Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24278
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอำไพ ตีรณสาร-
dc.contributor.authorสุภลักษณ์ ธนเกษพิศาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-16T04:28:01Z-
dc.date.available2012-11-16T04:28:01Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745813362-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24278-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพวาดระบายสีของเด็กกำพร้าอายุ 7 ถึง 9 ปี ในสถานสงเคราะห์ สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ประชากรที่ศึกษาเป็นเด็กกำพร้าอายุ 7 ถึง 9 ปี ในสถานสงเคราะห์ สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ซึ่งได้แก่ เด็กกำพร้าในสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด จำนวน 30 คน และในสถานสงเคราะห์เด็กหญิง บ้านราชวิถี จำนวน 33 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวิเคราะห์ภาพวาดระบายสี ซึ่งสร้างขึ้นตามหลักทฤษฎีขั้นพัฒนาการทางศิลปะเด็กของ วิคเตอร์ โลเวนเฟลต์ ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบประชากรด้วยตนเอง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญทางศิลปศึกษา จำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า เด็กกำพร้าอายุ 7 ถึง 9 ปีในสถานสงเคราะห์ สังกัดกรมประชาสงเคราะห์กระทรวงมหาดไทย สามารถแสดงออกทางศิลปะในด้านต่างๆคือ การวาดภาพคน การจัดพื้นที่และการออกแบบ ตกแต่งรายละเอียด เป็นไปตามพัฒนาการที่อยู่ในขั้นการวาดภาพอย่างมีรูปแบบเป็นของตนเอง (Schematic Stage) ของวิคเตอร์ โลเวนเฟลด์ ยกเว้นด้านการใช้สีเท่านั้นที่พบว่า เด็กกำพร้าส่วนมากไม่สามารถแสดงออกได้ตรงตามเกณฑ์ดังกล่าว ลักษณะภาพวาดระบายสีที่เด็กกำพร้าอายุ 7 ถึง 9 ปี แสดงออกในแต่ละด้าน สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ด้านการวาดภาพคน เด็กกำพร้าร้อยละ 100 แสดงออกในด้านนี้โดยการวาดภาพคนเฉพาะด้านหน้า (หน้าตรง) และร้อยละ 49.21 วาดเสื้อผ้าโดยใช้รูปทรงเรขาคณิตแทน 2. ด้านการจัดพื้นที่ เด็กกำพร้าร้อยละ 82.54 แสดงออกในด้านนี้โดยการวาดภาพเป็นแบบสองมิติ และร้อยละ 23.18 วาดภาพแบบมองทะลุเห็นภายใน (x-ray) 3. ด้านการใช้สี เด็กกำพร้าร้อยละ 38.10 แสดงออกในด้านนี้โดยการใช้สีได้ใกล้เคียงกับสีของวัตถุตามที่ตามองเห็น และมีแบบการใช้สีเป็นของตนเองอย่างชัดเจน 4. ด้านการออกแบบ ตกแต่งรายละเอียด เด็กกำพร้าร้อยละ 68.25 แสดงออกในด้านนี้โดยการใช้สัญลักษณ์ซ้ำๆ แสดงจังหวะในการออกแบบ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to analyze the drawing-paintings of seven to nine year old orphans in child welfare homes under the jurisdiction of Public Welfare Department, Ministry of Interior. The population included 63 children of seven to nine year old orphans in child welfare homes: 30 children from Ban Pakkred and 33 children from Ban Rajvithi. The research instrument was a drawing-paintings analysis checklist based on the Artistic Development Theory of Viktor Lowenfeld and was administered by the researcher. The obtained data was finally analyzed by a group of 5 art educators. The findings of this research indicated that the expressions of seven to nine year old orphans in child welfare homes under the jurisdiction of Public Welfare Department, Ministry of Interior, showed their performances of the Human Figure, the Space and the Design in the Schematic Stage of the Artistic Development Theory of Viktor Lowenfeld. However, in the aspect of the color was not in the Schematic Stage. The details of these expression were as follows: 1. Human Figure : 100% of the orphans‘ drawings showed the looking straight forwards and 49.21% of the children showed the geometric forms. 2. Space : 82.54% of the orphans‘ drawings showed two dimensions and 23.81% of them showed the x-ray. 3. Color : 38.10% of the orphans’ drawings showed both the same colors for the same objects and the expression of their own colors. 4. Design : 68.25% of the orphans‘ drawings showed the displaying repeated drawings design schema.-
dc.format.extent3046101 bytes-
dc.format.extent3605038 bytes-
dc.format.extent16749681 bytes-
dc.format.extent1550738 bytes-
dc.format.extent4982710 bytes-
dc.format.extent5548795 bytes-
dc.format.extent10161586 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการวิเคราะห์ภาพวาดระบายสีของเด็กกำพร้าอายุ 7 ถึง 9 ปี ในสถานสงเคราะห์ สังกัดกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยen
dc.title.alternativeAn analysis of drawing-paintings of seven to nine year old orphans in child welfare homes under the jurisdiction of Public Welfare Department, Ministry of Interioren
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaluck_ta_front.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open
Supaluck_ta_ch1.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open
Supaluck_ta_ch2.pdf16.36 MBAdobe PDFView/Open
Supaluck_ta_ch3.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Supaluck_ta_ch4.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open
Supaluck_ta_ch5.pdf5.42 MBAdobe PDFView/Open
Supaluck_ta_back.pdf9.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.