Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24173
Title: | การศึกษาในสังคมไทย พ.ศ. 2411-พ.ศ. 2475 |
Other Titles: | Education in Thai society 1868-1932 |
Authors: | วารุณี โอสถารมย์ |
Advisors: | สมบัติ จันทรวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2524 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาสำคัญสองประเด็น ประเด็นแรก คือ ระบบการศึกษาแบบสมัยใหม่ที่รัฐจัดการขึ้นในช่วง พ.ศ.2411 – 2475 โดยพิจารณาถึงพัฒนาการของกระบวนการทางการศึกษา ได้แก่ แนวความคิด รูปแบบและการจัดการ ประเด็นที่สอง เป็นความพยายาม ศึกษาถึงผลกระทบของระบบการศึกษาแบบใหม่ที่มีผลต่อโครงสร้างสังคมไทย โดยเฉพาะเป็นปัจจัยที่มีส่วนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 โดยที่ผู้นำรัฐไม่สามารถควบคุมได้ แนวความคิดที่ใช้ในการศึกษาปัญหาดังกล่าวนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่า การศึกษาไม่ว่าสังคมใดก็ตาม ย่อมมีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการฝึกหัดพลเมืองในสังคมนั้น ให้มีความรู้ในการดำเนินชีวิตตามอุดมการณ์ความเชื่อทางสังคมยุคนั้น สำหรับสังคมไทยก็เช่นกัน(ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นสมัยที่สังคมไทยต้องเผชิญหน้ากับการขยายตัวของอิทธิพลจักรวรรดินิยมชาติตะวันตก ผู้นำรัฐในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงต้องดำเนินการปฏิรูประบบบริหารราชการ เพื่อรวมศูนย์อำนาจทางการเมือง สร้างอำนาจรัฐชาติขึ้น เป็นเหตุให้มีการนำเอาระบบการศึกษาแบบใหม่เข้ามาใช้แทนที่ระบบการศึกษาแบบเก่าที่มีอยู่ในสังคม) การศึกษาแบบใหม่ที่รัฐจัดการขึ้นนี้ มีโครงสร้างการศึกษาที่เป็นการวางเป้าหมายทางการศึกษา เพื่อถ่ายทอดความสำนึกทางชนชาติ และสร้างใหม่นี้ มีบทบาทในการสร้างบุคลากรป้อนระบบราชการอย่างได้ผล ในขณะที่นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐไม่ได้ให้ความสนใจต่อการศึกษาวิชาชีพเลย ทั้งที่การศึกษาในสายนี้จะมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นฐานของรัฐ แต่เนื่องจากเวลานั้นระบบราชการแบบใหม่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วมีการรับข้าราชการเข้าไปเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดการขยายตัวของชนชั้นข้าราชการรุ่นใหม่ ที่มีอุดมการณ์ทางสังคมไปไกลเกินกว่าที่ผู้นำรัฐจะควบคุมไว้ได้ จนกระทั่งผู้นำรัฐต้องหาทางสกัดกั้นสภาวการณ์เช่นนี้ แต่ก็ไม่ทันการ เมื่อประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาทางสังคมและสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสาเหตุผลักดันให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มข้าราชการรุ่นใหม่กับอำนาจรัฐ จนกระทั่ง พ.ศ.2475 กลุ่มข้าราชการรุ่นใหม่ อันประกอบด้วยข้าราชการพลเรือน และข้าราชการทหาร ซึ่งได้กลายเป็นกลุ่มอำนาจทางการเมืองที่สำคัญได้ร่วมกันยึดอำนาจทำการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสร้างพัฒนาการทางการเมืองแบบใหม่ขึ้นในสังคมไทย |
Other Abstract: | This is, first of all, a study on how Thai modern system of education with lt new outlook,: model, and management of state school network developed during the years 1868 – 1932. It is, secondly, an attempt to study how such a system affected the structure of the Thai society and, how it helped bringing about the abolition of the form of the very governmentwhich it was originally supposed to serve. The basic premise of this study is that the main. function of any education system is to socialize its people to prepare them to live according to the established norms of the society. When Thailand faced With the threat of' colonialism from the West, went through its course of political and administrative reform; the traditional education system had to give way to the new one. Through the new education system and school network, the government of King Rame V consciously tried to instill among the people the sense of nationhood and the spirit of citizenship, with' the monarchy as the unifying point; The new system of higher education which aimed primarily at training civil bureaucrats to man the newly’ found civil service was. highly successful. But in so doing the expansion of vocational education with 1.its possible link to future economic development was unfortunately neglected. With the rapid growth of' the bureaucratic system, the civil bureaucrats developed into a distinctive social class, and had become increasingly restive. When socio-economic problems later hit Thailand, the conflict between the new bureaucrats and the royal power became inevitable. In 1932 the new class of civil bureaucrats turned into some sort of a new political force with the young leaders as its spearhead. The result was-the revolution which once and for all overthrew, the absolute monarchy and started Thailand on its new course of political development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประวัติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24173 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
warunee_os_front.pdf | 843.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
warunee_os_ch1.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
warunee_os_ch2.pdf | 2.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
warunee_os_ch3.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
warunee_os_ch4.pdf | 5.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
warunee_os_ch5.pdf | 820.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
warunee_os_ch6.pdf | 2.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
warunee_os_ch7.pdf | 2.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
warunee_os_ch8.pdf | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Warunee_Os_ch9.pdf | 833.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
warunee_os_back.pdf | 2.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.