Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24104
Title: ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Efficiency of space utilization of Chulalongkorn University buildings
Authors: ประเสริฐ แสงวชิระภิบาล
Advisors: ชุมพล สุรินทราบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การจัดสิ่งอำนวย[ความสะดวก]ทางกายภาพเพื่อสนองตอบกิจกรรมต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากค่าก่อสร้างอาคารได้สูงขึ้น การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่อาคารประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเป็นทางหนึ่งที่ช่วยลดการสูญเปล่าลงได้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่มีโปรแกรมการศึกษาและกิจกรรมหลาย ๆ ลักษณะครบถ้วน และในปี 2517 ได้มีการสำรวจอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคณะ แต่มิได้มีการศึกษาประเมินผลถึงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารการศึกษาปัญหาและสาเหตุของการใช้ประโยชน์อาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเป็นประโยชน์กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยตรง และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในประเทศได้ด้วย การศึกษาการใช้ประโยชน์อาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาการใช้ประโยชน์อาคารของอาคารของ 13 คณะ และพื้นที่อาคารในสำนักงานอธิการบดี โดยแบ่งเป็นพื้นที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน และพื้นที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน, พื้นที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนได้วิจัยพื้นที่ห้องเรียน, ห้องปฏิบัติการ, ห้องวิจัย, ห้องบริหารและสำนักงานและพื้นที่ใช้ประโยชน์ทั่วไป, พื้นที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนได้วิจัยพื้นที่ห้องสมุด ห้องพักผ่อนนิสิต ห้องบริการกิจกรรมนิสิต และสถานพยาบาล การศึกษาประเมินผลการใช้ประโยชน์ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ ได้ศึกษาถึงอัตราการใช้ห้อง อัตราการใช้พื้นที่และหาค่าประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์รายห้องโดยการวิเคราะห์ทางสถิติ และหาค่าพื้นที่ที่ต้องการตามมาตรฐานรวม โดยคำนวณพื้นที่จากจำนวนชั่วโมงนิสิตในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ จากการวิเคราะห์รายวิชาของสถิติรายวิชา การประเมินผลการใช้ประโยชน์พื้นที่ห้องอื่น ๆ จากอัตราส่วนร้อยละของพื้นที่ที่ต้องการตามมาตรฐานกับพื้นที่ที่มีอยู่จริง ผลการวิจัยประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนเป็นดังนี้คือ ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 37.28 อัตราการใช้ห้องเรียนเฉลี่ยร้อยละ 52.70 อัตราการใช้พื้นที่ห้องเรียนเฉลี่ยร้อยละ 38.79 เนื่องจากการใช้ห้องเรียนไม่สม่ำเสมอกัน ค่าเฉลี่ยจำนวนชั่วโมงที่ใช้ห้องเรียนต่ำมากและอัตราส่วนจำนวนขนาดห้องเรียนขนาดต่าง ๆ ไม่สัมพันธ์กับอัตราส่วนจำนวนขนาดของกลุ่มนิสิต คือจำนวนห้องเรียนขนาดเล็กมีน้อย ห้องเรียนขนาดใหญ่มีมาก แต่จำนวนกลุ่มนิสิตขนาดเล็กมีมาก จำนวนกลุ่มนิสิตขนาดใหญ่มีน้อย ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ห้องปฏิบัติการมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 63.40 อัตราการใช้ห้องปฏิบัติการเฉลี่ยร้อยละ 43.68 อัตราการใช้พื้นที่ห้องปฏิบัติการเฉลี่ยร้อยละ 95.39 เนื่องจากห้องปฏิบัติการในระดับปลายต้องใช้ตามลักษณะวิชาซึ่งมีจำนวนชั่วโมงการใช้ห้องต่ำมาก ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่บริหารและสำนักงานมีค่าร้อยละ 79.96 ซึ่งต่ำกว่าค่าที่เหมาะสมเล็กน้อย แต่บางคณะมีพื้นที่ไม่เพียงพอ พื้นที่ใช้ประโยชน์ทั่วไปมีค่าประสิทธิภาพต่ำมาก ผลการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนเป็นดังนี้คือ การใช้ประโยชน์ห้องสมุดมีเพียง 2 คณะ ที่มีค่าการใช้ที่เหมาะสม และหอสมุดกลางยังมีพื้นที่ไม่เพียงพอ ห้องพักผ่อนนิสิตและห้องบริการกิจกรรมนิสิตอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม สถานพยาบาลยังมีพื้นที่ไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของพื้นที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน โดยเฉพาะห้องเรียนและห้องปฏิบัติการโดยการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบการจัดการใช้ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการกลางในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้มีศักยภาพในการจัดการเพิ่มจำนวนชั่วโมงการใช้ห้องเรียน เพื่อทำให้อัตราการใช้ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการสูงขึ้น การจัดลงทะเบียนล่วงหน้า และการจัดขนาดของห้องเรียนให้เหมาะสมกับขนาดของกลุ่มและมีความยืดหยุ่นได้ จะเป็นแนวทางในการเพิ่มอัตราการใช้ห้องและอัตราการใช้พื้นที่ห้องเรียนได้ การเพิ่มอัตราการใช้ห้องปฏิบัติการควรทำให้ระดับต้น โดยการจัดการใช้ห้องปฏิบัติการทั่วไปเป็นส่วนกลาง เช่นเดียวกับห้องเรียน แต่ห้องปฏิบัติการเฉพาะลักษณะวิชาในระดับสูงนั้น ไม่สามารถทำได้สำหรับการใช้ประโยชน์พื้นที่ประเภทที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนนั้น พื้นที่ห้องพักผ่อนนิสิตและพื้นที่บริการกิจกรรมนิสิตอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมแล้ว แต่ต้องปรับปรุงบางคณะเท่านั้น พื้นที่ห้องสมุดและสถานพยาบาลยังไม่เพียงพอควรสร้างเพิ่มเติม ในการวิจัยครั้งต่อไปควรหาค่าจำนวนชั่วโมงการใช้ห้องเรียน และห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมาตรฐานพื้นที่ประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อน จึงศึกษาหาประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาถึงวิธีการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปอีกด้วย
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24104
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasert_Sa_front.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Sa_ch1.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Sa_ch2.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Sa_ch3.pdf5.9 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Sa_ch4.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Sa_ch5.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Sa_back.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.