Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24085
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ขวัญดี รักพงศ์ | |
dc.contributor.advisor | พัทยา สายหู | |
dc.contributor.author | ประอรรัตน์ บูรณมาตร์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-14T09:06:38Z | |
dc.date.available | 2012-11-14T09:06:38Z | |
dc.date.issued | 2523 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24085 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาบทละครประวัติศาสตร์ ของ หลวงวิจิตรวาทการเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคม กล่าวคือ สังคมในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามมีอิทธิพลต่อบทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ และบทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ มีอิทธิพลต่อสังคมสมัยนั้น เนื้อหาในวิทยานิพนธ์แบ่งเป็น 7 บาท บทที่หนึ่งเป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา บทที่สอง ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคม ซึ่งต่างก็มีอิทธิพลต่อกันและกัน บทที่สาม กล่าวถึงสภาพสังคมในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2481 – 2487 เป็นยุคแห่งการสร้างชาติให้เป็นมหาอำนาจ มีการปฏิวัติวัฒนธรรมใหม่ และมีนโยบายในการปกครองโดยใช้ “ลัทธิชาตินิยม” ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2500 เป็นยุคที่ลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังก่อตัวขึ้นในประเทศไทย รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะต่อต้านและปราบปรามลัทธิคอมมิวนิสต์โดยใช้ “ลัทธิชาตินิยม” อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงบทบาทของหลวงวิจิตรวาทการในฐานะที่เป็นนักการเมือง นักประวัติศาสตร์และนักประพันธ์ บทที่สี่ เน้นให้เห็นสภาพสังคมในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่มีอิทธิพลต่อบทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ กล่าวคือ ในช่วงแรกซึ่งเป็นยุคแห่งการสร้างชาติให้เป็นมหาอำนาจ รัฐบาลพยายามปลูกฝังความคิดเกี่ยวกับลัทธิชาตินิยมให้แก่ประชาชนทุกวิถีทาง หลวงวิจิตรวาทการ ในฐานะที่เป็นอธิบดีกรมศิลปากร ได้รับมอบหมายให้ปลูกต้นรักชาติขึ้นที่กรมศิลปากร จึงแต่งบทละครประวัติศาสตร์ ซึ่งล้วนมีแนวคิดสำคัญในการปลุกใจให้รักชาติทั้งสิ้น ส่วนสภาพสังคมในช่วงที่ 2 เป็นยุคแห่งการต่อต้านและปราบปรามลัทธิคอมมิวนิสต์ บทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการจึงกลับมาพร้อมกับ “ลัทธิชาตินิยม” อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึง บทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ กับการสะท้อนภาพสังคมบางเสี้ยวในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม บทที่ห้า เป็นการวิเคราะห์บทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ ในด้านประเภทของบทละคร แก่นเรื่อง โครงเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา ฉาก และกลวิธีในการแต่งที่ทำให้ประชาชนคนดูส่วนใหญ่สนุกสนานเพลิดเพลิน เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ในขณะเดียวกันก็ซึมซับ เอาความคิดเกี่ยวกับลัทธิชาตินิยมเข้าไปด้วย พร้อมกันนั้นก็กล่าวถึงลักษณะเด่นของบทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งเป็นที่นิยมของประชาชนในยุคสมัยหนึ่ง ส่วนบทที่หก ว่าด้วยอิทธิพลของบทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการที่มีต่อคนในสังคมสมัยนั้นและสืบต่อมาจนถึงสังคมสมัยปัจจุบัน (2523) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ อิทธิพลโดยตรง คือ แนวความคิดสำคัญที่ปลุกใจให้รักชาติ มีอิทธิพลต่อคนในสังคมในช่วงที่หลวงวิจิตรวาทการเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเท่านั้น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง บทละครไม่เป็นที่นิยมและไม่สามารถปลุกใจได้เหมือนในยุคแรก นอกจากนั้นเนื้อเรื่องในบทละครยังมีผลทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจประวัติศาสตร์ของชาติไทยตามประวัติศาสตร์ชาตินิยมของหลวงวิจิตรวาทการ ส่วนอิทธิพลโดยอ้อม คือ เพลงปลุกใจ และสำนวนต่าง ๆ ในบทละคร ซึ่งนอกจากจะมีอิทธิพลต่อคนในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามแล้ว ในยุคต่อมาจนถึงปัจจุบันก็ยังมีการเปิดเพลงปลุกใจของหลวงวิจิตรวาทการอยู่เสมอ ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะคับขัน ส่วนสำนวนต่าง ๆ ในบทละครที่คนจำได้และพูดติดปากมาจนถึงปัจจุบันก็มีไม่น้อย นอกจากนั้นบทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการยังมีอิทธิพลต่อแนวความคิดในการทำละครอิงประวัติศาสตร์ในยุคต่อมา บทสุดท้าย เป็นผลสรุปของการวิจัย สรุปได้ว่าสภาพสังคมในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีอิทธิพลต่อบทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ ทั้งในด้านเป็นแรงผลักดันให้เกิดบทละคร ใช้บทละครนี้เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการปลูกฝังความคิดเกี่ยวกับ “ลัทธิชาตินิยม” สู่มวลชน อีกทั้งส่งเสริมบทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการให้เฟื่องฟูขึ้น ในขณะเดียวกันบทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการก็มีอิทธิพลต่อคนในสังคมสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม และสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันแต่เป็นอิทธิพลโดยอ้อมมากกว่าโดยตรง การศึกษาบทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการจึงแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคมที่มีอิทธิพลต่อกันและกันได้อย่างเด่นชัด | |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims at studying Luang Vichit Vadaken’s historical plays, particularly in the light of the relationship between literature and society, as the political and social milieu under Field Marshal Phibulsongkram’s regime had an immense influence upon Luang Vichit’s plays and Luang Vichit’s plays, on the other hand, helped to shape concepts and patterns of