Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2414
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรณรงค์ โชติวรรณ | - |
dc.contributor.advisor | วิฑูรย์ โล่ห์สุนทร | - |
dc.contributor.author | ประสงค์ รัศมียูงทอง, 2507- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-09-12T07:07:10Z | - |
dc.date.available | 2006-09-12T07:07:10Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9741700172 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2414 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาสถานการณ์ ลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดโรคเลปโตสไปโรซิสในจังหวัดสระบุรี เก็บข้อมูลเดือนกุมภาพันธุ์ 2545 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยช่วง พ.ศ. 2541-2544 จาก รง.506 จำนวน 177 คน และจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและไม่ป่วยอัตราส่วน 1:2 ได้จำนวน 133:266 คน รวม 399 คน ผลการวิจัยพบว่าสถานการณ์อัตราป่วยลดลงไม่ชัดเจน อัตราป่วยตายลดลงจากอดีต ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยเพศชาย วัยแรงงาน อายุ 25-34 ปี อาชีพเกษตรกร ช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม อยู่ในอำเภอซีกตะวันตกของจังหวัด ที่เป็นที่ราบลุ่มทำนาและน้ำท่วมขัง ซีกตะวันออกพบน้อย เป็นที่ราบสูงลาดเนินและป่าเขา พื้นที่มีอัตราป่วยสูงประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ สัมผัสน้ำมากกว่า 6 ชั่วโมง มีบาดแผลฉีกขาดและถลอก ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อและความรุนแรงของโรคต่ำ บริเวณบ้านและที่ทำงาน มีน้ำท่วมขัง/ดินเปียกชื้น มีคอกสัตว์ในบริเวณบ้าน เดินทางไปถนนใหญ่โดยการเดินตามทางเท้าไร่/นา/สวนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ พฤติกรรมที่ต้องสัมผัสน้ำ การมีบาดแผล การไม่ป้องกันตนเองเมื่อมีบาดแผล บาดแผลชนิดถลอกและฉีกขาด การไม่ใส่รองเท้า การฆ่าหนู ยังต้องทำงานเมื่อมีบาดแผล การติดพลาสเตอร์ที่บาดแผลเมื่อต้องสัมผัสน้ำหรือดินที่ชื้นแฉะ บ้านพักอาศัยและสถานที่ทำงานมีน้ำท่วมขัง/ดินเปียกแฉะ หอยเชอรี่ชุกชุม ทางเดินไปสู่ถนนใหญ่ที่เป็นพื้นดินตามไร่/นา/สวน การสัมผัสแอ่งน้ำขังเมื่อต้องเดินผ่าน ความชุกชุมของหนูจากร่องรอยการทำลายของหนู ปัจจัยที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างผู้ป่วยกับไม่ป่วย ได้แก่ การสัมผัสน้ำไหลเอื่อย ทำสวน หาปลา ล่าหนู ลอกสระ/คู/คลอง ความถี่การเกิดบาดแผล ความถี่การทำงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะเมื่อมีบาดแผล จากการศึกษานี้ เพื่อเป็นแนวทางป้องกันโรคควรเพิ่มความรู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโรคเลปโตสไปโรซิสแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยง การปรับปรุงบริเวณบ้านและที่ทำงานไม่ให้มีแหล่งน้ำขัง/ดินเปียกชื้น คอกสัตว์ควรอยู่นอกบริเวณบ้าน ทางเดินไปสู่ถนนใหญ่ควรตัดหญ้าให้โล่งเตียน | en |
dc.description.abstractalternative | Describes the epidemiologic situation and identify factors related to Leptospirosis occurrence in Saraburi Province during 1998-2001. Reports 506 and related disease investigation documents of 177 leptospirosis cases, and detailed information from 133 leptospirosis cases and 266 health persons were used in identifying related factors of the disease occurrence. Results of the analysis showed decreasing trend of leptospirosis incidence rate and also decrease in the disease case fatality rate during 1998-2001. Majority of the cases were male agricultural workers, aged between 25-34 years, and residing in the western part (wet and rice-farming area) of the province. Their houses and work areas were wet and swampy, with animal pen underneath the houses. They had minimal knowledge about leptospirosis. Most of them had wounds/abrasion and contacted with water for more than 6 hours a day. Factors significantly associated with the disease occurrence included water contact behavior, not protecting oneself upon havingan injury, abrasive and lacerated wound, rat hunting, staying or working in wet, using bandage to cover wound when working in wet place, and swampy area where the golden apple snails and rats are prevalent, and travel on foot to the farm. Comparison between leptospirosis cases and healthy controls showed that they were significantly different in history of contact with slow-running water, being a gardener, fishing behavior, dredging pond/ canal behavior, frequency of having injury, frequency of working in water/wet area when having wound. In conclusion, resent study point out that leptospirosis occurrence in Saraburi Province may be prevented by educating the high-risk people about appropriate disease prevention behavior, eliminating swamps around houses, and work place, isolating animal pens from hourses, and clearing/moving path from house to main road. | en |
dc.format.extent | 1664913 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เลปโตสไปโรซิส--ระบาดวิทยา | en |
dc.subject | เลปโตสไปรา | en |
dc.title | สถานการณ์ระบาดวิทยาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดโรคเลปโตสไปโรซิส ในจังหวัดสระบุรี | en |
dc.title.alternative | Epidemiologic situation and factors related to leptospirosis in Saraburi Province | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | เวชศาสตร์ชุมชน | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Pornarong.C@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Vitool.L@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prasong.pdf | 877.53 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.