0.249. The Verbal Battery and the criterion was not statistically significant.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24027
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungsima_Si_front.pdf557.24 kBAdobe PDFView/Open
Rungsima_Si_ch1.pdf588.18 kBAdobe PDFView/Open
Rungsima_Si_ch2.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Rungsima_Si_ch3.pdf737.29 kBAdobe PDFView/Open
Rungsima_Si_ch4.pdf637.41 kBAdobe PDFView/Open
Rungsima_Si_ch5.pdf651.69 kBAdobe PDFView/Open
Rungsima_Si_back.pdf837.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.