thought of the public. To make the subject matter clear, the writer have divided the thesis into seven chapters. The first chapter introduces the problem. The second discusses the relationship between literature and society : how they influence each other. The third chapter probes into the two phases of Field Marshal Phibulsongkram’s policy to mobilize nationalism. The first phase of nationalism (2481 – 2487 B.E.) was the period of building great national power and cultural reformation. Then came the second phase of nationalism (2490 – 2500 B.E.) when the government felt the urge to emasculate Communism, a memacing threat to national security. Luang Vichit, as a politician, a historian, and a writer, played an impressive role in identifying himself voluntarily with the government’s policy of nationalism. Chapter four emphasizes the social forces which influenced Luang Vichit’s historical plays. In the first phases of nationalism and building great national power, Luang Vichit, then the Director of the Department of Fine Arts, was assigned to plant ‘Ton Rak Chat, (the Love Thy Nation plant) about his Department’s compound. He was so inspired that he wrote many historical plays, all of which concentrate on one single purpose – to arouse the patriotic sentiment among his audience. In the later phase of the government’s nationalistic policy, the plays served, to a larger extent, as an effective means to evoke public antagonism against the communists. More discussed in the chapter are some parts of social life under Premier Phibulsongkram as reflected in Luang Vichit’s historical plays. Chapter five analyses and evaluates Luang Vichit’s historical plays as literary art. Each play is examined in detail : genre, theme, plot, characterization, dramatization, setting and, most important, Luang Vichit’s effective technique of ‘sweetening the pill’ ; as the plays delight the heart with entertainment as well as they elevate the mind to patriotism. The distinctive features which made his plays most popular in his time are also discussed. Chapter six treats how Luang Vichit’s historical plays have affected his contemporary and today’s mind 2523 B.E. The plays had an immediate influence in ingraining patriotism among the public only before the Second World War, at the time Luang Vichit was the Director of the Department of Fine Arts. After the war, the plays were less popular, unable to maintain its grip on the public. Nevertheless, Luang Vichit’s historical plays, despite some imaginative exaggeration and distortion of fact to aggrandize the Thai nation, have played an important role in the comprehension of Thai history. Besides the immediate influence, is the residued influence Luange Vichit’s patriotic songs and Witty slogans from the plays have more or less clung on the lips of Thai people since Field Marshal Phibulsongkram’s rule until now. Especially at the times of national crisis when patriotism is an essential [equipment,] the songs and slogans are used again and again. They have become symbols of nationalism. Luang Vichit’s historical plays themselves have contributed to the conception of later historical plays. The last chapter gives the conclusion. The social circumstances under Premier Phibulsongkram played an influential role on Luang Vichit’s literary works : the governemnt’s policy inspired the main ideas of his historical plays ; the plays were used as implement to ingrain public nationalism, thus, were fully supported and fostered by the government. On the other hand, Luang Vichit’s historical plays have shown influence upon the people them and now. This study of Luang Vichit’s historical plays underlines the fact literature occurs in a social context, as a part of culture, in a social milieu, that it not merely reproduces life of the given society but also, more or less, helps to shape it. Hence, literature and society are two autonomies which are closely related to each other. | |
dc.format.extent | 695562 bytes | |
dc.format.extent | 454594 bytes | |
dc.format.extent | 721487 bytes | |
dc.format.extent | 4392835 bytes | |
dc.format.extent | 2529482 bytes | |
dc.format.extent | 3353455 bytes | |
dc.format.extent | 822482 bytes | |
dc.format.extent | 453544 bytes | |
dc.format.extent | 2585753 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | วิเคราะห์บทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ | en |
dc.title.alternative | The analysis of Luang Vichit Vadakan' historical plays | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pra-ornrat_Bu_front.pdf | 679.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pra-ornrat_Bu_ch1.pdf | 443.94 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pra-ornrat_Bu_ch2.pdf | 704.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pra-ornrat_Bu_ch3.pdf | 4.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pra-ornrat_Bu_ch4.pdf | 2.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pra-ornrat_Bu_ch5.pdf | 3.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pra-ornrat_Bu_ch6.pdf | 803.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pra-ornrat_Bu_ch7.pdf | 442.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pra-ornrat_Bu_back.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.